Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46485
Title: | โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครูโดยมีการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่าน |
Other Titles: | A CAUSAL MODEL OF TEACHER'S INNOVATIVE ABILITY WITH CREATIVE THINKING AS THE MEDIATOR |
Authors: | วราลี ฉิมทองดี |
Advisors: | วรรณี แกมเกตุ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Wannee.K@Chula.ac.th |
Subjects: | สิ่งประดิษฐ์ ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์ทางเทคโนโลยี ครู Inventions Creative thinking Creative ability Creative ability in technology Teachers |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามระดับชั้นที่สอนและขนาดของโรงเรียนที่แตกต่างกัน 2) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครูโดยมีการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่าน 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมครูที่มีการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่านกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่างวิจัย คือ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 510 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ตัวแปรวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 6 ตัวแปรคือ ความรู้ในการสร้างนวัตกรรม แรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรม การจัดการความรู้ การสนับสนุนจากองค์กร การคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการสร้างนวัตกรรม โดยมีตัวแปรสังเกตได้ 19 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครูและปัจจัยที่เกี่ยวกับการสร้างนวัตกรรม มีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.25 ถึง 0.91 และ 2) แบบวัดความรู้ในการสร้างนวัตกรรม มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.45 ถึง 0.79 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 ถึง 0.89 และมีค่าความเที่ยงแบบ KR20 เท่ากับ 0.23 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ครูมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอยู่ในระดับสูง (Mean=3.78) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างครูที่สอนในระดับชั้นและในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน พบว่า ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครูโดยมีการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่านที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square=151.09 df= 138 p=0.21 GFI=0.97 AGF=0.96 RMR=0.02) ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครูได้รับอิทธิพลทางตรงจากแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรม การจัดการความรู้และการคิดสร้างสรรค์ และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากความรู้และแรงจูงใจโดยส่งผ่านการคิดสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และแรงจูงใจในการสร้างนวัตกรรมมีอิทธิพลรวมสูงสุดต่อความสามารถในการสร้างนวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครูได้ร้อยละ 72 |
Other Abstract: | The purposes of this research were as follows 1) to study and compare innovative ability of teachers, which belonged to the office of basic education commission in different school levels and sizes. 2) to develop a causal model of teacher’s innovative ability with creative thinking as mediator, and 3) to examine the correlation between the model and the empirical data. 510 primary and secondary teachers from the office of basic education commission were systematically drawn by applying simple random sampling technique. Six latent variables were theoretically formulated, which consisted of innovative knowledge, innovative motivation, knowledge management, organizational support, creative thinking, and innovative ability respectively. Additionally, 19 observed variables were examined. The research instruments were 1) questionnaire measuring teacher’s innovative ability and innovative ability factor with reliability ranging from 0.25-0.91 2) innovative knowledge test with difficulty ranging from 0.45-0.79, discrimination ranging from 0.21-0.89, and reliability of KR20 was 0.23. The research data were analyzed, using descriptive statistics, t-test independent, Pearson’s correlation and LISREL model analysis. The research findings were as follows: 1) The teacher's innovative ability was at high level (Mean=3.78). The teacher’s innovative ability in different school levels and sizes were non-significant statistical difference at .05 level. 2) The causal model of teacher’s innovative ability with creative thinking as mediator correlated with the empirical data. (Chi-square=151.09, df=138, p=0.21, GFI=0.97, AGFI=0.96, RMR=0.02) Teacher's innovative ability had a significant direct effect toward innovative motivation and knowledge management. Teacher's innovative ability had a significant indirect effect toward innovative motivation and innovative knowledge through creative thinking (p<.05). Innovative motivation had the most significant overall effect toward innovative ability (p<.05). The model accounted for 72% of variance in teacher’s innovative ability. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46485 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1266 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2014.1266 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5483853427.pdf | 4.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.