Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46095
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนิดา ปรีชาวงษ์en_US
dc.contributor.authorเมธิกานต์ ทิมูลนีย์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:22:10Z-
dc.date.available2015-09-18T04:22:10Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46095-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในพนักงานทำความสะอาดวัยก่อนหมดประจำเดือน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคหัวใจและหลอดเลือด การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความคาดหวังในประสิทธิผลเมื่อปฏิบัติพฤติกรรม การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดกับพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อการป้องกันโรคเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานทำความสะอาดวัยก่อนหมดประจำเดือน จำนวน 123 คน ซึ่งสุ่มเลือกจากโรงพยาบาลตติยภูมิ 3 แห่งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด, แบบสอบการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรม, แบบสอบถามการรับรู้ความคาดหวังในประสิทธิผลเมื่อปฏิบัติพฤติกรรม, แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการรับรู้ความรุนแรงของโรค และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .70, .91, .86, .88, และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ในภาพรวม พนักงานทำความสะอาดวัยก่อนหมดประจำเดือนมีคะแนนค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 55.82, SD = 5.84) 2. การรับรู้ความรุนแรงของโรค, การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค, และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในพนักงานทำความสะอาดวัยก่อนหมดประจำเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .22 , .20, .45; p <.05) ส่วนการรับรู้ความคาดหวังในประสิทธิผลในการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดen_US
dc.description.abstractalternativeThis descriptive, correlational study aimed to examine the cardiovascular preventing behaviors in premenopasal cleaning personnel and to study the relationships between perceived severity, perceived susceptibility, perceived response efficacy, perceived self-efficacy, and cardiovascular preventing behaviors in premenopasal cleaning personnel. The Protection Motivation Theory was used as theoretical framework of this study. Using convenience sampling technique, the participants were 123 premenopausal cleaning personnel working in three super-tertiary care hospitals. The research instruments consisted of five self-reported questionnaires: the cardiovascular preventing behavior, perceived severity and susceptibility of the disease, perceived self-efficacy, and response - efficacy questionnaires. Assessment of the questionnaires’ content validity was tested five experts. The Cronbach’ s alpha coefficients were .70, .91, .86, .88, and .80 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson’s Product moment correlation coefficient. The results of this study were presented as follows: 1. The results revealed that the cardiovascular preventing behaviors of premenopasal cleaning personnel were appropriate (Mean = 55.82, SD = 5.84). 2. The study also found that perceived severity, susceptibility of the disease, and perceived self-efficacy were significantly correlated with cardiovascular preventing behavior in premenopasal cleaning personnel (r = .22, .20, .45; p < .05). However, response - efficacy was not correlated with cardiovascular preventing behavior in premenopasal cleaning personnel.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.821-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพ
dc.subjectวัยใกล้หมดระดู
dc.subjectหัวใจ -- โรค
dc.subjectระบบหัวใจและหลอดเลือด -- โรค
dc.subjectHealth behavior
dc.subjectPerimenopause
dc.subjectHeart -- Diseases
dc.subjectCardiovascular system -- Diseases
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในพนักงานทำความสะอาดวัยก่อนหมดประจำเดือนen_US
dc.title.alternativeFACTORS RELATED TO PREVENTIVE BEHAVIORS FOR CARDIOVASCULAR DISEASE IN PREMENOPAUSAL CLEANING PERSONNELen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSunida.P@Chula.ac.th,psunida.cu@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.821-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577185036.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.