Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46837
Title: สถานภาพทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย
Other Titles: The education status of secondary schools in the upper-southern part of Thailand
Authors: สมชาย บุญช่วย
Advisors: วรรณา ปูรณโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สุราษฎร์ธานี -- โรงเรียน
โรงเรียนมัธยมศึกษา
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสถานภาพทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนบนของประเทศไทย 2 จังหวัด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดภูเก็ต ประจำปีการศึกษา 2527 จำนวน 36 โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีทั้งหมด 2 จังหวัดดังกล่าว ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสำรวจโรงเรียนวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางศึกษาของแต่ละโรงเรียน มีตัวแปรทั้งหมด 25 ตัว ซึ่งเกี่ยวกับโรงเรียน ครู และนักเรียน ดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษาได้กำหนดให้มีค่าระหว่าง 0 ถึง 200 และค่ามัธยมฐานเท่ากับ 100 และเปรียบเทียบตัวแปรบางตัวกับเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เปรียบเทียบตัวแปรที่สำคัญบางตัวระหว่างโรงเรียน พร้อมทั้งศึกษาตัวแปรทางด้านคุณวุฒิของครู วิชาเอกโทของครู วิชาเลือกทางด้านอาชีพ ชุมนุมหรือชมรมของนักเรียน การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของทุกโรงเรียน และอุปกรณ์การสอน ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลได้แยกการวิเคราะห์ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดสอนระดับชั้น ม.1 – ม.3 และกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดสอนระดับชั้น ม.1 – ม.6 ข้อค้นพบที่สำคัญของการวิจัย คือ 1. โรงเรียนมัธยมศึกษาระดับ ม.1-ม.3 จำนวน 21 โรงเรียน ปรากฏว่า 1.1 ดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษามีค่าระหว่าง 50.50 ถึง 271.40 สูงสุดคือ โรงเรียนบางสวรรค์วิทยาคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่ำสุดคือโรงเรียนท่าฉางวิทยาคาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงเรียนที่มีค่าดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษามากกว่า 200 มี 1 โรงเรียน คือโรงเรียนบางสวรรค์วิทยาคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงเรียนที่มีค่าดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษาระหว่าง 100 ถึง 200 มี 6 โรงเรียน ซึ่งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีทุกโรงเรียน โรงเรียนที่มีค่าบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษาต่ำกว่า 100 ซึ่งเป็นค่ากลางของมาตราส่วน 0 ถึง 200 มี 14 โรงเรียน อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 13 โรงเรียน และอยู่ในจังหวัดภูเก็ต 1 โรงเรียน โรงเรียนที่มีดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษาสูงส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อย ส่วนโรงเรียนที่มีดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษาต่ำส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนมาก 1.2 โรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่มีห้องเฉพาะที่เป็นสัดส่วน เช่น โรงฝึกงาน โรงอาหาร ห้องพลศึกษา ห้องแนะแนว ห้องพยาบาล และห้องโสตทัศนูปกรณ์ มีอยู่ 7 โรงเรียนที่มีจำนวนครูประจำการมีไม่เพียงพอ โรงเรียนส่วนใหญ่มีครูจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นส่วนมาก ครูส่วนใหญ่มีวิชาเอกสังคมศึกษา ส่วนวิชาโทนั้นส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ยังขาดครูทางด้านวิชาชีพ โดยเฉพาะวิชาอุตสาหกรรมฯศิลป์หนังสือในห้องสมุดโรงเรียนส่วนใหญ่ยังมีไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน มีอยู่ 2 โรงเรียนที่มีจำนวนห้องเรียนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน โรงเรียนส่วนใหญ่มีวิชาเลือกทางด้านอาชีพอุตสาหกรรมศิลป์ มีชุมนุมหรือชมรมทางด้านเกษตรกรรมศิลป์ และมีกิจกรรมทางด้านกีฬาโรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่มีรถโรงเรียน มีอยู่หลายโรงเรียนที่ยังขาดอุปกรณ์การสอนเหล่านี้กล้องจุลทรรศน์ กระดานกราฟ เครื่องฉายสไลด์ สนามวอลเล่ย์บอล โรงเรียนทุกโรงเรียนมีขนาดของบริเวณโรงเรียนใหญ่กว่าเกณฑ์มาตรฐาน 2. โรงเรียนมัธยมศึกษาระดับ ม.1-ม.6 จำนวน 15 โรงเรียน ปรากฏว่า 2.1 ดัชนีบ่งยังสถานภาพทางการศึกษามีค่าระหว่าง 69.97 ถึง 224.01 สูงสุดคือ โรงเรียนกะทู้วิทยา จังหวัดภูเก็ต ต่ำสุดคือ โรงเรียนพุนพินพิทยาคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงเรียนที่มีค่าดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษามากกว่า 200 มี 1 โรงเรียน คือโรงเรียนกะทู้วิทยา จังหวัดภูเก็ต โรงเรียนที่มีค่าดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษาระหว่าง 100 ถึง 200 มี 4 โรงเรียน อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 โรงเรียน และภูเก็ต 1 โรงเรียน โรงเรียนที่มีค่าดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษาต่ำกว่า 100 ซึ่งเป็นค่ากลางของมาตราส่วน 0 ถึง 200 มี 10 โรงเรียน อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 8 โรงเรียน และภูเก็ต 2 โรงเรียน โรงเรียนที่มีดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษาสูงส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อย ส่วนโรงเรียนที่มีดัชนีบ่งชี้สถานภาพทางการศึกษาต่ำส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนมาก 2.2 โรงเรียนส่วนใหญ่มีห้องเฉพาะเป็นสัดส่วน แต่มีขนาดเล็กกว่าเกณฑ์มาตรฐาน โรงเรียนส่วนใหญ่มีจำนวนครูประจำการไม่เพียงพอ โรงเรียนส่วนใหญ่มีครูจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นส่วนมาก ครูส่วนใหญ่มีวิชาเอกสังคมศึกษา ส่วนวิชาโทนั้นส่วนใหญ่เป็นสังคมศึกษา แต่โรงเรียนส่วนใหญ่ยังขาดครูทางด้านวิชาชีพ โดยเฉพาะวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ หนังสือในห้องสมุดโรงเรียนส่วนใหญ่ยังมีไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียนมีอยู่ 7 โรงเรียนที่มีจำนวนห้องเรียนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน โรงเรียนส่วนใหญ่มีส่วนนักเรียนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน โรงเรียนส่วนใหญ่มีวิชาเลือกทางด้านอาชีพเกษตรกรรมศิลป์ มีชุมนุมหรือชมรมทางด้านวิชาสามัญ และมีกิจกรรมทางด้านกีฬาโรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่มีรถโรงเรียน มีอยู่หลายโรงเรียนที่ยังขาดอุปกรณ์เหล่านี้เครื่องเคาะสัญญาณเวลา เครื่องวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้า กระดานกราฟ อุปกรณ์ทางด้านโสตทัศนูปกรณ์ สนามวอลเล่ย์บอล มีอยู่ 5 โรงเรียนที่มีขนาดของบริเวณโรงเรียนเล็กกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และมี 10 โรงเรียนมีขนาดของบริเวณโรงเรียนใหญ่กว่าเกณฑ์มาตรฐาน
