Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45853
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไตรวัฒน์ วิรยศิริen_US
dc.contributor.authorเคนน์ ศรัณฑ์ศิริen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:05:42Z
dc.date.available2015-09-17T04:05:42Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45853
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractห้องตรวจและวินิจฉัยในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล เป็นพื้นที่ส่วนสำคัญที่จะให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยโรคทั่วไปที่ไม่มีความเร่งด่วนในการรักษา ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่มีจำนวนมากที่สุดในโรงพยาบาล จึงมีความสนใจที่จะศึกษากรณีศึกษาห้องตรวจและวินิจฉัยของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่เป็นโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ซึ่งมีการบริการทางการแพทย์ระดับตติยภูมิขั้นสูง (super tertiary care) ซึ่งมีขีดความสามารถในการให้บริการและมีความพร้อมในการรักษาสูงสุด สามารถรักษาโรคที่มีความยากและซับซ้อนได้ทุกประเภท จึงเกิดความสนใจที่จะศึกษาสภาพผังพื้นและแนวทางการออกแบบผังพื้นของห้องตรวจและวินิจฉัย ในแผนกผู้ป่วยนอกที่ต่างกัน โดยมีสมมติฐานเบื้องต้นว่าแผนกผู้ป่วยนอกที่ต่างกันจะที่มีปัจจัยและข้อจำกัดที่ที่จะส่งผลต่อสภาพกายภายและผังพื้นที่แตกต่างต่างกัน โดยทำการศึกษาข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจทางกายภาพ การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานในพื้นที่ การค้นคว้าจากรายงาน เอกสาร หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาวิเคราะห์ และสรุปผลเป็นข้อมูลสำหรับการวางแนวทางการออกแบบผังพื้นภายในห้องตรวจและวินิจฉัยในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยจากการศึกษาพบว่าห้องตรวจและวินิจฉัยภายในกรณีศึกษาสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ ห้องตรวจทั่วไปและห้องตรวจที่มีการเรียนการสอนของนิสิตแพทย์ ห้องตรวจมีความแตกต่างจากแนวทางการออกแบบของต่างประเทศเนื่องจากการอาคารมีการสร้างมานานแล้วและยังไม่มีกฎหมายหรือแนวทางในการออกแบบในประเทศไทย ปัญหาในการใช้งานภายในห้อตรวจเกิดจากข้อจำกัดด้านพื้นที่ที่มีอยู่จำกัดไม่เพียงพอต่อการรองรับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบห้องตรวจคือ ผู้ใช้งาน (people) (ผู้ให้บริการและผู้รับบริการทางการแพทย์) ด้านกายภาพ (physical) (โต๊ะตรวจ เตียงตรวจ ม่าน ประตู อ่างล้างมือ ฯลฯ) และ การใช้งาน (process) (ขั้นตอนการดำเนินการตรวจและวินิจฉัย) ซึ่งการออกแบบที่ผ่านการพิจารณาทุกปัจจัยอย่างถี่ถ้วนแล้ว จะทำให้ห้องตรวจและวินิจฉัยสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในขนาดพื้นที่ที่เหมาะสมen_US
dc.description.abstractalternativeExamination room in out-patient department of the hospital is the vital space that offer medical services to non-urgent patients that have the most variety of patients within the hospital. The interest in researching a case study of King Chulalongkorn Memorial Hospital is because the hospital provides super tertiary medical aid services that have ability to cure all types of difficult and complicated diseases. The hypothesis of this research is that the different out-patient department causes the various factors and constraints that have an affect on the physical and designing layout of the examination room. The main instruments that use in this research is using questionnaire to those who involved, data collecting forms, exploring physical area, documents, books and connected analysis. The research found that there are two types of examination rooms inside the case study: the conventional examination room and the examination rooms with the teaching of medical students. There are some different between the case study and the design guidelines (from other countries) nowadays because the building had built before and there are not any law and guideline to follow in Thailand. The problem that occurred in some of the examination rooms is caused by the increased number of patients. The issue that affect the design of the examination room are people (the providers and recipients of medical services), physical (exam table, chair, door, sink, etc.), and process (exam and diagnostic procedures). The design of the examination room that consider all the factors will make the effectively diagnosis in the appropriate area.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.631-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรงพยาบาล -- แผนกผู้ป่วยนอก -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
dc.subjectห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
dc.subjectห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ -- การออกแบบและผังพื้น
dc.subjectHospitals -- Outpatient service -- Thailand -- Bangkok -- King Chulalongkorn Memorial Hospital
dc.subjectMedical laboratories -- Thailand -- Bangkok -- King Chulalongkorn Memorial Hospital
dc.subjectMedical laboratories -- Designs and plans
dc.titleแนวทางการออกแบบผังพื้นภายในห้องตรวจและวินิจฉัย แผนกผู้ป่วยนอก : กรณีศึกษา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์en_US
dc.title.alternativePLANNING DESIGN GUIDELINES FOR EXAMINATION ROOM IN OUT-PATIENT DEPARTMENT: A CASE STUDY OF KING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITALen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTraiwat.V@Chula.ac.th,triwatv9@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.631-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773306125.pdf10.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.