Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48598
Title: การศึกษาความหมายแฝงของคำว่า "ผู้หญิง" จากความเปรียบในบทเพลงไทยสากล
Other Titles: The connotative meaning of the word "Phuuyin" from metaphor in modern Thai songs
Authors: สุภา อังกุระวรานนท์
Advisors: ปราณี กุลละวณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pranee.K@Chula.ac.th
Subjects: สตรี
เพลงไทยสากล
เพลงลูกทุ่ง
ภาษาไทย -- อรรถศาสตร์
languages
art
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ การศึกษาความหมายของความเปรียบเกี่ยวกับผู้หญิงจากบทเพลงไทยสากล เพื่อหาความหมายแฝงของคำ "ผู้หญิง" ในการศึกษานี้ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลความเปรียบจากหนังสือเพลงที่พิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2512 – 2525 จำนวน ประมาณ 3,500 เพลง และพบว่ามีแบบเปรียบ 93 แบบเปรียบ การวิเคราะห์ความหมายของแบบเปรียบผู้วิจัยใช้ทฤษฎีแยกหน่วยประกอบทางความหมาย (componential analysis) เพื่อหาอรรถลักษณ์ของแบบเปรียบ ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของความหมายแฝง ผลของการวิจัยแบบเปรียบแสดงว่าผู้เปรียบที่เป็นผู้ชายใช้แบบเปรียบที่มีโครงสร้างเป็นคำนามคำเดียวมากกว่าเป็นกลุ่มคำ ในขณะที่ผู้เปรียบที่เป็นผู้หญิงใช้แบบเปรียบที่มีโครงสร้างเป็นกลุ่มคำมากกว่าเป็นคำนามคำเดียว สำหรับความหมายของแบบเปรียบนั้นสามารถจัดได้เป็น 12 กลุ่ม ตามอรรถลักษณ์สำคัญที่ปรากฏ 12 อรรถลักษณ์ อรรถลักษณ์เหล่านี้เป็นที่มาของความหมายแฝง ความหมายแฝงของ"ผู้หญิง" ที่ได้จากอรรถลักษณ์แบ่งเป็นความหมายที่ได้จากอรรถลักษณ์โดยตรง 10 ความหมายจาก 10 อรรถลักษณ์ และที่ได้จากการตีความอรรถลักษณ์ 3 ความหมายจาก 2 อรรถลักษณ์ นอกจากนี้ ผลจากการวิจัยยังแสดงด้วยว่าความหมายแฝงมีความสัมพันธ์กับเพศของผู้เปรียบด้วย ผู้เปรียบที่เป็นผู้หญิงจะใช้ความหมายแฝงที่แสดงว่าตนเองเป็นสิ่งหรือคนที่ไม่มีความสำคัญมีสภาพที่ต่ำต้อยเป็นฝ่ายที่ต้องกรับการกระทำคือ เป็นที่ระบายความต้องการทางเพศของชาย และเมื่อมีครอบครัวต้องอยู่ใต้อำนาจของผู้เป็นสามี สำหรับผู้เปรียบที่เป็นชายจะใช้ความหมายแฝงทั้งที่แสดงการยกย่องและไม่ยกย่องคือ เห็นผู้หญิงทั้งเป็นสิ่งที่มีค่า และไม่มีค่ารวมทั้งดูหมิ่นเหยียดหยามว่าผู้หญิงเป็นเพศที่ไว้ใจไม่ได้และด้อยเกียรติในการใช้แบบเปรียบเพื่อสื่อความหมายแฝง 13 ความหมายนี้ ผู้เปรียบต่างเพศกันใช้แบบเปรียบที่ต่างกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในสังคมไทย ผู้หญิงและผู้ชายมีทัศนคติและความรู้สึกนึกคิดต่อผู้หญิงที่ต่างกัน
Other Abstract: The main purpose of this study is to find the connotative meanings of the word "phuuyin" from metaphor in Modern Thai songs. The data were collected from approximately 3,500 songs in song books published during 1968-1982, where 93 vehicles were found. The componential analysis theory was use to analyze the vehicles to find semantic features, from which the connotative meanings were derived. The study shows that male speakers used more of the monolexical vehicles than the phrasal ones while female speakers used more of the latter than the former. Using semantic features as the criteria, these vehicles could be grouped into 12 types according to 12 main features, from which the connotative meanings were derived. These connotative meanings, however, were further classified into 10 non-interpretative meanings from 10 features, and 3 interpretative ones from 2 features. The study also reveals that the connotative meanings used by female speakers were negative, while those used by male speakers were both negative and positive. In conveying there 13 connotative meanings, female and male speakers used different vehicles. These are the clues which showed that in Thai society women and men had different attitudes and ideas towards "phuuyin" (woman).
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48598
ISBN: 9745634751
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supa_an_front.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Supa_an_ch1.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Supa_an_ch2.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open
Supa_an_ch3.pdf7.21 MBAdobe PDFView/Open
Supa_an_ch4.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Supa_an_ch5.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Supa_an_back.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.