Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47367
Title: การสร้างเอ็นเอ็มอาร์ดีเทคเตอร์แบบโรบินสัน
Other Titles: Construction of Robinson-type NMR detector
Authors: สุรศักดิ์ เชียงกา
Advisors: วิจิตร เส็งหะพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: วงจรอิเล็กทรอนิกส์
นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์
อุปกรณ์ตรวจจับ
สนามแม่เหล็ก
Electronic circuits
Nuclear magnetic resonance
Detectors
Magnetic fields
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้เป็นเอ็นเอ็มอาร์ดีเทคเตอร์แบบโรบินสัน โดยสร้างและดัดแปลงวงจรให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ในประเทศ พร้อมกับทำการทดสอบ และปรับปรุงเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อใช้ตรวจวัดสัญญาณเอ็นเอ็มอาร์ จากการทดสอบการทำงานที่ความถี่เรโซแนนซ์ 10 MHz สนามแม่เหล็กมีค่าความเข้ม 0.23 เทสลา โดยใช้น้ำมันปริมาตร 1 cm³ เป็นสารตัวอย่าง คอยล์อาร์เอฟที่ใช้ทำจากการพันลวดอาบน้ำยา S.W.G เบอร์ 20 รอบหลอดทดลองที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร จำนวน 13 รอบ โดยมีระยะห่างระหว่างรอบเล็กน้อย พบว่า เครื่องมือที่สร้างขึ้นนี้สามารถแสดงปรากฏการณ์เอ็นเอ็มอาร์ได้เป็นอย่างดี และที่ความเข้มสนามแม่เหล็กเดียวกัน อัตราส่วนสัญญาณต่อคลื่นรบกวน (s/n) ของสนามแม่เหล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขั้ว 10 นิ้ว จะมีค่าประมาณ 32 ดีกว่า s/n จากสนามแม่เหล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขั้ว 4 นิ้ว ซึ่งมีค่าประมาณ 8
Other Abstract: In this research, the Robinson-Type NMR Detector was studied and constructed by using the reasonable electronic devices available in the country. This instrument was tested and developed to the highest efficiency for detecting NMR signal. It was found that at resonant frequency 10 MHz and the magnetic field of 0.23 Tesla and about 1 cm³ oil sample. The rf coil was made by wrapping S.W.G. No.20 around test tube of 1.0 centimeter diameter 13 turns with some space between the turns, this instrument was well capable of demonstrating the principle of NMR. At the same strength of magnetic field, the signal to noise ratio (s/n) of 10 inches pole face was about 32 much better than s/n from the magnetic field of 4 inches pole face which is about 8
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ฟิสิกส์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47367
ISBN: 9745829242
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surasak_ch_front.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_ch_ch1.pdf578.98 kBAdobe PDFView/Open
Surasak_ch_ch2.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_ch_ch3.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_ch_ch4.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open
Surasak_ch_back.pdf686.22 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.