Other Abstract: The purpose of this study was to study the educational status of secondary schools in the two provinces of the upper Southern part of Thailand (Surat-Thani and Phuket) in the academic year 1984. A school survey method was employed to collect data concerning secondary school status from a total of 36 schools in the two provinces. The obtained data were analyzed by computing the educational status index from 25 variables concerning schools, teachers and students of each school. (The educational status index values were set from 0 to 200 and the median was 100), Comparing some variables with the standard of the Ministry of Education, comparing some crucial variables among schools and describing teachers’ qualification and their major-minor subjects, elective vocational subject, students’ clubs, school activities and school teaching aids. The data were analyzed separately into two groups of schools : the group of M.1-M.3 schools and the group of M.1-M.6 schools. The major findings were as follow : 1. The group of 21 M.1-M.3 schools showed : 1.1 The educational status index value were ranged from 50.50 to 271.40. Bangsawanvitayakhom School of Surat-Thani had the lowest one. Banagsawanvitayakhom School of Surat-Thani was the only one school which had the educational status index value over 200. There were six schools in Surat-Thani which had the educational status index values between 100-200. There were 13 schools in Surat-Thani and one school in Phuket which had the educational status index values below 100. Most schools which had hight educational index values had small numbers of students while most schools which had low educational index values had large numbers of students. 1.2 Most schools had no specific room such as workshop, cafeteria, qymnasium, counseling room, nursing room and audio visual room. There were seven schools that had not enough teachers. Most schools had teachers in majority with Bachelor’s Degree. Most teaches took major subjects in social sciences and most of their minor subjects were in Bnglish. But most schools were short of vocational teachers, especially in the fild of industrial arts. There were not enough books in libraries of most schools. There were two schools that had not enough class-rooms. Most schools had elective vocational subject about industrial arts, had agricultural arts clubs and had sport activities. Most schools had no school-bus. Several schools had no school teaching aids, such as microscope, graph boad, slideprojector and volley-ball court. However, every school had school aria larger than the standards. 2. The group of 15 M.1-M.6 schools showed : 2.1 The educational status index values were ranged from 69.97 to 224.01. Krathoovitaya School of Phuket had the hightest values and Phumphinphitayakhom School of Surat-Thani had the lowest one. Krathoovitaya School of Phuket was the only one school which had the educational status index value over 200. There were three schools in Surat-Thani and one school in Phuket which had the educational status index values between 100-200. There were 10 schools in Surat-Thani and two schools in Phuket which had the educational status index values below 100. Most schools which had hight educational index values had small numbers of students while most schools which had low educational index values had large numbers of students. 2.2 Most schools had specific rooms but its were smaller than the standards. Most schools had teachers in majority with Bachelar’s Degree. Most teachers took major subjects in social sciences and most of their subjects were in social sciences. But most schools were short of vocational teachers, especially in the fild of dustrial arts. There were not euough books in libraries of most schools. There were seven schools that had not enough class rooms. Most school had not enough lavatories. Most schools had elective vocational subject about agricultural arts, had students’ clubs a bout academic subjects and had sport activities. Most schools had no school-bus. Several schools had no school teaching aids, such as ticker timer, voltmeter, grapboard, audio visual aid and Volley-ball court. There were five schools that had school aria smaller than the standards but others 10 shools had school aria larger than the standard.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46837
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somchai_bo_front.pdf2.91 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_bo_ch1.pdf8.9 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_bo_ch2.pdf5.29 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_bo_ch3.pdf6.14 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_bo_ch4.pdf7.86 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_bo_ch5.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Somchai_bo_back.pdf5.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.