Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45777
Title: การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตสำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการเมแทบอลิกชาวไทย
Other Titles: COST-EFFECTIVENESS ANALYSIS OF LIFESTYLE MODIFICATION PROGRAM FOR THAI PATIENTS WITH METABOLIC SYNDROME
Authors: อาณัติ สกุลทรัพย์ศิริ
Advisors: พรรณทิพา ศักดิ์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Phantipa.S@Chula.ac.th,phantipa.s@pharm.chula.ac.th
Subjects: ต้นทุนและประสิทธิผล
เมทาบอลิกซินโดรม -- ผู้ป่วย -- ไทย
Cost effectiveness
Metabolic syndrome -- Patients -- Thailand
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ : หลายงานวิจัยพิสูจน์แล้วว่าโปรแกรมปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตสำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการเมแทบอลิกมีประโยชน์ทางคลินิกและมีความคุ้มค่าทางสาธารณสุข แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงความคุ้มค่าของโปรแกรมดังกล่าวในประเทศไทยมาก่อน ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงต้องการศึกษาความคุ้มค่าของโปรแกรมปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตสำหรับผู้ป่วยกลุ่มอาการเมแทบอลิกชาวไทยเปรียบเทียบกับการรักษาตามปกติ ศึกษาความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะเวลา 10 ปีของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ศึกษาผลกระทบด้านงบประมาณที่เกิดขึ้นหากมีการนำโปรแกรมนี้ไปปรับใช้ในสังคม และศึกษาเพดานอัตราออกกลางคันที่โปรแกรมนี้จะยังคงมีความคุ้มค่าอยู่ วิธีการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล โดยใช้เทคนิค Markov micro-simulation ร่วมกับ Differences-in-Differences method ในการคาดการณ์ต้นทุนในมุมมองของสังคม ปีชีวิต และปีสุขภาวะที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตจากองค์ประกอบทางเมแทบอลิกของผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งสิ้น 90 รายจากการศึกษาของ อรวรรณ ประภาศิลป์และคณะ ในกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมและกลุ่มที่ได้รับการรักษาตามปกติ การวิจัยครั้งนี้ กำหนดอัตราลดร้อยละ 3 ต่อปีในการปรับลดต้นทุนและผลลัพธ์ ใช้ bootstrap analysis ในการวิเคราะห์ช่วงความมั่นใจ (95% confidence interval) วิเคราะห์ความไวเพื่อให้เห็นถึงผลที่เกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนของข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ในแบบจำลอง วิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณ โดยใช้ต้นทุนที่ไม่ได้ปรับลดในมุมมองของผู้ให้บริการ และคำนวณความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะเวลา 10 ปี โดยใช้สมการทำนายความเสี่ยง ผลการศึกษา : ต้นทุนตลอดชีพของทั้งสองกลุ่มที่คำนวณจากองค์ประกอบทางเมแทบอลิกในสัปดาห์ที่ 12 มีแนวโน้มลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนในสัปดาห์แรก ซึ่งกลุ่มทดลองมีต้นทุนลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม ดังนั้น โปรแกรมนี้สามารถประหยัดต้นทุนตลอดชีพได้ 2,310 บาท เพิ่มปีชีวิตได้ 0.0018 ปี และเพิ่มปีสุขภาวะได้ 0.0098 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาตามปกติ นอกจากนี้ โปรแกรมสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะเวลา 10 ปีได้ร้อยละ 0.63 และ 0.38 ตามลำดับ ในขณะที่การรักษาตามปกติสามารถลดความเสี่ยงได้ร้อยละ 1.60 และ 0.01 ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ผลกระทบด้านงบประมาณพบว่า ภาครัฐจะต้องใช้งบประมาณในการจัดตั้งโปรแกรมในปีแรกทั้งสิ้น 7,508 ล้านบาท และใช้งบประมาณ 4,766 ล้านบาทต่อปีในการรักษาโปรแกรมให้ดำเนินต่อไป และโปรแกรมนี้ยังคงมีความคุ้มค่าหากอัตราออกกลางคันต่ำกว่าร้อยละ 69 ต่อปี สรุป : โปรแกรมปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตในการศึกษานี้มีความคุ้มค่าทางสาธารณสุขในบริบทของประเทศไทย สามารถประหยัดต้นทุนตลอดชีพ เพิ่มจำนวนปีชีวิตและปีสุขภาวะของผู้ป่วยได้ และสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากกลุ่มอาการเมแทบอลิกในอนาคตได้อีกด้วย
Other Abstract: Objectives: Several trials indicated the clinical benefits and cost-effectiveness of the lifestyle modification programs for patients with metabolic syndrome (MetS) but the economic benefit was not yet evaluated in Thailand. This study aimed to assess the cost-effectiveness of the lifestyle modification program for Thai MetS patients compared with the usual care, 10-year diabetic and cardiovascular disease (CVD) risks, budget impact of the program implementation to Thai healthcare settings, and dropout rate threshold that the program would still be cost-effective. Methods: A cost-effectiveness analysis was performed based on Praphasil and colleagues' study of 90 MetS patients randomly allocated to the lifestyle modification program and control groups. A Markov micro-simulation model with the Differences-in-Differences method was used to predict the lifetime costs, life years and quality-adjusted life years (QALYs) from patients’ metabolic parameters, of which 95% confidence intervals were estimated by bootstrapping. The discount rate of 3% per annum was employed to discount the costs and outcomes, whereas the budget impact with the costs from provider perspective was undiscounted. Parameter uncertainties were identified using a sensitivity analysis. The 10-year diabetic and CVD risks was calculated by using the risk equations. Results: The lifetime costs calculated from metabolic parameters in week 12 tended to decrease in both groups. The decrease in costs of intervention group was more than that of control group. Hence, the program could save the lifetime costs 2,310 baht, increase 0.0018 life years and gain 0.0098 QALYs, compared with the usual care. The program could reduce the 10-year diabetic and CVD risks for 0.63% and 0.38%, respectively, while the usual care could decrease the risks for 1.60% and 0.01%, respectively. The budget impact analysis indicated that the government had to spend 7,508 million baht in the first year and 4,766 million baht per year in the subsequent years to set up and maintain the program. The program was deemed cost-effective at the dropout rates below 69% per year. Conclusion: The lifestyle modification program implemented in Thai settings was overall cost-effective. This program could save the lifetime costs, increase life years and QALYs, and decrease the risk of future MetS complications.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45777
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.7
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.7
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5676227733.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.