Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46344
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไขศรี ภักดิ์สุขเจริญen_US
dc.contributor.authorเกษมพันธุ์ ตระกูลขจรศักดิ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-18T04:24:17Z
dc.date.available2015-09-18T04:24:17Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46344
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractพื้นที่รอยต่อระหว่างมหาวิทยาลัยและเมืองที่ดี หมายถึง พื้นที่ที่มีคุณภาพของความหลากหลายในเชิงกิจกรรม ผู้ใช้งาน และช่วงเวลาของการใช้งาน อันส่งผลให้เกิดการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดกิจกรรมที่เหมาะสม มีการสัญจร การเข้าถึงพื้นที่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน และสภาพแวดล้อมที่ดี นอกจากนี้ประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างความเชื่อมต่อ คือ ความต่อเนื่องของกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจ เกิดศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้ของสังคม และความคุ้มค่าของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาร่วมกันระหว่างภาคการศึกษา และภาคเอกชน อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบในปัจจุบัน คือ มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในประเทศไทยถูกพัฒนาโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยดังกล่าว และได้พัฒนาพื้นที่ตามรูปแบบของ “ชุมชนล้อมรั้ว” ซึ่งส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการใช้ประโยชน์ในพื้นที่รอยต่อรอบบริเวณมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยศูนย์กลางเมืองที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ล้อมรอบด้วยย่านธุรกิจการค้า และการบริการ แหล่งงานขนาดใหญ่ และย่านที่พักอาศัยหนาแน่นสูง หากแต่ว่าไม่ได้คำนึงถึงการเชื่อมต่อกับพื้นที่โดยรอบอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มหาวิทยาลัยถูกตัดขาดจากพื้นที่เมือง เสียโอกาสในการพัฒนาอย่างมหาศาล จากการศึกษาขั้นต้นพบว่า หลักการสำคัญในแก้ไขปัญหา และสร้างความเชื่อมต่อที่ดี ประกอบไปด้วย หลักการสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การผสมผสานการใช้ประโยชน์ที่ดิน (combine) การเชื่อมเส้นทางและสภาพแวดล้อม (connect) และการสร้างทัศนียภาพ มุมมอง และจุดหมายตา (create) การศึกษานี้ได้สรุปผลจากงานวิจัยเพื่อค้นหาแนวทางออกแบบพื้นที่รอยต่อระหว่างมหาวิทยาลัยและพื้นที่โดยรอบ ทั้งนี้เพื่อสร้างมุมมองใหม่ให้กับการพัฒนาพื้นที่ทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ภายใต้แนวคิดดังกล่าว เพื่อลดปัญหาชุมชนล้อมรั้ว เพิ่มคุณภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในเชิงสาธารณะที่จะเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพเชิงสังคม และเศรษฐกิจต่อไปในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeAn environment around a good university should consists of various factor. A proper usage of time, activities, and resource will leads to an enormous environment growth. By creating a connecting between academic and private sectors will help add economic and land value. However, most of universities in Thailand have been disregard such an ideal and have turned into what we call “A Gated Community” which suggest into a server problem for land usage. For example, Chulalongkorn University is located in the center of Bangkok which surrounded by various types of developments, including some of the major commercial district and resident complex. However, effective connections between the campus and surroundings was not taken into a consideration which result in causing the separation between university and the city, as well as wasting of opportunity to developed the area immensely. The research shown that the result to this problem consisted of three principle which is merging land usage, establish connecting between roads and create a new experience by scenery, visual in urban environment. Finally, the research shows that in order to create a new concepts to developing areas of public sectors, we need to generate urban design guidelines in a while difference scenarios. This will help reduce the gated community problem and will enhance the quality of public land usage which is an essential for development of society and economy.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1197-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการฟื้นฟูเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subjectการวางผังบริเวณ -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subjectการพัฒนาเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subjectUrban renewal -- Thailand -- Bangkok -- Chulalongkorn University
dc.subjectBuilding sites -- Planning -- Thailand -- Bangkok -- Chulalongkorn University
dc.subjectUrban development -- Thailand -- Bangkok -- Chulalongkorn University
dc.titleแนวทางการออกแบบพื้นที่รอยต่อระหว่างมหาวิทยาลัยศูนย์กลางเมืองและพื้นที่โดยรอบ: กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.title.alternativeURBAN DESIGN GUIDELINES FOR THE BORDER AREA BETWEEN CITY CENTER CAMPUS AND ITS SURROUNDINGS: A CASE STUDY OF CHULALONGKORN UNIVERSITYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการออกแบบชุมชนเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKhaisri.P@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1197-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5773305525.pdf13.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.