Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46583
Title: ความชุกของการตรวจพบผลบวกด้วยวิธีทดสอบโดยการใช้ซีรัมของผู้ป่วย และการใช้พลาสมาของผู้ป่วยฉีดเข้าในผิวหนังในผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรังที่เกิดเอง
Other Titles: The Prevalence of AUTOLOGOUS SERUM SKIN TEST (ASST) AND AUTOLOGOUS PLASMA SKIN TEST (APST) POSITIVITY IN PATIENTS WITH CHRONIC SPONTANEOUS URTICARIA
Authors: เจน อารีจันทวัฒน์
Advisors: มาริษา พงศ์พฤฒิพันธ์
เจตทะนง แกล้วสงคราม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Marisa.P@chula.ac.th,dr_marisa@yahoo.com
Jettanong.K@Chula.ac.th,jettanong@gmail.com
Subjects: ลมพิษ
การทดสอบทางผิวหนัง
ผิวหนัง -- โรค
ผิวหนัง -- การอักเสบ
Urticaria
Skin tests
Skin -- Diseases
Skin -- Inflammation
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความชุกของการตรวจพบผลบวกด้วยวิธี ASST และ APST ในผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรังที่เกิดเอง เปรียบเทียบ ASST และ APST ในแง่ของประสิทธิภาพการวินิจฉัย เมื่อเทียบกับ Basophil histamine release assay (BHRA) และ anti-FcεRIα autoantibody immunoassay รวมถึงหาระดับความสัมพันธ์ระหว่าง ASST และ APST และระหว่าง BHRA และ anti-FcεRIα autoantibody immunoassay วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรังที่เกิดเอง 60 คน ได้รับการทดสอบ ASST, APST, BHRA และ anti-FcεRIα autoantibody immunoassay ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรังที่เกิดเอง 60 ราย ทดสอบพบผลบวกจาก ASST และ APST 24 ราย (ร้อยละ 40) และ 12 ราย (ร้อยละ 20) ตามลำดับ (p = 0.012) โดยมีค่า Cohen’s kappa 0.242 มีผู้ทดสอบ BHRA ได้ผลบวก และตรวจพบสารภูมิต้านทานต่อ FcεRIα autoantibody ร้อยละ 27.59 และ 25.86 ตามลำดับ โดยมีค่า Cohen’s kappa 0.164 เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจ BHRA พบว่าความไว, ความจำเพาะ, PPV, NPV, LR+, LR-, accuracy, และ DOR เป็น 31.33%, 54.8%, 20.8%, 67.6%, 0.691, 1.26, 48.3% และ 0.55 สำหรับ ASST, และ 12.5%, 76.2%, 16.7%, 69.6%, 0.525, 1.15, 58.6% และ 0.457 สำหรับ APST เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจ anti-FcεRIα autoantibody พบว่าความไว, ความจำเพาะ, PPV, NPV, LR+, LR-, accuracy, และ DOR เป็น 40%, 58.1%, 25%, 73.5%, 0.956, 1.03, 53.4% และ 0.93 สำหรับ ASST, และ 13.3%, 76.7%, 16.7%, 71.7%, 0.573, 1.13, 60.3% และ 0.51 สำหรับ APST โดยพบความชุกของผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรังที่เกิดเองจากภูมิต้านตนเองร้อยละ 3.4 ของกลุ่มผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรังที่เกิดเอง สรุปผล: ASST มีความชุกของการตรวจพบผลบวก รวมถึงความไวและประสิทธิภาพการวินิจฉัยในการตรวจพบผลบวกจาก BHRA และ anti-FcεRIα antibody assay มากกว่า APST ในผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรังที่เกิดเอง แต่ก็ยังไม่มากพอสำหรับใช้เพื่อตรวจคัดกรองในการวินิจฉัยโรคลมพิษเรื้อรังที่เกิดเองจากภูมิต้านตนเอง ขณะที่ APST มีความจำเพาะมากกว่า ASST จึงมีประโยชน์ในการช่วยแยกผู้ป่วยที่ไม่น่าจะมีสาเหตุจากภูมิต้านตนเองออกไปมากกว่าหากทดสอบ APST ได้ผลลบ ความชุกของโรคลมพิษเรื้อรังที่เกิดเองจากภูมิต้านตนเองนั้นพบเพียงร้อยละ 3.4 ในกลุ่มผู้ป่วยโรคลมพิษเรื้อรังที่เกิดเอง
Other Abstract: Background: The autologous serum skin test (ASST) has been widely performed in patients with chronic spontaneous urticaria (CSU) as a screening tool for autoimmune chronic spontaneous urticaria (ACU). It helps detect autoreactivity and its positivity is also included in one of the newly proposed gold standard criteria for diagnosis of ACU. However, there are conflicting evidences suggesting that the autologous plasma skin test (APST) might have more positive yield than ASST. Objectives: This study aim to compare the prevalence of ASST and APST positivity among CSU patients and to compare their diagnostic performance versus basophil histamine release assay (BHRA) and anti-FcεRIα antibody assay. We also demonstrate a correlation between ASST and APST, as well as basophil histamine release assay (BHRA) and anti-FcεRIα autoantibody immunoassay. Materials and Methods: Sixty adults with active CSU underwent ASST and APST. BHRA and anti-FcεRIα autoantibody immunoassay were measured in all patients by ELISA. Results: The ASST and APST were positive in 24 (40%) and 12 (20%) subjects respectively (p = 0.012), with Cohen’s kappa of 0.242. BHRA was positive in 27.59% of patients and anti-FcεRIα autoantibody was found in 25.86%, with Cohen’s kappa of 0.164. As compared with BHRA, the sensitivity, specificity, PPV, NPV, LR+, LR-, accuracy, and DOR were 31.33%, 54.8%, 20.8%, 67.6%, 0.691, 1.26, 48.3% and 0.55 for the ASST, and 12.5%, 76.2%, 16.7%, 69.6%, 0.525, 1.15, 58.6% and 0.457 for the APST. As compared with anti-FcεRIα autoantibody assay, the sensitivity, specificity, PPV, NPV, LR+, LR-, accuracy, and DOR were 40%, 58.1%, 25%, 73.5%, 0.956, 1.03, 53.4% and 0.93 for the ASST, and 13.3%, 76.7%, 16.7%, 71.7%, 0.573, 1.13, 60.3% and 0.51 for the APST. The prevalence of ACU was 3.4% among the patients with CSU. Conclusions: The ASST showed a significantly higher prevalence of positivity and had better sensitivity and diagnostic performance for both BHRA and anti-FcεRIα antibody assay than APST in CSU patients. However, neither of these tests are appropriate screening tools for the diagnosis of ACU. The negative APST is more useful than ASST for ruling out the diagnosis of ACU according to higher specificity. The prevalence of ACU was found only 3.4% among the patients with CSU.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46583
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1332
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1332
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674017930.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.