Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45627
Title: ผลกระทบของการดำเนินนโยบายการเงินรูปแบบพิเศษของธนาคารกลางสหรัฐฯ ต่อราคาสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย
Other Titles: THE EFFECT OF U.S. UNCONVENTIONAL MONETARY POLICY IN ASIAN EMERGING FINANCIAL MARKETS
Authors: จันทกานต์ แซ่ล่อ
Advisors: พงศ์ศักดิ์ เหลืองอร่าม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Pongsak.L@Chula.ac.th
Subjects: นโยบายการเงิน -- สหรัฐอเมริกา
ธนาคารแห่งชาติ -- สหรัฐอเมริกา
Monetary policy -- United States
Banks and banking, Central -- United States
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานศึกษานี้มุ่งศึกษากลไกและประเมินผลกระทบของการดำเนินนโยบายการเงินรูปแบบพิเศษของธนาคารกลางสหรัฐฯ ในช่องทางการปรับพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนในตลาดทางการเงินต่อราคาสินทรัพย์ในตลาดทางการเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย โดยอ้างอิงวิธีการศึกษาของ Wright (2011) ซึ่งใช้แบบจำลอง Vector Autoregression ของ Bernanke and Kuttner (2004) ที่กำหนดให้ผลกระทบของการดำเนินนโยบายการเงินรูปแบบพิเศษของธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็นตัวแปรภายนอกและมีลักษณะเป็น Heteroskedasticity และใช้องค์ประกอบหลักจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ระยะยาวที่อ้างอิงในสัญญาซื้อขายล่วงหน้ารอบการประกาศเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็นตัวชี้วัดการดำเนินนโยบายการเงินรูปแบบพิเศษของธนาคารกลางสหรัฐฯ และเปรียบเทียบผลกระทบดังกล่าวกับผลกระทบของการดำเนินนโยบายการเงินรูปแบบปกติของธนาคารกลางสหรัฐฯ ผลการศึกษาสรุปได้ว่าการดำเนินนโยบายการเงินรูปแบบพิเศษของธนาคารกลางสหรัฐฯ จะมีผลให้ราคาสินทรัพย์ในตลาดทางการเงินของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชียโดยส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคาสินทรัพย์ในตลาดตราสารหนี้ของประเทศไทยและมาเลเซีย ขณะที่การเปรียบเทียบผลกระทบของการดำเนินนโยบายการเงินรูปแบบพิเศษกับรูปแบบปกติของธนาคารกลางสหรัฐฯ พบว่าการกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินนโยบายการเงินรูปแบบปกติของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่แตกต่างกันจะให้ผลการศึกษาแตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this study were to explore the transmission mechanism and the effects of Fed’s unconventional monetary policy through the portfolio rebalancing channel on Asian emerging financial markets. According to Wright (2011)’s methodology that using Bernanke and Kuttner (2004)’s VAR model, is identified Fed’s monetary policy shocks as exogenous variable and such shocks are heteroskedastic, with using principal component of yield changes in daily window based on FOMC meeting and speech measure Fed’s unconventional monetary policy. And then compare such effects with the effects of Fed’s conventional monetary policy through the same channel. The findings indicated that Fed’s unconventional shock would have increased asset prices of almost countries in Asian emerging financial markets especially Thailand’s and Malaysia’s bond markets. When compare such shock with Fed’s conventional shock found that determining a difference measure of Fed’s conventional policy shock would have a difference results.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45627
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1015
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1015
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5585152629.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.