Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48810
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล-
dc.contributor.authorวัลภา ชวาลภาฤทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2016-06-10T08:11:25Z-
dc.date.available2016-06-10T08:11:25Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9745676896-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48810-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530en_US
dc.description.abstractผลกระทบทางเศรษฐกิจของเมืองที่มีต่อพื้นที่ชนบท สามารถพิจารณาจากความสัมพันธ์ของกิจกรรมทางอุตสาหกรรมที่มีต่อกันระหว่างเมืองกับชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้กับพื้นที่ชนบท การดำเนินกิจการอุตสาหกรรมในเมืองจะก่อให้เกิดผลกระทบหรือรายได้ในพื้นที่ชนบท โดยการจ้างแรงงานและการซื้อปัจจัยการผลิตประเภทอื่น เช่น วัตถุดิบจากชนบทการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่ที่มีต่อพื้นที่ชนบทจะเป็นประโยชน์ต่อชนบทหรือไม่ โดยพิจารณาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการดำเนินกิจการอุตสาหกรรมในเมืองเชียงใหม่ที่มีต่อพื้นที่ชนบทโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อสนองความต้องการของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้กับจังหวัด โดยจะพิจารณาผลกระทบในรูปของรายได้ (รายได้ทางตรง/รายได้ทางอ้อม/และรายได้ที่เกิดจากการใช้จ่ายรายได้ทางตรงและทางอ้อม) ที่เกิดขึ้นในชนบทซึ่งเป็นผลจากการใช้จ่ายของโรงงานอุตสาหกรรม ผู้อยู่อาศัยในเมือง และชาวบ้านโดยผ่านกระบวนการทำงานของตัวคูณทวีและทฤษฎีฐานเศรษฐกิจ โดยใช้ระยะเวลาการเดินทางจากเมือง (30 นาที/60 นาที/และ 90 นาที) เป็นเกณฑ์ในการแบ่งพื้นที่ชนบทออกเป็น 3 โซน ผลการวิจัยปรากฏว่า การดำเนินกิจการอุตสาหกรรมในเมืองเชียงใหม่สามารถก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นประโยชน์หรือผลการแพร่ขยายต่อพื้นที่ชนบท เนื่องจากการใช้จ่ายของโรงงานอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดรายได้ในพื้นที่ชนบทโซน 1 มากกว่ารายได้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ นอกจากนี้แล้ว ปริมาณผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการดำเนินกิจการอุตสาหกรรมยังไม่ขึ้นกับระยะทาง แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพและปริมาณของทรัพยากรและผลผลิตของพื้นที่ชนบทโดยรอบen_US
dc.description.abstractalternativeThe study of the economic impact of Urban Chiang Mai on its rural areas can be done by investigating the income generated by industrial enterprises in the city. The economic impact (direct, indirect and induced) generated rural areas through the spending of factories, urban and rural residents has been calculated by employing economic-base model and multiplier analysis. The time-distance criterion is used to classify rural areas into 3 zones : half an hour, one hour, and one hour and a half from the city. The findings in the research indicate that the industrial enterprises especially the industries correlated with tourism in Urban Chiang Mai tend to create more favorable than unfavorable impacts on its rural areas. It can be seen from the findings that if the factory spends one baht in zone l, about 0.74 baht will be created from this spending while only 0.27 baht will be created in the city. In addition, the favorable impact does not occur correspondingly to the distance from the city but depends on the quality and quantity of the resources and products in the rural areas.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุตสาหกรรม -- แง่สังคม -- ไทย -- เชียงใหม่en_US
dc.subjectการวางแผนภาคen_US
dc.subjectเศรษฐศาสตร์เมืองen_US
dc.subjectการแพร่กระจายนวัตกรรม -- ไทย -- เชียงใหม่en_US
dc.subjectindustrial enterprisesen_US
dc.subjecteconomic researchen_US
dc.titleการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการดำเนินกิจการอุตสาหกรรม ในเมืองเชียงใหม่ ที่มีต่อพื้นที่ชนบทen_US
dc.title.alternativeThe study of economic impact generated by industrial enterprises in urban Chaing Mai on its rural areasen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisor"ไม่มีข้อมูล"-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Walabha_ch_front.pdf1.56 MBAdobe PDFView/Open
Walabha_ch_ch1.pdf834.96 kBAdobe PDFView/Open
Walabha_ch_ch2.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open
Walabha_ch_ch3.pdf4.21 MBAdobe PDFView/Open
Walabha_ch_ch4.pdf6.34 MBAdobe PDFView/Open
Walabha_ch_ch5.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Walabha_ch_back.pdf10.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.