Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45635
Title: นาฏยศิลป์สร้างสรรค์จากคลื่นพายุซัดฝั่ง
Other Titles: THE DANCE CREATION FROM STOME SURGE
Authors: กัญชพร ตันทอง
Advisors: นราพงษ์ จรัสศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Naraphong.C@Chula.ac.th,thaiartmovement@hotmail.com
Subjects: การรำ
คลื่นพายุหมุน
พายุในศิลปกรรม
นาฏศิลป์
ศิลปะการแสดงสด
Dance
Storm surges
Storms in art
Dramatic arts
Performance art
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการบูรณาการความคล้ายคลึงกันของคลื่นพายุซัดฝั่งและการคลอดบุตร ซึ่งเป็นข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยถ่ายทอดผ่านเทคนิคการเต้นนาฏยศิลป์ร่วมสมัยและลีลารูปแบบที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นทักษะด้านศิลปศาสตร์ แหล่งข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ ข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สื่อสารสนเทศ ข้อมูลภาคสนาม การสัมมนา และประสบการณ์ของผู้วิจัย ข้อมูลดังกล่าวถูกนำมาวิเคราะห์และตอบสนองวัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ การหารูปแบบและแนวคิดของการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากคลื่นพายุซัดฝั่ง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้การแสดงประสบความสำเร็จ คือ รูปแบบการสร้างสรรค์งานที่ประกอบไปด้วย 8 องค์ประกอบ และแนวคิดของการสร้างสรรค์งานที่ประกอบด้วย 7 ประเด็น องค์ประกอบของรูปแบบของการแสดงที่ใช้ คือ 1) บทการแสดง ออกแบบบทการแสดงโดยเทียบเคียงความสวยงามและความรุนแรงของธรรมชาติกับการคลอดบุตร 2) ลีลา ใช้เทคนิคการเต้นนาฏยศิลป์ ลีลารูปแบบที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน และเทคนิคการแสดง 3) นักแสดง คัดเลือกนักแสดงที่มีทักษะทางด้านนาฏยศิลป์ร่วมสมัยและการแสดง 4) เสียงและดนตรี ใช้ในการสร้างบรรยากาศของธรรมชาติ เช่น คลื่นน้ำ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า 5) อุปกรณ์ ใช้เป็นสัญลักษณ์ในการถ่ายทอดเรื่องราวแทนคลื่นน้ำ ผู้ชาย และขาหยั่ง 6) เครื่องแต่งกาย ใช้แสดงลักษณะของตัวละครโดยคำนึงถึงความคล่องแคล่วของนักแสดง 7) แสง ใช้ทฤษฎีของสีในการสร้างสรรค์จินตนาการของผู้ชม และ 8) พื้นที่แสดง เลือกจัดการแสดงในพื้นที่ที่มีความปลอดโปร่ง นอกจากนี้แนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ คือ 1) การสะท้อนเรื่องราวของคลื่นพายุซัดฝั่งเทียบเคียงกับการคลอดบุตร 2) การคำนึงถึงผลกระทบของภัยธรรมชาติจากคลื่นพายุซัดฝั่ง 3) การคำนึงถึงการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบการแสดงนาฏยศิลป์ 4) การใช้รูปแบบการแสดงนาฏยศิลป์ที่มีความหลากหลาย 5) การใช้ทฤษฎีทางด้านนาฏยศิลป์และทัศนศิลป์ 6) การสะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคมในปัจจุบัน และ 7) การใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารเพื่อเพิ่มอรรถรสในการแสดงนาฏยศิลป์ จากผลการวิจัยทั้งหมดนี้มีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยทุกประการ
Other Abstract: This research was created by the integration of the similar characteristic of storm surge and childbirth which were in science field and presented them via the contemporary dance and everyday movement technique which were in art field. The data sources that used in this research were the documents, expert interviews, information media, fieldwork, seminar, and the researcher’s experience. All data was used to analyze and answer the objectives which are find patterns and concepts of dance creation from storm surge. The result showed that the important factors which supported the performance to success were the 8 components pattern and the 7 points concepts of dance creation. The components of pattern are; 1) Act, was created to compare the beauty and the violence of the natural and childbirth. 2) Grace, using contemporary dance, everyday movement and acting techniques. 3) Actor, audition the actors who had the skill of dance and acting. 4) Sound and Music, used to create the atmosphere of wave and thunderbolt. 5) Equipment, used as the symbols of wave, a man or trestle. 6) Costume, were chose to present the characteristic of the characters and realized to the agility. 7) Light, using the theory of color to create the imagination of audience. And 8) Area, choosing the area where was favorable. In addition, the points of concept are; 1) To reflect the characteristic of storm surge which compared with the childbirth. 2) To realize the effects of the natural disaster of storm surge. 3) To realize the creation of dance. 4) Using the various patterns of dance. 5) Using the theory of dance and visual arts. 6) To reflect the society at present. And 7) Using the symbols for communication to enhance the dance. The above results were corresponding the objective of research.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45635
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1023
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1023
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586801435.pdf12.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.