Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45796
Title: PHARMACOGNOSTIC SPECIFICATION AND VASICINE CONTENT OF ADHATODA VASICA LEAVES
Other Titles: ข้อกำหนดทางเภสัชเวทและปริมาณวิเคราะห์วาไซซีนของใบเสนียด
Authors: Paphitchaya Thetsana
Advisors: Chanida Palanuvej
Nijsiri Ruangrungsi
Other author: Chulalongkorn University. College of Public Health Sciences
Advisor's Email: chanida.p@chula.ac.th
nijsiri.r@chula.ac.th
Subjects: Pharmacognosy
Botanical chemistry
Justicia -- Analysis
Medicinal plants -- Quality control
เภสัชเวท
พฤกษเคมี
เสนียด -- การวิเคราะห์
พืชสมุนไพร -- การควบคุมคุณภาพ
Issue Date: 2014
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Adhatoda vasica Nees or Malabar nut tree is a shrub which in Acanthaceae family. A. vasica is a famous herb that used for a long time mostly in Thai’s remedies. A. vasica leaves are used to treat fever and cough. For the good quality of herbal drugs, standardization is needed to be done. Leaf sample was collected from 12 different sources throughout Thailand. Whole plant of A. vasica was drawn by hand writing. In the microscopic method, A. vasica leaves powder and the cross section of mid rib was found calcium carbonate. Palisade ratio was 6.57 ± 0.56 whilst stomata number, stomata index, trichome number, trichome index and calcium carbonate number were 288.27 ± 3.70, 17.84 ± 0.83, 28.53 ± 7.63, 2.45 ± 0.53 and 36.50 ± 9.20, respectively. Physico-chemical method was shown that water content, loss on drying, total ash and acid insoluble ash were not more than 11, 9, 21 and 6 % by weight while ethanolic extract and water extract were not less than 4 and 22 % by weight. Thin layer chromatographic fingerprint of A. vasica leaf was performed using chloroform and methanol (9 : 1) as mobile phase and the developed TLC was photographed at 254 nm, 365 nm and strain with Dragendorff’s reagent. TLC quantitative analyses of samples using toluene : ethylacetate : diethylamine (5 : 2 : 3) as a mobile phase and analyzed by TLC-densitometry (CAMAG TLC scanner and winCATS) and TLC image analysis (ImageJ software). The calibration range were polynomial (1 – 5 µg/spot) and had R2 0.9998 and 0.9988, precision of method was in the range of 1.30 – 3.96 and 6.29 – 10.45, accuracy was 83.60 ± 1.09 and 85.32 ± 5.42, LOD and LOQ were 0.188, 0.067 and 0.570, 0.202 µg/spot and robustness of the method was 4.48 and 11.12 %, respectively. The total of vasicine in A. vasica leaves using TLC-densitometry and TLC image analysis was 0.130 ± 0.065 and 0.134 ± 0.061 g/100g of dried crude drug. The comparison of the total vasicine in both methods was not significant different (t = 1.796, P = 0.249). This study could be used for the standardization parameter of A. vasica leaves in Thailand and the development of this herbal drug species.
