Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48999
Title: การเปรียบเทียบอานุภาพการจูงใจงานพยาบาลต่างแผนก ตามการรับรู้ของพยาบาลโรงพยาบาลของรัฐ ในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A comparison of motivating potental of nurses in various nusing departments as perceived by nurses in public hospitals Bangkok metropolis
Authors: สมศรี สะหรั่งบิน
Advisors: ชัยพร วิชชาวุธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การจูงใจในการทำงาน
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษา อานุภาพการจูงใจงานพยาบาลต่างแผนกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ ลักษณะสำคัญของงาน ภาวะวิกฤติทางจิต แรงจูงใจภายใน ความพึงพอใจในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงาน และความต้องการก้าวหน้า ผลการวิจัยพบว่า 1. พยาบาลโรงพยาบาลของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร มีการรับรู้อานุภาพการจูงใจของงานพยาบาลต่างแผนกแตกต่างกัน โดยพยาบาลแผนกฉุกเฉินมีการรับรู้อานุภาพจูงใจของงานพยาบาลสูงที่สุด รองลงมาคือ พยาบาลแผนกกุมาร พยาบาลแผนกสูติ – นรีเวช พยาบาลแผนกศัลยกรรม และพยาบาลแผนกอายุรกรรม ตามลำดับ ส่วนพยาบาลแผนกจิตเวช มีการรับรู้อานุภาพการจูงใจของงานพยาบาลต่ำที่สุด 2. พยาบาลโรงพยาบาลของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร มีการรับรู้ลักษณะสำคัญของงานพยาบาลต่างแผนก แตกต่างกัน 4 ลักษณะ คือ นานาทักษะ เอกลักษณ์ของงาน ความสำคัญของงาน และการทราบผลไม่แตกต่างกันลักษณะเดียวคือ ความเป็นอิสระ 3. ลักษณะสำคัญของงานพยาบาลมีความสัมพันธ์ทางบวก กับภาวะวิกฤติทางจิต มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .25 ถึง .39 แสดงว่าลักษณะสำคัญของงานพยาบาล ก่อให้เกิดภาวะวิกฤติทางจิตได้ 4. แรงจูงใจภายในมีความสัมพันธ์ทางบวก กับอานุภาพการจูงใจของงาน ลักษณะสำคัญของงานและภาวะวิกฤติทางจิต มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .11 ถึง .66 แสดงว่า อานุภาพการจูงใจ ของงาน ลักษณะสำคัญของงาน และภาวะวิกฤติทางจิต ก่อให้เกิดแรงจูงใจภายในได้ 5. พยาบาลกลุ่มผู้ที่มีความต้องการก้าวหน้าสูง แรงจูงใจภายในมีความสัมพันธ์ทางบวก กับอานุภาพการจูงใจของงานไม่แตกต่างจากพยาบาลกลุ่มผู้ที่มีความต้องการก้าวหน้าต่ำ แสดงว่าความต้องการก้าวหน้าไม่ได้เป็นความแตกต่างทางด้านบุคคล ที่จะนำมาใช้เป็นตัวแปรปรับแต่ง 6. พยาบาลกลุ่มผู้ที่มีความต้องการก้าวหน้าสูง อานุภาพการจูงใจของงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงาน ไม่แตกต่างจากพยาบาลกลุ่มผู้ที่มีความต้องการก้าวหน้าต่ำแสดงว่า ความต้องการก้าวหน้าไม่ได้เป็นความแตกต่างทางด้านบุคคล ที่จะนำมาใช้เป็นตัวแปรปรับแต่ง
Other Abstract: The purpose of this research was to study about the motivating potential of nurses in various nursing department and the factors involved. The factors involved was the core job, the critical psychology, the internal motivation, the satisfaction and the growth need strength. Results: 1. The subjects had perceived the motivating potential of nurses in various nursing departments differently. Emergency department had the highest perception in motivating potential, followed by Pediatrics, Obstetrics-Gynecology, Surgical and medical. The lowest was the Psychiatry department. 2. The subjects had perceived the core job in various nursing departments differently in four core job, that is, skill variety, task identity, task significance and job feed back. But except the autonomy. 3. The core job of was significantly positive related to the critical psychology (r= .25 - .39). This relation reviewed that the core job caused to the critical psychology. 4. The internal motivation were significantly positive related to the motivating potential, the core job and the critical psychology (r = .11 - .66). This relation reviewed that the motivating potential, the core job and the critical psychology caused to the internal motivation. 5. For the significantly positive relative of the internal motivation and the motivating potential, there were no difference between the nurses who had high growth need strength and the low ones. This relation reviewed that the growth need strength wasn’t the individual difference, which used to be the moduretors. 6. For the significantly positive relative of the motivating potential and the satisfaction, there were no difference between the nurses who had high growth need strength and the low ones. This relation reviewed that the growth need strength wasn’t the individual difference, which used to be the moduretors.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/48999
ISBN: 9745789526
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsri_sar_front.pdf6.02 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_sar_ch1.pdf12.15 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_sar_ch2.pdf5.17 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_sar_ch3.pdf8.3 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_sar_ch4.pdf6.59 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_sar_ch5.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open
Somsri_sar_back.pdf16.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.