Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48556
Title: เสียงปฏิภาค ชุด ช-จ-ซ ในบริเวณรอยต่อของภาษาไทยถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์
Other Titles: The ch-c-s correspondence set in the transition area of Thai dialects in Uttaradit
Authors: วัลจิลีน ชูติวัตร
Email: "ไม่มีข้อมูล"
Advisors: ชลิดา โรจนวัฒนวุฒิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการใช้เสียงปฏิภาคชุด ช – จ – ซ ในบริเวณรอยต่อของภาษาไทยถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่ออธิบายลักษณะภาษาในบริเวณรอยต่อของภาษาทั้งในระดับบุคคลและในระดับจุดเก็บข้อมูล และเพื่อนำผลที่ได้มากำหนดเขตภาษา รวมทั้งศึกษาการปะปนของภาษาในบริเวณรอยต่อของภาษาด้วย การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยการส่งแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วยคำที่ใช้ทดสอบเสียงปฏิภาค 10 คำ แบบสอบถามถูกส่งไปยังอาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวนทั้งสิ้น 124 โรงเรียน อาจารย์ใหญ่แต่ละโรงเรียน จะเป็นผู้หาผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นชาวบ้านในหมู่บ้าน จำนวน 5 คน แบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาคิดเป็นร้อยละ 96.77 ของแบบสอบถามที่ถูกส่งไปทั้งหมด ผลการวิจัยแสดงว่า ในบริเวณรอยต่อของภาษาไทยถิ่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ มีภาษาที่ใช้ในระดับบุคคลอยู่ 22 ลักษณะ และภาษาที่ใช้ในระดับจุดเก็บข้อมูล 45 ลักษณะ ภาษาในระดับบุคคล แบ่งออกได้เป็นภาษาเหมือน 4 ลักษณะ และภาษาไม่เหมือน 18 ลักษณะ ภาษาในระดับจุดเก็บข้อมูลแบ่งออกได้เป็นภาษาเหมือน 10 ลักษณะ และภาษาไม่เหมือน 35 ลักษณะ ภาษาที่ใช้มากที่สุดทั้งในระดับบุคคลและในระดับจุดเก็บข้อมูลในบริเวณรอยต่อของภาษาแห่งนี้ คือ ภาษาไทยถิ่นอีสาน เขตภาษาที่พบในบริเวณรอยต่อของภาษาแห่งนี้ มี 7 เขต โดยแบ่งเป็นเขตที่ไม่มีการปะปนของภาษา 3 เขต ได้แก่ เขตภาษาไทยถิ่นกลาง เขตภาษาไทยถิ่นเหนือ และเขตภาษาไทยถิ่นอีสาน และเขตที่มีการปะปนของภาษา 4 เขต ได้แก่ เขตภาษาที่มีการปะปนระหว่างภาษาไทยถิ่นกลาง และภาษาไทยถิ่นเหนือ เขตภาษาที่มีการปะปนระหว่างภาษาไทยถิ่นกลาง และภาษาไทยถิ่นอีสาน เขตภาษาที่มีการปะปนระหว่างภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยถิ่นอีสาน และเขตภาษาที่มีการปะปนระหว่างภาษาไทยถิ่นกลาง ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยถิ่นอีสาน ส่วนการปะปนของภาษาในบริเวณรอยต่อของภาษาแห่งนี้ พบว่า มีการปะปนระหว่างภาษาไทย ถิ่นกลาง และภาษาไทยถิ่นเหนือ 2 ลักษณะ การปะปนระหว่างภาษาไทยถิ่นกลาง และภาษาไทยถิ่นอีสาน 4 ลักษณะ การปะปนระหว่างภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยถิ่นอีสาน 4 ลักษณะ และการปะปนระหว่างภาษาไทยถิ่นกลาง ภาษาไทยถิ่นเหนือ และภาษาไทยถิ่นอีสาน 2 ลักษณะ
Other Abstract: This thesis is a study of the ch-c-s correspondence set in the transition area of Thai dialects in Uttaradit Province, with an aim to explain the linguistic types at both speaker and location levels. The results have been used in defining dialect area and identifying dialect mixtures in the area. The data was collected by means of questionnaires containing 10 sound correspondence-testing works which were sent to the principals of 124 schools under the province's Elementary Education Office. The principals were asked to find five people in their respective villages as questionnaire respondents. The returned questionnaires accounted for 96.77 percent of the total number sent. The study results show that Uttaradit's transition area has a total of 22 linguistic types at the speaker-level and 45 at the location-level. At the speaker-level, 4 types are classified as identical languages, and 18 are non-identical languages. At the location-level, 10 types are classified as identical languages and 35 are non-identical languages. The most widely used dialect in the area is Northeastern Thai dialect. Seven dialect areas were found in the area of study. There are three where a dialect is spoken : the Central Thai, the Northern Thai and the Northeastern Thai areas. The other four areas use different mixtures of Thai dialects : Central-Northern, Central-Northeastern, Northern-Northeastern, and Central-Northern-Northeastern. As for dialect mixtures found in the transition area, there are two types of Central-Northern mixture; four types of Central-Northeastern mixture; four types of Northern-Northeastern mixture; and two types of Central-Northern-Northeastern mixture.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48556
ISBN: 9745787329
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanjilyn_ch_front.pdf856.67 kBAdobe PDFView/Open
Wanjilyn_ch_ch1.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
Wanjilyn_ch_ch2.pdf1.42 MBAdobe PDFView/Open
Wanjilyn_ch_ch3.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Wanjilyn_ch_ch4.pdf851.33 kBAdobe PDFView/Open
Wanjilyn_ch_ch5.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
Wanjilyn_ch_ch6.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Wanjilyn_ch_ch7.pdf831.41 kBAdobe PDFView/Open
Wanjilyn_ch_back.pdf3.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.