Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47753
Title: ลักษณะการกระจายของฝนเนื่องจากพายุหมุนเขตร้อน ที่ก่อให้เกิดอุทกภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
Other Titles: Rainfall patterns of tropical cyclones causing flood damage in Northeast Thailand
Authors: วิกิจ ไชยวิจารณ์
Advisors: สุทัศน์ วีสกุล
สุจริต คูณธนกุลวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Sucharit.K@Chula.ac.th
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มุ่งรวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะพายุหมุนเขตร้อน และลักษณะการกระจายของฝนที่เกิดจากพายุฯ ตามพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุทกภัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงปี พ.ศ. 2519 – พ.ศ. 2533 รวม 15 ปี รวมทั้งศึกษาลักษณะการเกิดอุทกภัยเนื่องจากพายุฯ แต่ละลูก นอกจากนี้จะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพายุหมุนเขตร้อน ฝน และการเกิดอุทักภัยในภาค เพื่อต้องการเข้าใจปรากฏการณ์อุทกภัยในอดีตที่ผ่านมา ผลการศึกษา พบว่า จากจำนวนพายุหมุนเขตร้อน 138 ลูก ที่เกิดขึ้นและผ่านเข้ามาบริเวณละติจูดที่ 0-25 องศาเหนือ และลองติจูด 90-115 องศาตะวันออก ซึ่งครอบคลุมคาบสมุทรอินโดจีนและแหลมมลายู ในช่วงเวลาดังกล่าวมีเพียง 23 ลูกที่แนวพายุฯ พาดผ่านพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยตรง และพบว่ามีจำนวนพายุที่ก่อให้เกิดอุทกภัยขึ้นในบางพื้นที่ของภารนี้มี 20 ลูก แยกเป็นพายุฯ ที่แนวพาดผ่านพื้นที่ของภาคโดยตรง และเฉียดเข้ามาใกล้จำนวน 12 ลูก และ 8 ลูก ตามลำดับ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1-2 ลูกต่อปี พายุฯ ที่ก่อให้เกิดอุทกภัยนี้มีการก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ และมหาสมุทรแปซิฟิค ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือ ร้อยละ 60 และ 40 ตามลำดับ โดยเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่พายุฯ ก่อตัวขึ้นมากที่สุดถัดไปคือเดือนกันยายนและตุลาคมตามลำดับ และในเดือนกรกฎาคมไม่มีพายุก่อตัวเลย ในการศึกษาสมารถแบ่งแนวการเคลื่อนตัวของพายุฯ ทั้ง 20 ลูกที่ก่อให้เกิดอุทกภัยขึ้นในภาคนี้ออกเป็น 4 แนว ซึ่งก่อให้เกิดการกระจายของฝนตามพื้นที่แตกต่างกันไปทั้งในแง่ปริมาณและลักษณะการกระจายคือแนวพายุกลุ่มที่ 1 มีแนวพาดผ่านบริเวณตอนกลางและค่อนไปทางตอนบนของภาค ซึ่งมักก่อตัวขึ้นในเดือนมิถุนายน แนวพายุกลุ่มที่ 2 มีแนวพาดผ่านและเฉียดเข้ามาใกล้ตอนบนของภาค ซึ่งมักก่อตัวขึ้นในเดือนสิงหาคม แนวพายุกลุ่มที่ 3 มีแนวพาดผ่านบริเวณตอนกลางของภาค ซึ่งมักก่อตัวขึ้นในเดือนกันยายน และแนวพายุกลุ่มที่ 4 มีแนวพาดผ่านและเฉียดเข้ามาใกล้ตอนล่างของภาคมักก่อตัวในเดือนตุลาคม พายุฯ ทำให้เกิดฝนรายวันกระจายในบริเวณต่างๆของภาคในช่วงเวลา 3-5 วัน โดยเริ่มมีฝนตกล่วงหน้าก่อนที่พายุจะเข้าสู่พื้นที่ศึกษาประมาณ 1-2 วัน การกระจายของฝนรวมที่เกิดจากพายุฯ มีความสอดคล้องกับแนวของพายุฯ คือมักมีฝนตกหนักบริเวณใต้แนวของพายุฯ ที่เคลื่อนไป พายุที่ทำให้เกิดแนวฝนรวมเฉลี่ยทั้งภาคอยู่ระหว่าง 35-140 มม. และทำให้เกิดฝนรวมตั้งแต่ 90 มม.ขึ้นไปตกกระจายในพื้นที่ระหว่าง 35-90% ของพื้นที่ทั้งภาค โดยพายุกลุ่มที่ 3 มีแนวโน้มจะให้ฝนได้มากกว่า เนื่องจากแนวพายุฯ พาดผ่านกลางพื้นที่ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพายุ ฝนและการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ศึกษา พบว่าพายุฯ ที่มีความรุนแรงก่อนเข้าสู่ฝั่งมากกว่ามีแนวโน้มทำให้ฝนรวมเฉลี่ยทั้งภาค และพื้นที่ฝนรวมตกเกิน 90 มม. ได้มากกว่าพายุฯ ที่มีความรุนแรงน้อยกว่า
Other Abstract: This study aims at the study and analysis of the past data on tropical cyclones and rainfall which were related to flood occurrence during the year 1976-1990. The data collected are tropical cyclones and daily rainfall. The study covers the flood characteristics and the relationship of tropical cyclones, rainfall distribution and flood occurrence in order to understand the past flood phenomena. The results showed that out of 138 tropical cyclones passing through Indo-china and Malaya peninsula (between latitude 0-25°N and longtitude 90-115°E), only 23 cyclones passed through Northeast area. The total number of cyclones causing flood during the study period were 20, i.e., 1-2 cyclones in average in each year. The cyclones causing flood were originated from South China Sea and Pacific Ocean in the percentage of 60 and 40 respectively. Most of cyclones originated in August and next were in September and October. There was no cyclone originated in July. In the study, cyclones routes can be classified into 4 groups which induced different rainfall patterns i.e. Route 1, 2, 3, 4 covered the central to upper part, upper part, central part and lower part of the study area and usually occurred in June, August, September and October respectively. The cyclones induced rain to fall in most of the area for 3-5 days and usually caused rain to fall before the cyclone reaching the region for 1-2 days. It can be concluded that the total rainfall distribution is corresponded with cyclone route and the rain intensively fall in the south region of cyclone center. The average total rainfall caused by each route are 35-140 mm. while the area of total rainfall above than 90 mm. are 35-90% of the total study area respectively. The cyclone route 3 induced comparatively more rain because its route passed through the center part of the study area. The stronger cyclones reaching Vietnam coastline will give more the amount and wider area the rain fall in the study area.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมแหล่งน้ำ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/47753
ISBN: 9745817732
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wikit_ch_front.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open
Wikit_ch_ch1.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Wikit_ch_ch2.pdf3.79 MBAdobe PDFView/Open
Wikit_ch_ch3.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open
Wikit_ch_ch4.pdf4.04 MBAdobe PDFView/Open
Wikit_ch_ch5.pdf20.36 MBAdobe PDFView/Open
Wikit_ch_ch6.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open
Wikit_ch_back.pdf19.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.