Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48487
Title: บทบาทในการอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์พื้นบ้านของอาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์
Other Titles: Roles in preserving and developing folk dance of the department of Thai dance faculties, dramatic Arts colleges
Authors: สมภพ เพ็ญจันทร์
Advisors: ธิดารัตน์ บุญนุช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thidarat.B@chula.ac.th
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้ศึกษาบทบาท ปัญหาอุปสรรค สาเหตุของปัญหา และเสนอแนะแนวทางในการอนุรักษ์และพัฒนานาฏศิลป์พื้นบ้าน ของอาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป ประชากรได้แก่ อาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปะ 9 แห่ง จำนวน 132 คน เก็บข้อมูลได้ร้อยละ 90.2 และวิเคราะห์โดยใช้ความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. อาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปะ มีบทบาทในการอนุรักษ์นาฏศิลป์พื้นบ้านร้อยละ 97.5 อาจารย์มีบทบาทในการอนุรักษ์นาฏศิลป์พื้นบ้านโดยกิจกรรมตามลำดับดังนี้ เผยแพร่ การแสดง (ร้อยละ 97.4) การสอน (ร้อยละ 81.0) การศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (ร้อยละ 77.6) การศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (ร้อยละ 48.3) การเผยแพร่ผ่านผ่านการจัดกิจกรรมวิชาการ (ร้อยละ 28.4) การเผยแพร่ผ่านงานเขียนและผ่านสื่ออื่นๆ (ร้อยละ 4.3) และไม่มีอาจารย์ที่มีบทบาทด้านการทำงานวิจัย เพราะไม่มีความรู้ด้านนี้ ปัญหาที่พบมากที่สุดด้านการเผยแพร่การแสดง การเผยแพร่ผ่านการจัดกิจกรรมทางวิชาการ การเผยแพร่ผ่านงานเขียนและสื่ออื่นๆ และการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิคือ ปัญหางงบประมาณ ปัญหาที่พบมากที่สุดในการสอนคือ ปัญหาจากตัวผู้เรียน ปัญหาที่พบมากที่สุดในการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิคือ ขาดแหล่งข้อมูลประเภทเอกสาร 2. อาจารย์ที่มีบทบาทในการพัฒนานาฏศิลป์พื้นบ้านร้อยละ 20.2 ปัญหาที่พบมากที่สุดคืองบประมาณและเวลา 3. ในการอนุรักษ์นาฏศิลป์พื้นบ้าน วิทยาลัยและอาจารย์ควรค้นคว้า รวบรวม และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบก่อนที่จะสูญหายไป 4. ในการพัฒนานาฏศิลป์พื้นบ้าน วิทยาลัยและอาจารย์ควรศึกษาอย่างลึกซึ้งก่อนที่จะทำการพัฒนาในสิ่งที่เป็นไปได้มากที่สุด โดยให้กระทบกระเทือนต่อรูปแบบดั้งเดิมของนาฏศิลป์พื้นบ้านน้อยที่สุด
Other Abstract: This research studied roles, problems, obstacles, causes of the problems and recommended approaches in preserving folkdances by the Dance Faculties, Dramatic Arts Colleges. Population used were 132 faculty members from the dance faculties in 9 Dramatic Arts Colleges. Ninety-two percent of the population provided the data. Analyzed in frequencies and percentages. Results: 1. Nine-five percent of the faculty members indicated some roles in preserving folkdances. Preserving activities ascertained were performances. (97.4%); transmission, (81.0%); study from secondary sources, (77.5%); study from primary sources, (48.3%) and dissemination through academic activities, (28.4%) and dissemination through written works and other media, (4.3%). None indicated roles in research due to the lack of appropriate knowledge. Highest level of problems found in dissemination through performance, academic activities, written works and other media and searching from primary sources were budgeting; highest level of problems found in transmission of folkdances and secarching from secondary sources were learners’ problems and insufficient documents. 2. Twenty-point-two percent of the faculty members indicated some roles in developing folkdances. Most frequently found problems were budget and time. 3. In preservation of folkdances, faculties and colleges should search collect and organize folkdances systematically before extinction. 4. In development of folkdances, faculties and colleges should scrutinize folkdances before further development in possible elements which having the least impact on their originalities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48487
ISBN: 9745795836
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somphop_ph_front.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open
Somphop_ph_ch1.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open
Somphop_ph_ch2.pdf9.03 MBAdobe PDFView/Open
Somphop_ph_ch3.pdf986.87 kBAdobe PDFView/Open
Somphop_ph_ch4.pdf24.12 MBAdobe PDFView/Open
Somphop_ph_ch5.pdf6.04 MBAdobe PDFView/Open
Somphop_ph_back.pdf13.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.