Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45523
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญชัย เตชะอำนาจen_US
dc.contributor.advisorอดิสร เตือนตรานนท์en_US
dc.contributor.authorธนภัทร โทนะพันธ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:02:51Z
dc.date.available2015-09-17T04:02:51Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45523
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการเกิดเบรกดาวน์ของเยื่อหุ้มเซลล์พืชภายใต้สนามไฟฟ้าแบบพัลส์ที่ถูกควบคุมโดยศึกษาลักษณะการเบรกดาวน์ของเซลล์พืชในระดับเซลล์เดี่ยว. ผู้วิจัยทดลองโดยนำระบบของไหลขนาดไมโครซึ่งภายในช่องทางเดินสารมีกำแพงฉนวนและช่องเปิดที่ช่วยควบคุมสนามไฟฟ้า. การทดลองทำโดยป้อนแรงดันรูปคลื่นไซน์ขนาด 10 VP, พัลส์ไฟฟ้าความถี่ต่ำ (fL) = 10, 20, 33, 50, 100 และ 200 kHz, เวลาคงอยู่ของพัลส์ความถี่ต่ำ (tL) = 1, 3, 5, 10 และ 100 ms โดยมีสภาพนำของสารละลายภายนอกเซลล์อยู่ในช่วง 45-150 mS/m. ผู้วิจัยใช้โพรโทพลาสต์ที่สกัดจากลำต้นไควาเระและกลีบดอกอัญชัน. ผลการทดลองพบว่า ที่เวลาคงอยู่ของพัลส์ความถี่ต่ำ = 10 ms การป้อนพัลส์ไฟฟ้าความถี่ต่ำเท่ากับความถี่วิกฤต (fC) ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มีอัตราการเกิดเบรกดาวน์ถึง 78% ในขณะที่การป้อนพัลส์ไฟฟ้าความถี่ต่ำที่ 5 เท่าของความถี่วิกฤตไม่เกิดเบรกดาวน์ของเยื่อหุ้มเซลล์. เมื่อป้อนพัลส์ด้วยความถี่น้อยกว่าความถี่วิกฤตทำให้อัตราการเกิดเบรกดาวน์ของทั้งเยื่อหุ้มเซลล์เพิ่มสูงถึง 91.7% และมีโอกาสเบรกดาวน์จนถึงเยื่อหุ้มแวคิวโอลสำหรับโพรโทพลาสต์ที่สกัดจากดอกอัญชัน. นอกจากนี้ยังพบว่า ที่เวลาคงอยู่ของพัลส์ความถี่ต่ำที่ 1 ms อัตราการเกิดเบรกดาวน์เหลือ 20% และ 0% สำหรับพัลส์ความถี่ต่ำที่ 100 และ 200 kHz ตามลำดับ.en_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis studies the membrane breakdown of plant cells under constricted pulsed electric field by studying membrane breakdown of plant single cell. The author did the experiments by using a microfluidic system with insulating walls and orifices which can constrict the electric field. The author applied 10 VP of sinusoidal wave, pulses of low frequency (fL) = 10, 20, 33, 50, 100 and 200 kHz for the duration (tL) of low frequency pulses = 1, 3, 5, 10 and 100 ms. The extracellular conductivity of solution is between 45-150 mS/m. The author used two kinds of protoplasts which are extracted from Kaiware and Butterfly pea. The experiment results showed that for low frequency pulse equal to the critical frequency and tL = 10 ms, breakdown probability was 78%. For low frequency pulse equal to 5 times of the critical frequency (tL = 10 ms), cell membrane breakdown did not occur. For pulse frequency lower than the critical frequency, probability of cell membrane breakdown was 91.7% and vacuole membrane breakdown might occur for protoplasts extracted from Butterfly pea. Moreover, when tL = 1 ms, the probabilties were 20% and 0% for fL = 100 and 200 kHz, respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.963-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโปรโตพลาสต์พืช
dc.subjectของไหลจุลภาค
dc.subjectพอลีไดเมทิลไซลอกเซน
dc.subjectสนามไฟฟ้า
dc.subjectPlant protoplasts
dc.subjectMicrofluidics
dc.subjectPolydimethylsiloxane
dc.subjectElectric fields
dc.titleการศึกษาการเบรกดาวน์ของเยื่อหุ้มเซลล์พืชภายใต้สนามไฟฟ้าแบบพัลส์ที่ถูกควบคุมen_US
dc.title.alternativeSTUDY ON THE MEMBRANE BREAKDOWN OF PLANT CELLS UNDER CONSTRICTED PULSED ELECTRIC FIELDen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้าen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorboonchai.t@chula.ac.then_US
dc.email.advisoradisorn.tuantranont@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.963-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570215021.pdf2.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.