Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47412
Title: กรอบและกลไกของกฏหมายในการคุ้มครองเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในประเทศไทย
Other Titles: Legal framework & mechanism for the protection of computer technology in Thailand
Authors: ศศิวิมล เกษมศรี
Advisors: สุรเกียรติ เสถียรไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การคุ้มครองซอฟต์แวร์
การคุ้มครองซอฟต์แวร์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Software protection
Software protection -- Law and legislation
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหากรอบและกลไกของกฎหมายในการให้ความคุ้มครองเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยเพื่อนำกรอบที่สร้างขึ้นมาวิเคราะห์กับกฎหมายที่ประสงค์จะนำมาใช้ให้ความคุ้มครองเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้เห็นประโยชน์และภาระที่สังคมจะได้รับในการให้ความคุ้มครองในแต่ละรูปแบบ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกระบบกฎหมายที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยผลการวิจัยพบว่ากรอบและกลไกของกฎหมายคุ้มครองเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมจะเกิดขึ้นได้โดยการพิจารณาปฏิสัมพันธ์ของ กฎหมาย เศรษฐกิจ การเมือง การพัฒนา (ซึ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา) ที่เกิดขึ้นในสังคมนั้นๆ เนื่องจาก กฎหมาย เศรษฐกิจการเมือง การพัฒนาเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์โยงใยกัน กล่าวคือความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดประเด็นการพิจารณาให้ความคุ้มครองเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และกฎหมายให้ความคุ้มครองเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้เกิดผลสะท้อนกลับไปยังสิ่งเหล่านี้ ดังนั้น กรอบและกลไกของกฎหมายในการให้ความคุ้มครองเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยจึงจำเป็นต้องสร้างขึ้นจากการวิเคราะห์หาปฏิสัมพันธ์ของสิ่งที่กล่าวมานี้ ซึ่งกรอบและกลไกของกฎหมายในการให้ความคุ้มครองเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นนี้จะช่วยให้เห็นถึงผลที่เกิดขึ้นจากการให้ความคุ้มครองในแต่ละรูปแบบในด้านต่างๆ อย่างชัดเจน เช่น การให้ความคุ้มครองซอฟแวร์ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยปัจจุบัน ทำให้เกิดผลต่อการพัฒนาคือเป็นการให้แรงจูงใจในทางเศรษฐกิจแก่ผู้สร้างซอฟแวร์แต่ก็ให้ผลเป็นการตัดหนทางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยการลอกเลียนออกไป และทำให้เกิดผลกระทบต่อตลาดและการแข่งขันเป็นต้น ซึ่งเราสามารถนำผลของการให้ความคุ้มครองในแต่ละรูปแบบมาเปรียบเทียบกัน เพื่อเลือกระบบกฎหมายที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทสังคมเศรษฐกิจของประเทศไทยมากที่สุด
Other Abstract: Legal protection of computer technology has been a subject of debate in Thailand during the last few years. Proposals and recommendations have been developed to cope with this issue from different perspectives. Yet it has never teated from an inter-disciplinary perspective to illustrate the intermingling nature of disciplines especially when one applies it to foreign legal system and environment. Computer technology is selected as a subject of study for it has a profound effect on many areas such as law, technology, economy and development at different levels. This thesis applies a five-dimensional approach to develop a framework necessary to consider computer technology law and its appropriate mechanism. The thesis tries to establish a frame work to consider legal protection of new technology by examining and ascertaining relationship of law, technology, economics and development. This thesis examines how other societies with different economic, legal and social settings react when confronted with problems of designing a regime of law that strikes a delicate balance between public welfare and private gain. For example, intellectual property protection provides economic incentives to inventors and entrepreneurs, at the same time the protection may become barrier to entry, discourage inventive activities, retard dissemination of knowledge as well as access to new technology. It also examines distortion in legal doctrines brought about by introduction of new technology. In final analysis, when apply the framework to a Thai context, proposals and recommendations have been formed.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47412
ISBN: 9745794554
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasiwimol_ka_front.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwimol_ka_ch1.pdf368.3 kBAdobe PDFView/Open
Sasiwimol_ka_ch2.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwimol_ka_ch3.pdf22.85 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwimol_ka_ch4.pdf7.53 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwimol_ka_ch5.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwimol_ka_ch6.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwimol_ka_ch7.pdf3.11 MBAdobe PDFView/Open
Sasiwimol_ka_back.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.