Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45803
Title: ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลของเวลาการเรียนรู้เชิงวิชาการในชั้นเรียนวิจัยการศึกษาของนักศึกษาครู
Other Titles: CAUSE AND EFFECT MODEL OF ACADEMIC LEARNING TIME IN EDUCATIONAL RESEARCH CLASS OF STUDENT TEACHERS
Authors: จันทวรรณ พลวัฒน์
Advisors: สุวิมล ว่องวาณิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: suwimon.w@chula.ac.th
Subjects: การศึกษา -- วิจัย
จิตวิทยาการศึกษา
การเรียนรู้ (จิตวิทยา)
นักศึกษา
เวลา
Education -- Research
Educational psychology
Learning, Psychology of
Students
Time
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบและคุณภาพของเครื่องมือวัดตัวแปรเวลาการเรียนรู้เชิงวิชาการ 2) วิเคราะห์ระดับของเวลาการเรียนรู้เชิงวิชาการในชั้นเรียนวิจัยการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู 3) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุและผลของเวลาการเรียนรู้เชิงวิชาการในชั้นเรียนการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 4) ศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่มีต่อเวลาการเรียนรู้เชิงวิชาการและผลการเรียนรู้วิชาวิจัยการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู ตัวอย่างวิจัยคือ นิสิตนักศึกษาครู จำนวน 535 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อวัด 4 ตัวแปร ได้แก่ เวลาการเรียนรู้เชิงวิชาการ (ALT) คุณลักษณะผู้เรียน คุณลักษณะผู้สอน และผลการเรียนรู้วิชาวิจัยการศึกษา โดยมีค่าความเที่ยงตั้งแต่ 0.748 - 0.850 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) องค์ประกอบของการวัดตัวแปรเวลาการเรียนรู้เชิงวิชาการ (ALT) มี 1 องค์ประกอบ เรียกว่า “คุณภาพการเรียนการสอน” ประกอบด้วยข้อคำถาม 5 ข้อ ผลการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดพบว่าแบบวัดมีความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในเท่ากับ 0.748 และมีความตรงเชิงโครงสร้างจากผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (2) นิสิตนักศึกษาครูในชั้นเรียนวิจัยการศึกษามีค่า ALT เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M=3.540, SD=0.610) (3) ผลการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุและผลของ ALT พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าสถิติ ไค–สแควร์ = 4.550, df = 4, p = 0.337, GFI = 0.997, AGFI = 0.985, RMSEA = 0.016, RMR=0.009 และเป็นโมเดลการส่งผ่านแบบบางส่วน (4) คุณลักษณะผู้เรียนและคุณลักษณะผู้สอนมีอิทธิพลทางตรงต่อ ALT เท่ากับ 0.594 และ 0.096 ตามลำดับ และคุณลักษณะผู้สอนมีอิทธิพลทางอ้อมต่อ ALT ผ่านคุณลักษณะผู้เรียน (0.237) ALT มีอิทธิพลทางตรงต่อผลการเรียนรู้วิชาวิจัยการศึกษา (0.297) คุณลักษณะผู้สอน และคุณลักษณะผู้เรียนมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการเรียนรู้วิชาวิจัยการศึกษาผ่าน ALT เท่ากับ 0.029 และ 0.176 ตามลำดับ ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายผลการเรียนรู้วิชาวิจัยการศึกษาได้ร้อยละ 20.80
Other Abstract: The purposes of this research were: 1) to analyze the components and examine the quality of academic learning time instrument, 2) to analyze the level of academic learning time in an educational research class of student teachers, 3) to develop and examine the fit of the cause and effect model of academic learning time in an educational research class of student teachers with empirical data, and 4) to analyze the direct and indirect effects of factors affecting academic learning time and research learning outcomes of student teachers. The research sample consisted of 535 students selected by simple random sampling technique. Data were collected through a 5-point scale questionnaire to measure four variables including instructor’s characteristics, learner’s characteristics, academic learning time, and research learning outcomes. The reliability of the instruments ranged between 0.748 - 0.850. Data were analyzed using descriptive statistics and LISREL analysis. The research findings were as follows: (1) Academic learning time instrument with 5 items consisted of one component, namely "teaching and learning quality.” The developed instrument had content validity, internal consistency reliability (0.748), and construct validity as shown by confirmatory factor analysis. (2) The student teachers in the educational research class showed academic learning time at a high level (M=3.540, SD=0.610). (3) The causal and effect model of academic learning time in the educational research class of student teachers fit to the empirical data with Chi-square = 4.550, df = 4, p = 0.337, GFI = 0.997, AGFI = 0.985, RMSEA = 0.016, RMR = 0.009. The developed model was a partial mediated model. (4) Learner’s characteristics and instructor’s characteristics had direct effects on ALT with 0.594 and 0.096 respectively. Instructor’s characteristics had an indirect effect on ALT via learner’s characteristics (0.237). ALT had a direct effect on research learning outcomes (0.297). Learner’s characteristics and instructor’s characteristics had indirect effects on research learning outcome via ALT with 0.029 and 0.176 respectively. All variables in the model accounted for 20.80% of research learning outcome variance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45803
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.608
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.608
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683311827.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.