Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48020
Title: ประสิทธิภาพของวิธีการระงับข้อพิพาทที่มีลักษณะบังคับ ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยทะเล ค.ศ. 1982
Other Titles: Effectiveness of Compulsory Dispute Settlement Procedure in the Untions Convention on the Law of tha Sea 1982
Authors: สิทธานต์ สิทธิสุข
Advisors: ชุมพร ปัจจุสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chumphorn.P@chula.ac.th
Subjects: การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ
อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยทะเล ค.ศ. 1982
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบวิธีการระงับข้อพิพาทที่มีลักษณะบังคับตามที่ปรากฏในภาค 15 ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ว่าจะสามารถนำวิธีการดังกล่าวไปใช้ให้เกิดผลในการระงับข้อพิพาทในลักษณะต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น ได้เพียงใด จากการศึกษาพบว่าความยืดหยุ่นของวิธีการระงับข้อพิพาททั้งในแง่ของการกำหนดวิธีการเพื่อการระงับข้อพิพาท ซึ่งก็คือการเปิดกว้างสำหรับการเลือกวิธีการเพื่อการระงับข้อพิพาทที่มีลักษณะบังคับ การกำหนดให้มีวิธีการประนอมที่มีลักษณะบังคับ และการให้ใช้ศาลอนุญาโตตุลาการเป็น forum สำหรับการพิจารณาในกรณีที่มีการเลือก forum แตกต่างกันหรือคำประกาศที่ใช้บังคับอยู่ไม่ได้ครอบคลุมถึง และความยืดหยุ่นของวิธีการระงับข้อพิพาทในแง่ของขั้นตอนก่อนนำเรื่องเข้าสู่การระงับข้อพิพาทในลักษณะบังคับ ซึ่งก็คือการกำหนดให้มีข้อจำกัดและข้อยกเว้นให้เลือก การกำหนดให้ต้องมีพันธกรณีในการแลกเปลี่ยนทัศนะการพิจารณาว่ามีการใช้กระบวนการทางกฎหมายในทางที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีมูล เป็นความยืดหยุ่นที่ทำให้ระบบมีประสิทธิภาพ เมื่อศึกษาถึงข้อจำกัดและข้อยกเว้นให้เลือกก็พบว่า ข้อยกเว้นที่อยู่ภายในข้อจำกัดและข้อยกเว้นให้เลือก จะบั่นทอนประสิทธิภาพของวิธีการเนื่องจากจะมีผลทำให้ข้อพิพาทต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้มาก ได้รับการยกเว้นจากวิธีดำเนินการภาคบังคับซึ่งมีการวินิจฉัยที่มีผลบังคับ ดังนั้น จึงนำมาสู่ข้อสรุปที่ว่า ข้อจำกัดและข้อยกเว้นให้เลือกจะมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการบังคับใช้วิธีการระงับข้อพิพาทที่มีลักษณะบังคับในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 มีผลด้อยลง
Other Abstract: The objective of this research is to study the effectiveness of compulsory dispute settlement procedure as stipulated in Part XV of the 1982 United Nations Convention on the Law of the Sea , in order to evaluate whether the procedure can be applied to settle any dispute that may arise. The effectiveness of the system is a result of the flexibility and acceptability of the procedure itself. There exist comprehensive choices of procedure, encompassing a compulsory conciliation procedure and resort to an Arbitral Tribunal where parties to a dispute accept different for a, as well as limitations and exceptions , obligations to exchange views and preliminary proceedings. However , it is also found that exceptions in limitations and optional exceptions make the procedure less effective because the types of disputes most likely to arise come under these exceptions. Consequently, when the provisions of the 1982 United Nations Convention on the Law of the Sea are closely analyzed , one may reach a conclusion that the limitations and optional exceptions in the Convention will make the compulsory dispute settlement procedure in this Convention less effective.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48020
ISBN: 9745830194
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sittharn_si_front.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Sittharn_si_ch0.pdf889.81 kBAdobe PDFView/Open
Sittharn_si_ch1.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open
Sittharn_si_ch2.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open
Sittharn_si_ch3.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open
Sittharn_si_ch4.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open
Sittharn_si_ch5.pdf2.59 MBAdobe PDFView/Open
Sittharn_si_back.pdf8.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.