Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48236
Title: การวิเคราะห์บทบาทหนังสือพิมพ์ในการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย
Other Titles: An analysis of the newspapers' role on promoting Thai-culture
Authors: วัฒณี ภูวทิศ
Advisors: นันทริกา คุ้มไพโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: หนังสือพิมพ์ -- ไทย
การวิเคราะห์เนื้อหา
วัฒนธรรมไทย
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์การนำเสนอเนื้อหาทางวัฒนธรรมไทยในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย จากการเปรียบเทียบ ความถี่ รูปแบบ ขอบข่าย เนื้อหา บทบาทในการนำเสนอเนื้อหาและประเภทของวัฒนธรรมที่ใช้ในการนำเสนอเนื้อหาทางวัฒนธรรมไทยของหนังสือพิมพ์ ในช่วงก่อนและหลังประกาศปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย 6 ชื่อฉบับได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ ข่าวสด มติชน สยามรัฐและผู้จัดการรายวัน รวมระยะเวลาในการทำวิจัยทั้งสิ้น 16 เดือน โดยแบ่งเวลาเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงก่อนประกาศปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย (1 ม.ค. – 30 ส.ค. 2536) และช่วงหลังประกาศปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย ( 1 ม.ค. – 30 ส.ค. 2537) จำนวนกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 372 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ส่วนการทดสอบสมมุติฐานใช้ t-test และไคว์สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การเปรียบเทียบความแตกต่างในเรื่องของความถี่ในการนำเสนอทางวัฒนธรรมไทยของหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทยทั้ง 6 ชื่อฉบับ ในช่วงก่อนและหลังประกาศปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยหนังสือพิมพ์สยามรัฐ จะนำเสนอเนื้อหาทางวัฒนธรรมไทยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ เดลินิวส์ มติชน ผู้จัดการรายวัน ไทยรัฐ และข่าวสด 2. ด้านรูปแบบการนำเสนอ ซึ่งจำแนกเป็น ข่าวบทความ สารคดี คอลัมน์ประจำและบทบรรณาธิการ พบว่า ในช่วงก่อนและหลังประกาศปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย รูปแบบในการนำเสนอเนื้อหาทางวัฒนธรรมไทย ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. ขอบข่ายเนื้อหาทางวัฒนธรรมไทย ที่นำเสนอในหนังสือพิมพ์ทั้ง 6 ชื่อฉบับ ทั้งช่วงก่อนและหลังประกาศปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยทั้ง 6 ชื่อฉบับจะนำเสนอเนื้อหาในขอบข่ายเกี่ยวกับศิลปกรรมไทยและภาษาไทยมากที่สุด 4. บทบาทในการนำเสนอเนื้อหาทางวัฒนธรรมไทยของหนังสือพิมพ์ทั้ง 6 ชื่อฉบับ ทั้งช่วงก่อนและหลังประกาศปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 โดยในช่วงก่อนรณรงค์จะเป็นบทบาทในการเป็นผู้แจ้งข่าวสารมากที่สุด และหลังรณรงค์จะมีบทบาทเป็นผู้ให้การสนับสนุนและร่วมมือ 5. สำหรับประเภทของวัฒนธรรมที่ใช้ในการนำเสนอเนื้อหาทางวัฒนธรรมไทย ทั้งช่วงก่อนและหลังประกาศปีรณรงค์วัฒนธรรมไทย พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสัดส่วนของการนำเสนอประเภทวัฒนธรรมในระดับนามธรรมของช่วงหลังประกาศปีรณรงค์จะมากกว่า
Other Abstract: The objective of this research was to analyze the role of newspapers in presenting information on Thai-culture. It examined the frequency, the formal, the content, theme, and the dimension of the presentation before and after the declaration of the campaign year of Thai-culture. The content analysis was undertaken from six Thai-daily newspapers, i.e. THAIRAT, DAILYNEWS, KAOSOD, MATICHON, SIAMRAT, POOJADKRAN. The newspapers research took 16 months. The first eight months was the period before the declaration of the Thai-culture campaign(1January-30 August 1993) and second was the period after declaration(1 January-30 August 1994). During the two period 372 newspapers were studied. The data were analzed and presented as frequencies, percentages, and t-test and chisqure values. The findings are as follows: 1. The frequency analysis of Thai-culture information in the newspaper before and after campaign was significantly different at 0.05. SIAMRAT presented Thai-culture information most often and followed by DAILYNEWS, MATICHON, POOJADKRAN, THAIRAT, KAOSOD. 2. It was found that the form of presentation, which were classified as news, article, feature, regular column, editorial before and after the campaign, were not significantly different at 0.05 3. The contents on Thai-culture before and after campaign were not significantly different at 0.05. Subject matters that appear most often another in Art and Thai-language. 4. The role of the newspaper before and after campaign differ significantly. Before the campaign their major role was to inform, and after was to encournrage and elict cooperation. 5. The dimensions of Thai-culture information before and after campaign are significantly at 0.05. The proportion of abstract content was larger in the period after the campaign.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การหนังสือพิมพ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48236
ISBN: 9746313541
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wattanee_ph_front.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Wattanee_ph_ch1.pdf2.2 MBAdobe PDFView/Open
Wattanee_ph_ch2.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open
Wattanee_ph_ch3.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Wattanee_ph_ch4.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open
Wattanee_ph_ch5.pdf2.63 MBAdobe PDFView/Open
Wattanee_ph_back.pdf6.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.