Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46374
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรัญญา ตุ้ยคำภีร์en_US
dc.contributor.advisorวรรณี แกมเกตุen_US
dc.contributor.authorบุญโรม สุวรรณพาหุen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยาen_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:38:17Z-
dc.date.available2015-09-19T03:38:17Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46374-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)เปรียบเทียบคะแนนสุขภาวะของเยาวชนที่มีระดับการควบคุมตนเองแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิตและกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมปกติของศูนย์ฝึกฯ(2)วิเคราะห์พัฒนาการของสุขภาวะที่เป็นผลมาจากการได้รับกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิตโดยใช้การวิเคราะห์โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงและ (3)ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงของคะแนนสุขภาวะของเยาวชนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิตกับกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมปกติของศูนย์ฝึกฯโดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เยาวชนผู้กระทำผิดที่ใช้สารเสพติด ที่อยู่ในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเขต 9 จังหวัดสงขลา จำนวน 180 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 90 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) โปรแกรมกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิต (2) มาตรวัดสุขภาวะ และ (3) มาตรวัดการควบคุมตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุนามแบบวัดซ้ำด้วยโปรแกรม SPSS การวิเคราะห์โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างกลุ่มพหุด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยสุขภาวะจากการวัด 4 ครั้ง ระหว่างเยาวชนที่ได้รับกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิตและเยาวชนที่ได้รับกิจกรรมปกติของศูนย์ฝึก ฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเยาวชนที่มีระดับการควบคุมตนเองแตกต่างกันมีคะแนนเฉลี่ยสุขภาวะจากการวัดครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 และครั้งที่ 4 ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงของสุขภาวะ ในเยาวชนผู้กระทำผิดที่ใช้สารเสพติดที่ได้รับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิตจำนวน 90 คน และเยาวชนที่ได้รับกิจกรรมปกติของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนจำนวน 90 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า = 1.84, df = 3,/ df = 0.613, p-value = 0.61 ดัชนี GFI = 1.00 , CFI = 1.00, NFI = 1.00, RMSEA = 0.0, และ SRMR = 0.022 3. โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงของคะแนนสุขภาวะระหว่างเยาวชนที่ได้กลุ่มรับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิตและเยาวชนที่ได้รับกิจกรรมปกติของศูนย์ฝึกฯ มีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลแต่มีความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยสุขภาวะในการวัดแต่ละครั้งและความแปรปรวนของคะแนนเฉลี่ยสุขภาวะจากการวัด 4 ครั้งกล่าวคือ โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงคะแนนสุขภาวะของเยาวชนผู้กระทำผิดที่ใช้สารเสพติดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีรูปแบบโมเดลไม่แตกต่างกัน แต่มีน้ำหนักองค์ประกอบในการวัดแต่ละครั้งแตกต่างกันen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to (1) compare wellness scores of youths at a juvenile training center, with different levels of self-control, and were assigned to either logotherapy group or the training center's regular activities group. (2) validate the development of wellness as a result from logotherapy group by using latent growth curve Model structure equation analysis, and (3) examine the Measurement invariance of model of wellness scores of youths who were assigned to logotherapy group and the training center's regular activities group. A quasi-experimental design was applied. A total of 180 juvenile offenders and substance abuse at the Juvenile Training Center for Children and Youth, Zone 8; Surat Thani province, and Zone 9; Songkhla province, were selected in this study. Ninety participants were in a experimental (logotherapy) group and the others was control (regular activities) group. Research instruments used were; (1) Logotherpy Group Program, (2) Wellness measures, (3) Self-Control measures. Data were analyzed by descriptive and inferential statistics i.e., standard deviations, coefficients of variation, skewness & kurtosis values, repeated measure MANCOVA, Pearson correlation analysis, Exploratory Factor Analysis using SPSS. Moreover, Confirmatory Factor Analysis, Latent Growth Curve Model Structure Equation Analysis, and Multiple Group Structural Equation Model Analysis by LISREL were used to analyze the data. The findings revealed that (1) The average of wellness status measured for four times between two groups were a significant differencely at .05. The average of wellness status measured at 2, 3, and 4 in the groups with different level in self- were not significance different at .05. (2) Latent growth curve model of wellness in both experiment and control groups was valid and well fitted to empirical data = 1.84, df = 3, / df = 0.613, p-value = 0.61 GFI = 1.00, CFI = 1.00, NFI = 1.00, RMSEA = 0.0, and SRMR = 0.022 (3) Latent growth curve model of wellness in both experiment and control groups was not invariance but there were differences in mean scores of wellness in each measurement and the variance of mean scores between 4 times of measurement. In the other words, the multiple group model was not significantly different, but the weight of each component in the measurement was different.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1203-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจิตวิทยาการปรึกษา
dc.subjectสุขภาวะ
dc.subjectยาเสพติดกับเยาวชน
dc.subjectการควบคุมตนเอง
dc.subjectการควบคุมตนเองในวัยรุ่น
dc.subjectการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
dc.subjectCounseling psychology
dc.subjectWell-being
dc.subjectNarcotics and youth
dc.subjectSelf-control
dc.subjectSelf-control in adolescence
dc.subjectGroup counseling
dc.titleผลของกลุ่มการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแนวความหมายในชีวิตต่อการเปลี่ยนแปลงของสุขภาวะในเยาวชนผู้กระทำผิดที่ใช้สารเสพติดที่มีระดับการควบคุมตนเองแตกต่างกันen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF LOGOTHERAPY GROUP ON CHANGE IN WELLNESS OF SUBSTANCE ABUSE YOUNG DELINQUENTS WITH DIFFERENT LEVELS IN SELF-CONTROLen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorArunya.T@Chula.ac.th,atuicomepee@gmail.comen_US
dc.email.advisorWannee.K@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1203-
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5278452538.pdf7.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.