Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47732
Title: การประยุกต์ใช้เทคนิคของเทอร์สโตนในการพัฒนาแบบวัดความมีน้ำใจนักกีฬาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกาาตอนต้น
Other Titles: The application of Thurstone's technique in developing the sportsmanship scale for lower secondary education students
Authors: สุวพร บูรณพงศ์
Advisors: วรรณา ปูรณโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดความมีน้ำใจนักกีฬาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคของเทอร์สโตน ศึกษาคุณภาพของแบบวัดและหาเกณฑ์ปกติ แบบวัดความมีน้ำใจนักกีฬานี้ใช้ผู้ตัดสิน (Judge) ประกอบด้วยครูพลศึกษาและนักกีฬา จำนวน 190 คน โดยจัดอันดับข้อกระทง 100 ข้อ แบ่งคะแนนออกเป็น 11 ช่วง นำมาคัดเลือกโดยพิจารณาจากค่าประจำข้อ (Scale Value) ค่าเบี่ยงเบนของการตัดสิน (Interquartile Range) เกณฑ์การพิจารณาความคลุมเครือ (Criterion of Ambiguity) และเกณฑ์การพิจารณาความไม่สอดคล้อง (Criterion of Irrelevance) โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าประจำข้อกับค่าดัชนีความคล้ายคลึงกัน (Index of Similarity) แบบวัดที่ได้มีจำนวน 44 ข้อ ใช้เวลา 30 นาที กลุ่มตัวอย่างในการหาเกณฑ์ปกติเปอร์เซ็นต์ไทล์เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 2284 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบวัดที่ได้มีค่าประจำข้อ (Scale Value) กระจายครบทั้ง 11 ช่วง และมีค่าเบี่ยงเบนของการตัดสิน (Q – Value) อยู่ระหว่าง 0.69 ถึง 2.08 2. แบบวัดมีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ คำนวณโดยวิธีสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่างคะแนนที่ได้จากแบบวัดคะแนนที่ได้จากการประเมินด้วยการสังเกตจากครู ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .7211 แบบวัดมีความเที่ยงแบบสอบซ้ำ (Test -Retest) มีค่าเท่ากับ .8651 3. เกณฑ์ปกติของแบบวัดแสดงไว้ในรูปเกณฑ์ปกติเปอร์เซนต์ไทล์ โดยแบ่งคะแนนออกเป็น 3 ระดับ คือ ตั้งแต่เปอร์เซ็นต์ที่ 77 ขึ้นไป เป็นระดับสูง ระหว่างเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 24 ถึง 76 เป็นระดับปานกลาง และตั้งแต่เปอร์เซนต์ไทล์ที่ 23 ลงไปเป็นระดับต่ำ
Other Abstract: The purposes of this study were to develop the Sportsmanship scale for Lower Secondary Education students by the application of Thurstone's Technique, study the quality of the scale and report the Percentile Norms. The Sportsmanship Scale contained the initial of 100 items judge by 190 physical teachers and sportmans which sorted to 11 categories. The final 44 items were selected with consideration of Scale Value, Interquartile range, the Criterion of Ambiguity and the Criterion of Irrelevance. Time to complete the scale was 30 minutes. Samples of Percentile Norms were 2284 lower secondary education students in Bangkok. The results were as follows : 1. The Scale Value of the items were distributed through 11 categories and the Interquartile range of item values were between 0.69 and 2.08. 2. The Scale has the Criterion-Related Validity indicated by the correlation between the scores from the scale and the scores from teachers' evaluation was .7211 and the Test - Retest Reliability coefficient was .8651. 3. Norm of the Scale was shown in the Percentile Norm. The scores of the scale was divided into three levels; over the percentile rank 77th was the high level, 24th to 76th was the medium level and under 23th was the low level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47732
ISBN: 9745797669
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwaporn_Bu_front.pdf990.57 kBAdobe PDFView/Open
Suwaporn_Bu_ch1.pdf813.03 kBAdobe PDFView/Open
Suwaporn_Bu_ch2.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open
Suwaporn_Bu_ch3.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open
Suwaporn_Bu_ch4.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
Suwaporn_Bu_ch5.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Suwaporn_Bu_back.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.