Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48781
Title: การเปรียบเทียบสมรรถนะของถังกรองไร้อากาศที่มีตัวกลางเป็นหิน เศษคอนกรีต และพลาสติก สำหรับบำบัดน้ำเสียที่มีความเข้มข้นต่ำ
Other Titles: Performance comparison of anaerobic filters having rock, concrete fragment and plastic as media for treatment of low concentration wastewater
Authors: วิชัย ชินบูรพา
Advisors: สุทธิรักษ์ สุจริตตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกรอง
เครื่องกรองและการกรอง
น้ำเสีย -- การบำบัด -- ระบบถังกรองไร้อากาศ
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยในครั้งนี้ศึกษาถึงประสิทธิภาพของถังกรองไร้อากาศที่มีตัวกลางเป็นหิน เศษคอนกรีตและพลาสติก เพื่อนำมาใช้งานกับน้ำเสียความเข้มข้นต่ำ โดยใช้ท่อพีวีซี ขนาด 5 นิ้ว สูง 1.20 เมตร บรรจุตัวกลางแบบเต็มถัง ซึ่งในที่นี้จะใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่มีค่าซีโอดีประมาณ 300 มก./ล. ทดลอง ณ ระยะเวลากักน้ำ 9 และ 12 ชม. คิดเป็นออร์แกนิคโหลดดิ้งเท่ากับ 0.80 และ 0.60 กก. ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน พบว่าประสิทธิภาพในการลดค่าซีโอดีสูงสุดจะเกิดที่ระยะเวลากักน้ำ 12 ชม. โดยตัวกลางหินเศษคอนกรีต และพลาสติก จะมีค่าใกล้เคียงกันเท่ากับร้อยละ 92.6, 92.2 และ 93.2 ตามลำดับ ซึ่งตัวกลางพลาสติกจะให้ค่าสูงกว่าเล็กน้อย สำหรับค่าใช้จ่ายต่อกรัมซีโอดีที่ถูกจำกัดจะมีค่าต่ำสุดที่ระยะเวลากักน้ำ 12 ชม. โดยตัวกลางเศษคอนกรีตจะมีค่าต่ำสุดเท่ากับ 11.14 บาท/กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด ตัวกลางพลาสติกจะมีค่าสูงสุดเท่ากับ 73.05 บาท/กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด สำหรับตัวกลางหินจะมีค่าเท่ากับ 18.21 บาท/กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด อัตราการเกิดก๊าซมีเทนต่อกรัมซีโอดีที่ถูกกำจัดของตัวกลางพลาสติกจะมีค่าสูงสุด โดยมีค่าเท่ากับ 0.344 ลิตร/กรัมซีโอดีที่ถูกกำจัด ณ ระยะเวลากักน้ำ 9 ชม. และมีเปอร์เซ็นต์ก๊าซมีเทนเท่ากับ 66.85
Other Abstract: This research was studied to efficiency of anaerobic filters having rock, concrete fragment and plastic as media for treatment of low concentration wastewater. The anaerobic filter with full media used P.V.C. in with diameter of 5 inches and height of 1.20 meters. This study treated synthetic wastewater with COD about 300 mg/l and varied the hydraulic retention time 9 and 12 hours at organic loadings about 0.80 and 0.60 kg COD/cum.-day. We found that the maximum efficiency of COD removed was at 12 hours hydraulic retention removed. It was 92.6, 92.2 and 93.2 %, respectively, and plastic media was over than one. The minimum cost per gram of COD removal was at 12 hours hydraulic retention time and concrete fragment was 11.14 baht/g. COD removal which had minimum, plastic was 73.05 baht/g.COD removal which had maximum, for rock was 18.21 baht/g.COD removal. The maximum methane yield was at plastic media about 0.344 1/g.COD removal which had 66.85% methane and occurred at 9 hours hydraulic retention time.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48781
ISBN: 9746339079
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vichai_chi_front.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_chi_ch1.pdf452.93 kBAdobe PDFView/Open
Vichai_chi_ch2.pdf7.19 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_chi_ch3.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_chi_ch4.pdf7.61 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_chi_ch5.pdf443.55 kBAdobe PDFView/Open
Vichai_chi_back.pdf6.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.