Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47098
Title: | ทัศนะของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาหลักสูตร นักวิชาการทางด้านศิลปศึกษาและผู้ใช้หลักสูตรที่มีต่อวิชาศิลปศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) |
Other Titles: | Viewpoints of curriculum development experts, Art educators, and curriculum users towards Art education subjects in the lower secondary school curriculum (Revision in B.E.2533) |
Authors: | สังคม ทองมี |
Advisors: | สุลักษณ์ ศรีบุรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Sulak.S@chula.ac.th |
Subjects: | หลักสูตร Education -- Curricula |
Issue Date: | 2534 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร และนักวิชาการด้านศิลปศึกษา ที่มีต่อหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น วิชาศิลปศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูศิลปศึกษาในด้านการเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้หลักสูตร หลักการจุดหมาย และโครงสร้างของหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักสูตรและการใช้สูตร และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูศิลปศึกษาที่มีต่อหลักสูตรฉบับดังกล่าว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร และนักวิชาการด้านศิลปศึกษา จำนวน 10 คน และใช้แบบสอบถามผู้บริหาร จำนวน 151 คน และครูศิลปศึกษาในโรงเรียนร่วมพัฒนาการใช้หลักสูตร จำนวน 302 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ทัศนะของผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและนักวิชาการด้านศิลปศึกษาที่มีต่อหลักสูตรฉบับดังกล่าวตรงกันในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. หลักการและจุดมุ่งหมาย : มีความชัดเจนดี มีความเป็นไปได้ทางปฏิบัติ 2.โครงสร้าง : ควรแยกวิชาศิลปศึกษา ดนตรี และนาฏศิลป์ ออกจากรายวิชาเดียว และเพิ่มคาบเวลาเรียนวิชาแกนบังคับ “ศิลปะกับชีวิต” เป็น 2 คาบ/สัปดาห์/ภาค 3.รายวิชา : การฝึกทักษะต่าง ๆ ควรเน้นในวิชาเลือกเสรี โรงเรียนควรเปิดให้พร้อมเพรียง 4. ควรเน้นความรู้พื้นฐาน และความชื่นชม รู้คุณค่าในศิลปวัฒนธรรม 5.การวัดและการประเมินผล : ครูขาดความรู้ความเข้าใจในด้านการวัดและประเมินผล และเนื้อหาวิชามาก อาจไม่สามารถประเมินผลได้บรรลุจุดมุ่งหมาย การศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูศิลปศึกษาได้พบว่า 1. ด้านตัวหลักสูตร:ผู้บริหารและครูศิลปศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.5 2.ด้านสภาพการใช้หลักสูตร : ผู้บริหารและครูศิลปศึกษาเห็นด้วยตรงกัน 3.ด้านปัญหาการใช้หลักสูตร : ผู้บริหารและครูศิลปศึกษาไม่แน่ใจตรงกัน 4.การเตรียมความพร้อมในการใช้หลักสูตร : ผู้บริหารและครูส่วนใหญ่เห็นว่ามีความพร้อมในระดับปานกลาง 5.สาเหตุที่ครูศิลปะไม่ยอมรับหลักสูตร ผู้บริหารเห็นว่า เนื่องมาจากครูไม่เข้าใจทักษะกระบวนการในการนำหลักสูตรไปใช้ ส่วนครูศิลปศึกษาเห็นว่า เนื่องมาจากครูได้รับคำชี้แจงเกี่ยวกับหลักสูตร |
Other Abstract: | The purpose of this study were to study the viewpoints of the curriculum experts and the art educators towards the lower secondary curriculum in art education subject (revision in B.E. 2533) ; to study the opinions of the school administrators and the art teachers concerning on the preparation of curriculum implementation, policy, objective, structure, teaching-learning management, educational media, measurement and evaluation, problem and suggestion ; and to compare the opinions between the school administrators and the art teachers concerning on the curriculum. The population was 10 curriculum development experts and art educators 151 school administrators and 32 art teachers in the pilot schools of curriculum implementation. The research instruments were the interview for the experts and the art educators and the questionnaire for the school administrators and the art teachers. The obtained data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The finding found that the curriculum development experts agreed with the art educators in these following aspects. 1. Policy and objective : They were clear and practical. 2.Structure : On the required course “Art and Life” art, music and drama should be separated from each other. And the time allotment on that course should to 2 periods/week/semester. 3.Subject : For the elective courses, skills should be emphasized. Schools should open those elective courses for serving their needs. 4.Teaching : It should emphasize on the content of basic knowledge and appreciation in art and culture. 5.Measurement and evaluation : Most art teachers lacked understanding in measurement and evaluation and there were a lot of contents in the required course, therefore the evaluation might not reach to the objective. When compare the opinions of the school administrators and the art teachers in the following aspects it found that : 1.Curriculum : there were significant different at the level of .05 between the opinions of those two group 2.Implementation : The school administrators agreed with the art educators. 3.Problem of curriculum implementation : the school administrators and the art teachers undecided. 4.Preparation for curriculum implementation : The school administrators and the art teachers rated at the level of moderate degree. 5.Reasons why the art teachers disagreed with the curriculum : The school administrators decided that most are teachers did not understand the process of curriculum implementation but the art teachers decided that most art teachers did not receive clear explanation about the curriculum implementation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ศิลปศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47098 |
ISBN: | 9745794821 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sangkom_th_back.pdf | 5.47 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.