Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46034
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุภางค์ จันทวานิช | en_US |
dc.contributor.author | ผจงรักษ์ ศรีไชยวงค์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-18T04:21:38Z | - |
dc.date.available | 2015-09-18T04:21:38Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46034 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจ้างงาน สภาพการทำงานของแรงงานข้ามชาติหญิงชาวพม่าที่ทำงานเป็นลูกจ้างทำงานบ้านในกรุงเทพมหานคร และการคุ้มครองแรงงาน วิธีการศึกษาเป็นการเก็บข้อมูลเชิงสำรวจโดยสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (structured interview) จากแรงงานข้ามชาติหญิงชาวพม่าที่ทำงานเป็นลูกจ้างทำงานบ้าน จำนวน 120 คน แบบสอบถามได้พัฒนาขึ้นจากกรอบแนวคิด และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากเจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน แรงงานข้ามชาติหญิงชาวพม่าที่ทำงานเป็นลูกจ้างทำงานบ้านจำนวน 10 คน การศึกษาครอบคลุมข้อมูลทั่วไปของแรงงานและการตัดสินใจเข้ามาทำงานในประเทศไทยในแง่การคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน ส่วนใหญ่ไม่มีสัญญาจ้างงานเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ได้รับทราบเงื่อนไขข้อตกลงในการทำงานด้วยวาจา ลูกจ้างทำงานบ้านรับผิดชอบงานหลายหน้าที่ภายในบ้าน ลูกจ้างทำงานบ้านได้รับการคุ้มครองเพิ่มเติมเรื่อง วันหยุด วันลา ค่าตอบแทนในวันหยุดวันลา คุ้มครองการจ้างแรงงานเด็ก ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 14 (พ.ศ.2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ส่วนเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำและชั่วโมงทำงานกฎหมายไม่คุ้มครองแรงงานกลุ่มนี้ แต่ส่วนใหญ่ได้รับค่าจ้างอยู่ในเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด แม้มีชั่วโมงการทำงานยาวนาน 15-17 ชั่วโมงต่อวันแต่ก็มีเวลาพักสลับกับเวลาทำงาน ในแง่การคุ้มครองทางสังคมยังไม่มีสหภาพแรงงานสำหรับลูกจ้างทำงานบ้านในประเทศไทย มีเพียงการรวมกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการของลูกจ้างทำงานบ้านที่ได้ไปเรียนหนังสือทุกวันอาทิตย์ในโครงการขององค์กรพัฒนาเอกชน การได้รับสวัสดิการพื้นฐานด้านที่พักอาศัย อาหาร น้ำดื่มอย่างถูกสุขลักษณะ และได้รับการประกันด้านสุขภาพจากรัฐไทย สามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้ ส่วนใหญ่มีบัตรประกันสุขภาพ และสามารถเข้าถึงการศึกษาได้จากโครงการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และการจัดการศึกษาโดยองค์กรพัฒนาเอกชน การที่ลูกจ้างทำงานบ้านทำงานในสถานที่ส่วนบุคคล การเข้าไปตรวจสอบถึงการละเมิดสิทธิแรงงานและการคุ้มครองแรงงานเป็นไปได้ยาก ดังนั้นการคุ้มครองจึงขึ้นอยู่กับการบังคับใช้กฎหมายและปฏิบัติตามกฎหมายของนายจ้างเป็นสำคัญ ข้อเสนอแนะรัฐควรสร้างกลไกให้พนักงานตรวจแรงงานเข้าถึงแรงงานทำงานบ้านเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองมากขึ้น และควรสนับสนุนสื่อต่างๆ ในการเผยแพร่ให้ความรู้เรื่องการคุ้มครองแรงงานด้านกฎหมายให้ครอบคลุมแก่นายจ้างและลูกจ้างในภาษาที่เข้าใจ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of the study was to document the status of employment and working conditions of female migrant workers from Myanmar who work as domestic workers in Bangkok. This study also explores the extent of labor protections available to these female domestic workers. The study is based on data collected by using structured interviews with a sample of 120 female domestic workers from Myanmar working in Bangkok. The questionnaire was designed based on the conceptual framework of the research and from in-depth interviews with 10 key informants including government officials, and staff of NGOs working with female migrant domestic workers from Myanmar. This study covers general information about the decision of migrants to seek work in Thailand. In terms legal protection, most migrants do not have a written employment agreement, but have been informed of the employment terms verbally. Many migrant domestic workers have a variety of tasks to perform. In the course of extending legal protections to workers. Domestic workers receive additional benefits, such as days off and paid leave. The law protects against child labor as per Ministerial Act 14 (2012) under the Labor Protection Law of 1998. Thai labor law does not extend protection regarding payment of minimum wage and work hours for domestic workers. However based on the data collected, it appears that most of the migrant workers in this category receive wages that meet the legal minimum wage requirements. Their work day may span 15 to 17 hours, but this includes periods of rest during the day. As for social protection, there is no labor union for domestic workers in Thailand. But there are non-formal group support processes, including weekly literacy classes conducted by NGOs on Sundays. The Thai government ensures the minimum standard of social protection and welfare regarding accommodation, sanitary food and water, and health insurance which provides access to subsidized clinical care as needed. Most of the foreign domestic workers in Thailand have health insurance cards and can access basic education in the non-formal education program, as well as special courses provided by NGOs. Nevertheless, They work in private residences, Which makes it difficult to inspect the working conditions and identify labor rights violations. Thus, protecting the rights of foreign domestic workers largely depends on the adherence to the law and regulations by the employer. Therefore, it is recommended that the Thai government should have a mechanism to allow inspectors to enter the homes where foreign domestic workers work to ensure that work conditions comply with the law. The government should support various media to increase awareness of the legal labor rights of workers, including domestic workers. The employers of these workers and their migrant employees should be informed about the legal protections and benefits in relevant language. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.790 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | แรงงานต่างด้าวสตรี -- ไทย -- กรุงเทพฯ | |
dc.subject | ประกันสังคม | |
dc.subject | Women foreign workers -- Thailand -- Bangkok | |
dc.subject | Social security | |
dc.title | การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติหญิงจากพม่า : กรณีศึกษาลูกจ้างทำงานบ้านในกรุงเทพมหานคร | en_US |
dc.title.alternative | PROTECTION OF FEMALE MIGRANT WORKERS FROM MYANMAR : A CASE STUDY OF DOMESTIC WORKERS IN BANGKOK. | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พัฒนามนุษย์และสังคม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Supang.C@Chula.ac.th,chansupang@gmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2014.790 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5487170120.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.