Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46165
Title: พลวัตของการใช้ประโยชน์ผญาภาษิตในฐานะการเป็นเครื่องมือการขัดเกลาทางสังคม
Other Titles: DYNAMIC USE OF PHA-YA AS AN INSTRUMENT FOR PROMOTING SOCIALIZATION
Authors: เทียนชัย สุริมาศ
Advisors: พินิจ ลาภธนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pinit.L@Chula.ac.th
Subjects: สังคมประกิต -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
คติชนวิทยา -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
สังคมและวัฒนธรรม
Socialization -- Thailand, Northeastern
Folklore -- Thailand, Northeastern
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาพลวัตของการใช้ผญาภาษิตในฐานะการเป็นเครื่องมือการขัดเกลาทางสังคมมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของผญาภาษิตในประเด็นช่องทางการเผยแพร่ การเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อหาของบทผญา การเปลี่ยนแปลงด้านผู้ใช้ประโยชน์ และการเปลี่ยนแปลงของบทบาทหน้าที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ของผญาภาษิตในสังคมวัฒนธรรมอีสานในฐานะการเป็นเครื่องมือการขัดเกลาทางสังคม รวมทั้งเสนอแนวทางการเผยแพร่ผญาภาษิตในฐานะการเป็นเครื่องมือการขัดเกลาทางสังคม โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกลุ่มประชากร 5 กลุ่ม ได้แก่ นักวิชาการ ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้ใช้ผญาเพื่อความบันเทิง พระสงฆ์ และผู้ใช้ผญาในอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังใช้การวิจัยเอกสารร่วมด้วย ผลการศึกษาพบว่าการใช้ประโยชน์ผญาภาษิตในสังคมอีสานมีการปรับเปลี่ยนตามบริบทของสังคม โดยมีทั้งการปรับเปลี่ยนช่องทางการเผยแพร่ที่ทันสมัย การปรับเปลี่ยนเนื้อหาและคำประพันธ์ที่สอดคล้องกับสภาพสังคม การปรับเปลี่ยนกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของผญาภาษิตให้แตกต่างไปจากอดีต โดยหน้าที่เชิงประจักษ์ของผญาภาษิตนั้นคือการเป็นเครื่องมือทางภาษาที่ใช้สอนระเบียบสังคมผ่านสถาบันทางสังคมที่มีหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคม โดยเป็นกระบวนการขัดเกลาทางสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อมในลักษณะการให้ความรู้ การว่ากล่าวตักเตือน การอบรมสั่งสอน และการเป็นบรรทัดฐานทางสังคม ซึ่งผญาภาษิตมีบริบทคำสอนทั้งต่อปัจเจกบุคคล ครอบครัว และสังคม การสอนโดยผญาภาษิตนั้นจะมุ่งเน้นบทบาทหน้าที่และพฤติกรรมที่เหมาะสมของสมาชิกตามความคาดหวังของสังคม ซึ่งจะส่งผลให้สังคมมีความเป็นระเบียบและสงบสุขอันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการอยู่ร่วมกันในสังคม ทั้งนี้ผญาภาษิตสามารถประพันธ์ได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการประพันธ์ผญาภาษิตตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีนัยที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางสังคมในแต่ละยุคสมัย เมื่อโครงสร้างสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผญาภาษิตก็จะปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมทั้งรูปแบบการใช้ประโยชน์ เนื้อหาคำสอน การนำเสนอและปริมณฑลที่เกี่ยวข้องเพื่อการดำรงหน้าที่และการใช้ประโยชน์ในการเป็นเครื่องมือทางสังคมต่อไป กล่าวได้ว่าผญาเป็นคติชนที่ถูกใช้ประโยชน์มาอย่างต่อเนื่องและไม่ใช่วัฒนธรรมที่หยุดนิ่งในยุคสมัยใดสมัยหนึ่ง คำสำคัญ : ผญา ผญาภาษิต การขัดเกลาทางสังคม สังคมและวัฒนธรรมอีสาน
Other Abstract: This research aims to study various aspects of change in Pha-Ya, the north eastern Thailand proverbs, and to analyse its utilisation for social organisation in this region’s socio-cultural context. In the study, the quantitative approach is a core methodology. In-depth interview of 45 key informants is conducted, together with non-participant observation and documentary reviews are either. In the overall picture, the Pha-Ya utilization in this context has changed along a social transformation. There are new channals for dissemination, content modification fitting the current context and the change of beneficiaries. This also gives rise to function shifting from the past. The empirical function of Pha-Ya, in addition, is socialisation by a variety of social institutions to organise society’s members. The socialising process through Pha-Ya considers both direct and indirect approach regarding satire, education and social norm. The contents have covered over individual, family, and society level. Accordingly, Pha-ya composition has been significant and always involved in one social structure in each period. Once the social structure transforms, the utilisation, contents, and presentation of Pha-Ya will be shifted to meet an appropriation. This results in an existence of Pha-Ya as a social instrument. Pha-Ya, these days, is consistently utilising, and can be claimed that it has a dynamic feature.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46165
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.868
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.868
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5587129620.pdf10.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.