Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46676
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุบลรัตน์ สิริภัทราวรรณ | |
dc.contributor.advisor | วรรณา ตุลยธัญ | |
dc.contributor.author | พรรษพร พิพัฒนามงคล | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2015-09-23T01:35:34Z | |
dc.date.available | 2015-09-23T01:35:34Z | |
dc.date.issued | 2549 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46676 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เมทิลจัสโมเนต อุณหภูมิการเก็บรักษา และบรรจุภัฤณฑ์ที่เหมาะสมในการยับยั้งการงอกของมันฝรั่งเพื่อช่วยยืดอายุการเก็บรักษาของมันฝรั่งให้นานขึ้น โดยแบ่งงานวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนแรก ศึกษาวิธีและความเข้มข้นที่เหมาะสมของเมทิลจัสโมเนตในการยับยั้งการงอกของมันฝรั่ง โดยนำมันฝรั่ฝพันธุ์สปนต้า มาจุ่ม (3 นาที) และรม (24 ชั่วโมง) ด้วยไอของเมทิลจัสโมเนตที่ความเข้มข้น 10⁻⁴ และ 10⁻⁵ โมลาร์ บรรจุในกล่องกระดาษ เก็บที่อุณหภูมิห้อง (33± 3 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 60 วัน วิเคราะห์หาเปอร์เซ็นต์การงอกและการสูญเสียน้ำหนัก ความแน่นเนื้อปริมาไกลโคอัลคาลอยด์ทั้งหมด ปริมาณแป้งและปริมาณน้ำตาลรีดิวซิ่ง พบว่า การใช้เมทิลจัสโมเนตที่ความเข้มข้น 10⁻⁴ โมลาร์ สามารถชะลอการงอกของมันฝรั่งได้ดีกว่าที่ความเข้มข้น 10⁻⁵ โมลาร์ และตัวอย่างควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยวิธีการจุ่มจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการรมด้วยไอของเมิลจัสโมเนต ขั้นตอนที่สองเป็นการศึกษาการใช้เมทิลจัสโมเนตและอุณหภูมิการเก็บรักษา เพื่อการยับยั้งการงอกของมันฝรั่ง โดยนำมันฝรั่งจุ่มในเมทิลจัสโมเนตความเข้มข้น 10⁻⁴ M บรรจุในกล่องกระดาษ เก็บที่อุณหภูมิห้องและที่ 2 ± 2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 วัน พบว่า การเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ (2 ±2 องศาเซลเซียส) จะช่วยยับยั้งการงอก ลดการสูญเสียน้ำหนักและความแน่นเนื้อของมันฝรั่งได้ แต่ปริมาณแห้งจะลดลงและมีปริมาณน้ำตาลรีดิวซิ่งอยู่สูง ส่วนขั้นตอนสุดท้ายเป็นการศึกษาผลของเมทิลจัสโมเนต และบรรจุภัณฑ์ ต่อการยับยั้งการงอกของมันฝรั่ง โดยบรรจุมันฝรั่งที่ผ่านการจุ่มในเมทิลจัสโมเนตความเข้มข้น 10⁻⁴ โมลาร์ ในกล่องกระดาษและถุง FRESHPAC ปิดผนึกด้วยความร้อน แล้วจึงบรรจุในกล่องกระดาษ เก็บที่อุณหภูมิ 2±2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 วัน พบว่าการบรรจุมันฝรั่งในถุง FRESHPAC จะช่วยลดการสูญเสียน้ำหนัก และความแน่นเนื้อของมันฝรั่งได้ ไม่สามารถควบคุมการงอกและการเพิ่มขึ้นของปริมาณไกลโคอัลคาลอยด์ทั้งหมดได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการบรรจุในกล่องกระดาษ | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research was aimed to inhibit Spunta potato tuber (Solanum tuberosum L. cv.) sprouting using methyl jasmonate (MJ), storage temperature and packaging material extension. This research was divided into three parts. Firstly, the suitable method of JM application (diping and vaporizing) and concentration (10⁻⁴ and 10⁻⁵ molar) to inhibit potto sprouting was determined. Potato tubers were dipped (3 minutes) and vaporized (24 hours) in qo and 10⁻⁴ molar MJ, then packaged into paper boxes and stored at room temperature (33 ± 3 degree Celsius) for 60 days. Weight loss, firmness, total glycoalcaloid, starch content, reducing sugar content, and degree of sprouting were analyzed. The results showed that dipping potato tubers with 10⁻⁴ molar JM treatment was the most effective treatment in inhibiting potato sprouting. Secondly, the effect of JM treatment and storage temperature to inhibit potatosprouting was studied. Potato tubers were dipped in 10⁻⁴ molar MJ, packaged into paper boxes and stored at room temperature and low temperature (2 ± 2 degree Celsius) for 60 days. Low temperature storage could inhibit sprouting, maintain firmness, reduce weight loss, total glycoalcaloid and starch content but increased reducing sugar content of the potatoes. In the final part, the effect of MJ treatment and packaging material (with and without FRESHPAC ) on potato sprouting was investigated. Potato tubers with and without dipping in 10⁻⁴ molar MJ, packaged into paper boxes and in FRESHPAC bags before placed into paper boxes and shored at low temperature(2 ± 2 degree Celsius) for 60 days. The potatoes in FRESHAPAC bag packaged into the box showed lower weight loss and higher firmness than other treatments, however, sprouting and total glycoalcaloid were higher when compared with those packaged into the paper box alone. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.894 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | มันฝรั่ง -- การเก็บและรักษา | en_US |
dc.subject | การถนอมอาหาร | en_US |
dc.subject | บรรจุภัณฑ์อาหาร | en_US |
dc.subject | Food -- Preservation | |
dc.subject | Food containers | |
dc.title | ผลของเมทิลจัสโมเนต ภาวะการเก็บรักษา และบรรจุภัณฑ์ ต่อการยับยั้งการงอกของมันฝรั่งพันธุ์ พันธุ์สปุนต้า Solanum tuberosum L. | en_US |
dc.title.alternative | Effect of methyl jasmonate, storage condition and packaging material on inhibiting of spunta potato tuber Solanum tuberosum L. sprouting | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีทางอาหาร | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Ubonratana.S@Chula.ac.th | |
dc.email.advisor | vanna-tt@mail2.chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.894 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pansaporn_Pi.pdf | 1.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.