Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48061
Title: การสร้างเกณฑ์ประเมินงานวัดผลการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา
Other Titles: A construction of evaluative criterta for educational kevaluation in secondary schools
Authors: สุวัจนา เล็กสมบูรณ์
Advisors: พวงแก้ว ปุณยกนก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Puangkaew.P@chula.ac.th
Subjects: การประเมินผลงาน
ครูวัดผล
การวัดผลทางการศึกษา
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเกณฑ์ประเมินงานวัดผลการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา ที่ครอบคลุมงาน 4 ด้าน ได้แก่ งานทะเบียนและงานการวัดผล งานการนิเทศการวัดและประเมินผลการศึกษา งานการส่งเสริมการสร้างและพัฒนาคุณภาพข้อสอบและคลังข้อสอบ งานการวิเคราะห์ การวิจัยและงานสถิติเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ตอนแรกเป็นการสร้างเกณฑ์ประเมินงานวัดผลการศึกษา แล้วตรวจสอบคุณภาพข้อกระทงที่จะใช้เป็นเกณฑ์ ตอนที่สอง ศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มผู้ใช้ ได้แก่ หัวหน้างานทะเบียนวัดผลของโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ในแง่ความเป็นไปได้ในการใช้เกณฑ์ ตอนที่สาม เป็นการทดลองใช้เกณฑ์เพื่อตรวจสอบความตรงตามสภาพการปฏิบัติงานในโรงเรียน ผลการวิจัยได้ใช้เกณฑ์ประเมินวัดผลการศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีความสำคัญตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติตามความคิดเห็นของโรงเรียน เมื่อนำเกณฑ์มาทดลองใช้ ปรากฏว่า เกณฑ์ที่สร้างสามารถวัดได้ตรงตามสภาพการปฏิบัติในโรงเรียน ข้อกระทงที่ใช้เป็นเกณฑ์ประเมินที่มีความสำคัญมากที่สุด และมีความเป็นไปได้มากที่สุด ได้แก่เกณฑ์เกี่ยวกับ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบุคลากร การมีเอกสารการวัดและประเมินผลการเรียน มีวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์อย่างเพียงพอ การสนับสนุนของผู้บริหาร การจัดบุคลากรในการปฏิบัติงาน การวางแผนการปฏิบัติงาน การดำเนินการเกี่ยวกับหลักฐาน เอกสารการวัดและประเมินผล การปฏิบัติงานของครูอาจารย์ และมีผลการปฏิบัติงานดีทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
Other Abstract: The purpose of this research was to construct the evaluative criteria to be used with the secondary schools in assessing their performance in educational evaluation which covered 4 areas of evaluation tasks ; (1) Registration and educational evaluation. (2) Supervision in educational evaluation, (3) Item constructing and developing, (4) Research and statistic about educational evaluation. There are three steps of research procedure ; the first step was constructing the evaluative criteria and then each item was checked against the quality to be used as a criterion. The second step was the study of the user’s opinion about the feasibility in using the evaluative criteria. The heads of school evaluators from 3 school sizes ; big, medium and small school were subjects of this study. The last step was trying out the instrument to study its concurrent validity. The result of this research was an evaluative criterion which can be used with the secondary school. It was an important instrument according to the experts’ opinion and it was feasible to be used according to the users. When this instrument was tried out it showed the concurrent validity. The items which were the most important and most feasible were : the criteria on the desired characteristics of the personnel : having testing and assessment documents ; having adequate materials and equipments; having support from the administra-tor ; placing personnel in their work ; planning ; the process of testing and assessment documents ; the teachers’ performance ; and the quantity and quality of the staff’s performance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48061
ISBN: 9745773735
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwatjana_le_front.pdf15.28 MBAdobe PDFView/Open
Suwatjana_le_ch1.pdf11.92 MBAdobe PDFView/Open
Suwatjana_le_ch2.pdf32.1 MBAdobe PDFView/Open
Suwatjana_le_ch3.pdf14.75 MBAdobe PDFView/Open
Suwatjana_le_ch4.pdf50.09 MBAdobe PDFView/Open
Suwatjana_le_ch5.pdf12.81 MBAdobe PDFView/Open
Suwatjana_le_back.pdf84.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.