Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48101
Title: การณ์ลักษณะในภาษาเมี่ยน
Other Titles: Aspect in mien
Authors: วิชัย กฤตประโยชน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ภาษาเย้า
ไวยากรณ์ -- การณ์ลักษณะ
ไวยากรณ์ -- กาล
นิทาน
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะจำแนกประเภทของการณ์ลักษณะ และจัดประเภททางไวยากรณ์ของรูปแสดงการณ์ลักษณะในภาษาเมี่ยนหรือภาษาเย้า โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ปรากฏในนิทานเมี่ยน 5 เรื่อง ซึ่งเก็บข้อมูลที่บ้านห้วยแม่ซ้าย จังหวัดเชียงราย ส่วนประเภททางไวยากรณ์ของรูปแสดงการณ์ลักษณะ ผู้วิจัยได้ศึกษาเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคำกริยาเท่านั้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ภาษาเมี่ยนมีการณ์ลักษณะใหญ่ๆ 2 ประเภทคือ การณ์ลักษณะสมบูรณ์ และการณ์ลักษณะไม่สมบูรณ์ การณ์ลักษณะสมบูรณ์แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ การณ์ลักษณะฉับพลัน การณ์ลักษณะลุล่วง และการณ์ลักษณะประสบการณ์ ส่วนการณ์ลักษณะไม่สมบูรณ์แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ การณ์ลักษณะเกิดซ้ำ และการณ์ลักษณะดำเนินต่อเนื่อง ซึ่งประกอบด้วย 4 ชนิดย่อยคือ การณ์ลักษณะกำลังดำเนินอยู่ การณ์ลักษณะทรงสภาพ การณ์ลักษณะดำเนินอยู่ และการณ์ลักษณะคงเดิม ส่วนประเภททางไวยากรณ์ของรูปแสดงการณ์ลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคำกริยานั้น มี 2 ประเภทคือ คำช่วยกริยา และ กลวิธีทางไวยากรณ์ คำช่วยกริยาที่สามารถแสดงการณ์ลักษณะได้แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1) คำช่วยหน้ากริยา มี 3 คำ ได้แก่ /?iƏt4/ แสดงการณ์ลักษณะฉับพลัน /tsh ᴐ:2/ และ /kԑ:n3/ แสดงการณ์ลักษณะคงเดิม 2) คำช่วยหลังคำกริยา มี 4 คำ ได้แก่ /liw6/ แสดงการณ์ลักษณะลุล่วง /tØiƏ5/ แสดงการณ์ลักษณะประสบการณ์ /tØiƏn4/ แสดงการณ์ลักษณะกำลังดำเนินอยู่ และการณ์ลักษณะทรงสภาพ และ /kᴐ:l/ แสดงการณ์ลักษณะดำเนินอยู่ ส่วนกลวิธีทางไวยากรณ์ที่สามารถแสดงการณ์ลักษณะได้มี 2 วิธีคือ 1) การซ้ำกริยา เพื่อแสดงการณ์ลักษณะเกิดซ้ำหรือการณ์ลักษณะดำเนินอยู่ 2) การเรียงกริยา โดยมีคำว่า /miŋ3/ "ไป" หรือ /ta:j3/ "มา" ปรากฏเป็นคำกริยารองในโครงสร้างวลีหลายกริยาเพื่อแสดงการณ์ลักษณะลุล่วง
Other Abstract: This study aims at investigating the types of aspect and classifying the grammatical categories of aspect markers in Mien or Yao. The aspect markers investigated are those related to verbs only. This analysis is based on the data found in five Mien folk-tales collected at Ban Huaj Mae Sai, Chiengrai Province. The results of the analysis are as follows: In Mien, there are two major types of aspect : perfective and imperfective. The perfective aspect can be subclassified into three types :instantative, completive and experiential. The imperfective : aspect can be subclassified into two types : repetitive and durative. The durative aspect can turn subclassified into four types : progressive, stative, continuative, and persistive. The grammatical categories of the aspect markers that are related to verbs are two types : auxiliaries and grammatical devices. The auxiliaries expressing aspects are1) preverbal auxiliaries, namely iƏt4/ indicating the instantative aspect; /tshᴐ:2/ /kԑ:n3 แสดงการณ์ลักษณะฉับพลัน /tsh ᴐ:2/ และ /kԑ:n3/ / indicating the persistive aspect 2) postverbal auxiliaries, namely, /liw6/ indicating the completive aspect /tçtiƏ5/ indicating the experiential aspect /tçiƏn4/ indicating both the progressive and stative aspects; and /kᴐ:l/indicating the continuative aspect. The grammatical devices expressing aspects are of two types : verb reduplication which indicates both the repetitive and continuative aspects; and verb serialization by which/miŋ3/"to go" or /ta:j3/ "to come" occur as the subsidiary verbs in serial verb constructions in order to indicate the completive aspect.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48101
ISBN: 9745771422
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichai_kri_front.pdf819.87 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_kri_ch1.pdf929.48 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_kri_ch2.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Wichai_kri_ch3.pdf550.95 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_kri_ch4.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Wichai_kri_ch5.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Wichai_kri_ch6.pdf464.27 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_kri_back.pdf6.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.