Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46033
Title: อิทธิพลของออกซิเจนและความเค็มต่อเบนทิกฟลักซ์ของฟอสฟอรัสและซิลิกอนผ่านรอยต่อระหว่างดินตะกอนและน้ำบริเวณชายฝั่งอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี
Other Titles: EFFECT OF OXYGEN AND SALINITY ON BENTHIC FLUXES OF PHOSPHORUS AND SILICON ACROSS SEDIMENT-WATER INTERFACE AT ANG-SILA COASTAL AREA, CHONBURI PROVINCE
Authors: นิรมล ตาอินทร์
Advisors: เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Penjai.S@Chula.ac.th,spenjai@hotmail.com
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาอิทธิพลของออกซิเจนละลายน้ำและความเค็ม ที่มีผลต่อฟลักซ์ของฟอสเฟตและซิลิกาละลาย บริเวณรอยต่อระหว่างดินตะกอนและน้ำเหนือดินตะกอน บริเวณชายฝั่งอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี โดยศึกษาในห้องปฏิบัติการในการทดลองในสภาวะมีออกซิเจนและไม่มีออกซิเจน ที่ค่าความเค็ม 10, 15, 20, 25 และ 30 พบว่าฟลักซ์ของฟอสเฟตมีทิศทางจากดินตะกอนออกสู่มวลน้ำในสภาวะไร้ออกซิเจน ขณะที่ฟลักซ์จะมีทิศทางลงสู่ดินตะกอนในสภาวะที่น้ำมีออกซิเจน ส่วนค่าฟลักซ์ของซิลิกาละลายนั้นมีค่าไม่แตกต่างกันในทั้งสองสภาวะ แต่ที่ความเค็มสูงการละลายของซิลิกาจะลดลง ส่งผลให้ค่าฟลักซ์ของซิลิกาละลายจากดินตะกอนสู่น้ำลดลง จากการทดลองหาฟลักซ์ของสารอาหารในเบนทิกแชมเบอร์ชนิดโปร่งใสและทึบแสงในห้องปฏิบัติการ โดยใช้ดินตะกอนและน้ำทะเลความเค็ม 30 จากชายฝั่งอ่างศิลา พบว่าออกซิเจนละลายน้ำในแชมเบอร์ชนิดทึบแสงลดลงตามเวลา จนกระทั่งออกซิเจนละลายน้ำหมดลง เมื่อเวลาผ่านไป 40 ชั่วโมง ส่วนออกซิเจนละลายน้ำในแชมเบอร์ชนิดโปร่งใสเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามรอบวัน ค่าออกซิเจนละลายน้ำในแชมเบอร์ทั้งสองมีค่าต่ำทั้งคู่ เนื่องจากน้ำทะเลและดินตะกอนชายฝั่งอ่างศิลามีสารอินทรีย์สูง ออกซิเจนที่ได้จากการสังเคราะห์แสงของแพลงก์ตอนพืชในแชมเบอร์โปร่งใส จึงถูกแบคทีเรียใช้ไปในการย่อยสลายสารอินทรีย์ จนมีค่าต่ำในทั้งสองแชมเบอร์ อย่างไรก็ดี ผลการทดลองพบว่าปริมาณออกซิเจนละลายน้ำและความเค็มของน้ำในแชมเบอร์ มีผลต่อฟลักซ์ของสารอาหารบริเวณรอยต่อระหว่างดินตะกอนและน้ำ โดยฟลักซ์ของฟอสเฟตในแชมเบอร์โปร่งใสและทึบแสง มีค่าอยู่ในช่วง (-94.00) – 474.00 และ (-11.59) – 222.00 ไมโครโมล/ตารางเมตร/ชั่วโมง ตามลำดับ ส่วนฟลักซ์ของซิลิกาละลาย มีค่าอยู่ในช่วง (-160.97) – 528.0 และ (-169.24) – 258.0 ไมโครโมล/ตารางเมตร/ชั่วโมง ตามลำดับ ทั้งนี้ฟลักซ์ของฟอสเฟตมีแนวโน้มออกจากดินตะกอนสู่มวลน้ำ และฟลักซ์ในแชมเบอร์ทึบแสงมีค่าสูงกว่าในแชมเบอร์โปร่งใส ขณะที่ฟลักซ์ของซิลิกาละลายในแชมเบอร์ทั้งสองชนิด มีความแตกต่างกันน้อย แต่ในช่วง 30 ชั่วโมงแรก ฟลักซ์ของซิลิกาละลายมีทิศทางจากตะกอนดินตะกอนสู่มวลน้ำ แต่เมื่อเวลาผ่านไปในช่วงชั่วโมงที่ 30 ถึง 60 ทิศทางของฟลักซ์จะมีทิศทางจากมวลน้ำลงสู่ดินตะกอน หลังจากนั้น แทบจะไม่มีฟลักซ์ของซิลิกาละลาย ณ บริเวณรอยต่อระหว่างดินตะกอนและน้ำเหนือดินตะกอนเลย
Other Abstract: Effect of oxygen and salinity on fluxes of phosphate and dissolved silica at the sediment-water interface of Ang-sila coastal area, Chonburi province, was investigated in the laboratory. The study of nutrient fluxes was performed at salinity 10, 15, 20, 25 and 30 under oxic and anoxic conditions. The results reveals that under the anoxic condition, the phosphate fluxes had a direction from sediment to water, while the direction of phosphate fluxes was opposite during water was oxygenated. The fluxes of dissolved silica was similar in both conditions, however, dissolution of silica decreases as salinity increases resulting in reducing of dissolved silica fluxes from sediment to water. The study of nutrients fluxes using dark and light chambers was applied to Ang-sila sediment and seawater (salinity 30) in the laboratory. It was found that dissolved oxygen level in the dark chamber decreased through time until no dissolved oxygen left at hour-40, while the dissolved oxygen in the light chamber had a diurnal variation. The oxygen level in both chambers was exceptionally low according to high organic contents in Ang-sila seawater and sediment. Oxygen was rapidly consumed by bacterial degradation processes causing the low oxygen level in both chambers. However, effect of dissolved oxygen and salinity on nutrient fluxes at the sediment-water interface was still observed. The phosphate fluxes in light and dark chamber were in the range of (-94.00) – 474.00 and (-11.59) – 222.00 µmole m-2 hr-1, respectively, and the dissolved silica fluxes were in the range of (-160.97) – 528.00 and (-169.24) – 258.00 µmole m-2 hr-1, respectively. The phosphate fluxes trended to have a direction from sediment to water, and the fluxes were higher in the dark chamber than in the light chamber. The dissolved silica fluxes in both chambers were similar. In the first 30 hours, the fluxes trended to have a direction from sediment to water. As the time going, during hour-30 to hour-60, the fluxes trended to be from water to sediment. Afterward, there was almost no dissolved silica fluxes can be observed at the sediment-water interface.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46033
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487156420.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.