Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46590
Title: การปรับตัวของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์แห่งหนึ่งในประเทศไทย
Other Titles: The Adjustment Problem of First Year Medical Students of One Faculty of Medicine in Thailand
Authors: นิลญา อาภรณ์กุล
Advisors: ศิริลักษณ์ ศุภปีติพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Siriluck.S@Chula.ac.th,siriluckspp@gmail.com
Subjects: การปรับตัว (จิตวิทยา)
นักศึกษาแพทย์
Adjustment (Psychology)
Medical students
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อศึกษาถึงการปรับตัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเก็บรวบรวมข้อมูลของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐาน 2) แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต 3) แบบสำรวจปัญหาการปรับตัว สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ในการอธิบายลักษณะทั่วไปของประชากร ได้แก่ ค่าสัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบความสัมพันธ์ของปัญหาการปรับตัวกับปัจจัยส่วนบุคคลและความฉลาดทางอารมณ์ โดยใช้สถิติ Pearson's product moment correlation coefficient, Independent samples t-test, One way ANOVA และ Multiple Regression Analysis ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนใหญ่มีปัญหาในการปรับตัวในภาพรวม 10 ด้าน อยู่ในระดับต่ำ เมื่อแยกรายด้าน พบว่า มีปัญหาการปรับตัวในด้านการปรับตัวทางการเรียน อยู่ในระดับปานกลาง และมีปัญหาการปรับตัวในด้านกิจกรรมสังคมและนันทนาการ ด้านสุขภาพและพัฒนาการด้านร่างกาย ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านหลักสูตรและการสอน ด้านการปรับตัวทางอารมณ์และส่วนตัว ด้านศีลธรรมจรรยาและศาสนา ด้านบ้านและครอบครัว ด้านการปรับตัวทางเพศ ด้านการเงิน สภาพความเป็นอยู่และการงาน อยู่ในระดับต่ำ สำหรับความฉลาดทางอารมณ์ พบว่า นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ในด้านรวม อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยมีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี อยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ ด้านเก่ง อยู่ในเกณฑ์ปกติ และด้านสุข อยู่ในเกณฑ์ปกติ และพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาการปรับตัวในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความฉลาดทางอารมณ์ (p < 0.01) และปัจจัยที่สามารถทำนายปัญหาการปรับตัวในภาพรวม คือ ความฉลาดทางอารมณ์ (r2 = 0.367,p < 0.01) ข้อมูลของการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการเข้าถึงปัญหาการปรับตัวและสามารถหาแนวทางช่วยเหลือและป้องกันด้านสุขภาพจิตให้แก่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
Other Abstract: This study was the cross-sectional descriptive study aimed to examine the level of adjustment problem and associated factors of medical students of faculty of medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University. Data were collected from 284 first-year undergraduate students who studied at Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University in the second semester of academic year 2014. The instruments were 1) Demographic data 2)Thai Emotional Intelligence Test 3) Adjustment problems were assessed by modified Moony Problem Check List : College Form. Data were analyzed by descriptive statistics: proportion, percentage, mean and standard deviation. Inferential statistics used to examine the relationship between adjustment problems and associated factors were Pearson's product moment correlation coefficient, Independent samples t-test, One- way ANOVA and Multiple Regression Analysis. The study found that most of the first-year medical students at Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University had overall adjustment problem at low level. The level of problem in the area of adjustment to college work was medium. And the following areas; social and recreational activities, health and physical development, social-psychological relations, curriculum and teaching procedure, personal-psychological relations, morals and religion, home and family, sexual adjustment, finances and living showed low level of adjustment problems. Most of the students had average score on emotional intelligence test in overall, the competence subscale and the happiness subscale but high score on the virtue subscale. Emotional Intelligence was the associated and predictive factor for level of adjustment problems (r2 = 0.367, p <0.01).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46590
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1338
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1338
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5674258830.pdf2.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.