Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48344
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต-
dc.contributor.authorอุไร สุมาริธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-08T14:46:35Z-
dc.date.available2016-06-08T14:46:35Z-
dc.date.issued2535-
dc.identifier.isbn9745812331-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48344-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2535en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยร่วมทางสังคมและจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของนักเรียนและปัจจัยร่วมที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการจำแนกกลุ่มนักเรียนที่สูบบุหรี่และนักเรียนที่ไม่สูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานครจำนวน 448 คน เป็นนักเรียนที่สูบบุหรี่ 224 คน และนักเรียนที่ไม่สูบบุหรี่ 224 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปร 12 ตัวแปร จาก 20 ตัวแปรมีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของนักเรียน โดยร่วมกันจำแนกกลุ่มนักเรียนที่สูบบุหรี่และนักเรียนที่ไม่สูบบุหรี่ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีตัวแปรที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการจำแนกกลุ่มนักเรียนที่สูบบุหรี่และนักเรียนที่ไม่สูบบุหรี่ 3 ตัวแปร ซึ่งสามารถแยกเป็นตัวแปรที่มาจากปัจจัยเกี่ยวกับตัวนักเรียนเองได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ และตัวแปรที่มาจากปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคม ได้แก่ การมีเพื่อนสูบบุหรี่en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study social and psychological factors that related to male students’ smoking and to study the important factors that discriminated between smoking students and non-smoking students. The subjects were 448 mathayom suksa three male students from secondary school in Bangkok Metropolis divided into 224 smoking students and 224 non-smoking students. The data were analyzed by stepwise method of discriminant analysis. The results were as follows: Twelve variables from total twenty variables were significantly related to students’ smoking (P<.01). Within those twelve variables, there were three important discriminating variables which can be divided into two factors. The first factor was the students’ personal factor which consisted of academic achievement and attitude toward smoking. The second factor was the social environmental factor, which was having friends who smoke.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสูบบุหรี่en_US
dc.subjectบุหรี่en_US
dc.subjectเยาวชนen_US
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาen_US
dc.subjectสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมen_US
dc.subjectความนับถือตนเองในวัยรุ่นen_US
dc.subjectปัจจัยทางสังคมen_US
dc.subjectปัจจัยทางจิตวิทยาen_US
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสังคมและจิตวิทยากับการสูบบุหรี่ ของนักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe relationships between social and psychological factors and smoking of mathayom suksa three male students in Bangkok Metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Urai_su_front.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Urai_su_ch1.pdf3.53 MBAdobe PDFView/Open
Urai_su_ch2.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Urai_su_ch3.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
Urai_su_ch4.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Urai_su_ch5.pdf709.74 kBAdobe PDFView/Open
Urai_su_back.pdf7.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.