Other Abstract: เสนียดเป็นสมุนไพรที่นิยมใช้กันอย่างเเพร่หลาย ในตำรับยาไทยนิยมใช้ใบเสนียดในการรักษาไข้และอาการไอ ในการนำสมุนไพรมาใช้ ผู้ใช้จะต้องคำนึงถึงคุณภาพที่ได้มาตรฐานของตัวยา ดังนั้นงานวิจัยนี้ จึงได้ศึกษาข้อกำหนดทางเภสัชเวท และการวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญในใบเสนียด โดยการศึกษาใบเสนียดจาก 12 แหล่งทั่วประเทศ ในการตรวจลักษณะทางจุลทรรศน์ของใบเสนียดทั้งในรูปแบบของผงยาและภาคตัดขวางของเส้นกลางใบ พบว่า ในการตรวจวัดท้องใบพบจำนวนของปากใบ ดัชนีปากใบ จำนวนของขน ดัชนีขุมขน จำนวนของผลึกแคลเซียมคาร์บอเนต มีค่าเท่ากับ 288.27 ± 3.70, 17.84 ± 0.83, 28.53 ± 7.63, 2.45 ± 0.53 และ 36.50 ± 9.20 ตามลำดับ และในการตรวจวัดหลังใบพบค่าอัตราส่วนเซลล์รั้ว มีค่าเท่ากับ 6.57 ± 0.56 ในการศึกษาเอกลักษณ์ทางเคมี-ฟิสิกส์ของใบเสนียด พบว่า มีปริมาณน้ำ น้ำหนักที่หายไปเมื่อทำให้แห้ง ปริมาณเถ้ารวม และเถ้าที่ไม่ละลายในกรด ไม่เกินร้อยละ 11, 9, 21 และ 6 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ปริมาณสิ่งสกัดด้วยเอทานอล และปริมาณสิ่งสกัดด้วยน้ำ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 4 และ 22 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ การศึกษาด้วยเทคนิคทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี โดยใช้ตัวทำละลายคลอโรฟอร์ม และ เมทานอล (9 : 1) เป็นวัฏภาคเคลื่อนที่ ตรวจวัดภายใต้แสงอัลตราไวโอเลต (254 และ 365 นาโนเมตร) และใช้น้ำยาพ่นชนิดเฉพาะเจาะจง คือน้ำยาพ่นดราเจนดอฟ (Dragendorff’s reagent) การวิเคราะห์เชิงปริมาณด้วยเทคนิคทางทินเลเยอร์โครมาโทกราฟีโดยใช้ตัวทำละลายโทลูอีน เอทิลอะซีเทต และ ไดเอทิลเอมีน (5 : 2 : 3) เป็นวัฏภาคเคลื่อนที่ วิเคราะห์ปริมาณวาไซซีนโดยวิธีทางทินเลเยอโครมาโทกราฟี-เด็นซิโทเมทรีโดยใช้เครื่อง CAMAG TLC scanner ร่วมกับโปรแกรม winCATS และวิธีการวิเคราะห์รูปภาพทางทินเลเยอร์โครมาโทกราฟีโดยใช้โปรแกรม ImageJ มีช่วงวิเคราะห์แบบโพลีโนเมียล (1 - 5 ไมโครกรัมต่อจุด) และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.9998 และ 0.9988 ตามลำดับ ระดับความเที่ยงของวิธีวิเคราะห์ ประเมินจากค่าสัมประสิทธิ์ของการกระจาย มีค่าระหว่างร้อยละ 1.30 – 3.96 และ 6.29 – 10.45 ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยการคืนกลับระหว่างร้อยละ 83.60 ± 1.09 และ 85.32 ± 5.42 ตามลำดับ ขีดจำกัดของการตรวจพบและขีดจำกัดของการหาปริมาณมีค่า 0.188, 0.067 และ 0.570, 0.202 ไมโครกรัม ตามลำดับ ค่าความคงทนของวิธี มีค่าสัมประสิทธิ์ของการกระจายร้อยละ 4.48 และ 11.12 ตามลำดับ วิเคราะห์ปริมาณวาไซซีนในใบเสนียด มีค่าเฉลี่ยที่ 0.130 ± 0.065 และ 0.134 ± 0.061 กรัมต่อ100กรัมของพืชแห้ง ตามลำดับ การเปรียบเทียบปริมาณวาไซซีนระหว่าง 2 วิธี ถูกทดสอบโดยใช้สถิติ pair t-test พบว่า ปริมาณวาไซซีนที่วิเคราะห์โดยวิธีทั้งสองวิธีไม่แตกต่างกัน (t = 1.796 , P = 0.249) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถจัดทำเป็นข้อกำหนดมาตรฐานของสมุนไพรใบเสนียดในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมวัตถุดิบ และการวิจัย เพื่อพัฒนาตัวยานี้ต่อไป
Description: Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2014
Degree Name: Master of Science
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Public Health Sciences
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45796
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.249
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.249
Type: Thesis
Appears in Collections:Pub Health - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5678952353.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.