Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46465
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวาณี สุรเสียงสังข์en_US
dc.contributor.authorศิริกาญจน์ บุณยะวิโรจen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีen_US
dc.date.accessioned2015-09-19T03:39:33Z-
dc.date.available2015-09-19T03:39:33Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46465-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงระหว่างระดับของภาวะทุพพลภาพและคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยแบบการดูแลระยะยาวของผู้สูงอายุไทย ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือ 1) ข้อมูลจำนวนประชากรผู้สูงอายุไทย จำแนกตาม 6 กิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐาน แยกเพศและอายุ จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย ครั้งที่ 3 และ 4 2) ข้อมูลจำนวนประชากร จำแนกตามเพศและอายุ ปี 2547 – 2552 จากกระทรวงมหาดไทย และ 3) ข้อมูลจำนวนการตายของประชากร จำแนกตามเพศและอายุ ปี พ.ศ. 2547 – 2552 จากกระทรวงสาธารณสุข งานวิจัยนี้ใช้ตัวแบบลูกโซ่มาร์คอฟในการประมาณค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงระหว่างระดับของภาวะทุพพลภาพสำหรับผู้สูงอายุไทย จากนั้นสร้างตารางชีพแบบลดลง 2 สาเหตุ เพื่อใช้ในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัยการดูแลระยะยาว ผลการศึกษาพบว่าค่าประมาณอัตราการเปลี่ยนแปลงระหว่างระดับของภาวะทุพพลภาพสำหรับผู้สูงอายุไทยระหว่างระดับที่ 1 (0 ADL) ไประดับที่ 3 (3+ ADLs) ภายในระยะเวลา 5 ปี ของผู้สูงอายุไทย มีค่าอยู่ระหว่าง ร้อยละ 0.21 ถึง ร้อยละ 0.82 สำหรับช่วงอายุ 60 – 69 ปี เพศชายมีอัตราการเปลี่ยนแปลงสูงกว่าเพศหญิง ยกเว้นในช่วงอายุ 70 – 94 ปี อัตราเบี้ยประกันภัยสุทธิชำระครั้งเดียว สำหรับสัญญาเพิ่มเติมความคุ้มครองกรณีเกิดความต้องการการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุไทย เพศชายและเพศหญิง มีอัตราเบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aims to estimate transition rates between disability levels and calculate long term care insurance premiums for Thai elderly. Data sets used in this research are as follows : i) the number of Thai elderly population classified by 6 activities of daily living (ADLs), gender and age from the third and the fourth round of Thai National Health Examination Surveys, ii) the number of population classified by gender and age at the end of the year 2004 – 2009 from the Ministry of Interior, and iii) the number of death classified by gender and age in the year 2004 – 2009 from the Ministry of Public Health. Transition rates between disability levels for Thai elderly are estimated by Markov Chain model. Then transition rates are used to generate multiple decrement life tables for calculating premium of long term care insurance plans. The results show that the estimated transition rates from disability level 1 (0 ADL) to levels 3 (3+ ADLs) within 5 years are between 0.21 – 0.82 percent for aged 60-69 years. Transition rates from disability level 1 to levels 3 of males are higher than females except aged 70-94 years. The net single premium of the long term care rider insurance for males and females elderly have increases as age increases.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการประมาณค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงระหว่างระดับของภาวะทุพพลภาพสำหรับผู้สูงอายุไทยen_US
dc.title.alternativeESTIMATION OF TRANSITION RATES BETWEEN DISABILITY LEVELS FOR THAI ELDERLYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการประกันภัยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSuwanee.S@Chula.ac.th,suwanee@cbs.chula.ac.then_US
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5481694626.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.