Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49199
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสำเรียง เมฆเกรียงไกร-
dc.contributor.advisorทวีลาภ ฤทธาภิรมย์-
dc.contributor.authorคึกฤทธิ์ สิงหฬ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2016-07-12T09:13:51Z-
dc.date.available2016-07-12T09:13:51Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49199-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาวิเคราะห์ถึงพัฒนาการและโครงสร้างของการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในลักษณะของ universal banking ในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงของระยะเวลาก่อนวิกฤติเศรษฐกิจการเงินหรือ subprime financial crisis 2008 และความล้มเหลวของกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้บริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์อันมีส่วนสำคัญทำให้เกิดปัญหาวิกฤติดังกล่าวซึ่งมาจากรูปแบบของการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในลักษณะของ universal banking และพฤติกรรมของธนาคารพาณิชย์ในการนำเสนอบริการหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินในลักษณะของ predatory lending ที่เป็นการเอาเปรียบ สร้างความไม่เป็นธรรมและความเสียหายให้แก่ลูกค้าผู้บริโภคโดยเฉพาะลูกค้าผู้บริโภคที่มีความรู้ความเข้าใจทางการเงินค่อนข้างน้อยจนนำไปสู่ปัญหาวิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์และปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจการเงินหรือ subprime financial crisis 2008 ตามมา นอกจากนั้นยังพบปัญหาการกำกับดูแลขององค์กรกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับภาคการเงินที่กำกับดูแลกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้บริการทางการเงินกระจัดกระจายออกไป โดยที่ไม่มีองค์กรหลักที่มีบทบาทภารกิจในการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเฉพาะและในบางกรณีที่บทบาทภารกิจขององค์กรกำกับดูแลดังกล่าวเกิดความขัดแย้งระหว่างภารกิจในการสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของธนาคารพาณิชย์ (bank safety & soundness) และภารกิจในการคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้บริการทางการเงิน (financial consumer protection) รวมถึงปัญหาการผ่อนคลายการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของทางการขององค์กรกำกับดูแล (financial deregulation) จนก่อให้เกิดปัญหาการเลือกปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของทางการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้บริการทางการเงินที่แตกต่างกันของผู้ประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์และธุรกิจการเงินที่เป็นประโยชน์ (regulatory arbitrage) ซึ่งทำลายความสามารถในการแข่งขันที่เท่าเทียมกันของภาคอุตสาหกรรมธนาคารพาณิชย์และธุรกิจการเงินอื่น (level playing field) และกลไกการคุ้มครองลูกค้าผู้บริโภคที่ใช้บริการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ จากการศึกษาวิจัยยังพบอีกว่าในบริบทของประเทศไทยในปัจจุบันนี้มีรูปแบบและพัฒนาการของการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในลักษณะของ universal banking และกลไกการคุ้มครองลูกค้าผู้บริโภคที่ใช้บริการทางการเงินที่มีความสอดคล้องและเกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับบทเรียนที่เกิดขึ้นในช่วงของวิกฤติเศรษฐกิจการเงินหรือ subprime financial crisis 2008 ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหามิให้เกิดขึ้นในประเทศไทยจึงควรมีการสังเคราะห์เพื่อปรับปรุงกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้บริการทางการเงินตามบทเรียนและประสบการณ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาดังกล่าวข้างต้นทั้ง 3 ด้านพร้อมกันคือด้านของธนาคารพาณิชย์และผู้ประกอบธุรกิจ ด้านกฎหมายและองค์กรกำกับดูแลและด้านลูกค้าผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความรู้ความเข้าใจทางการเงินแก่ลูกค้าผู้บริโภค (financial literacy) ก็จะสามารถเป็นกลไก การคุ้มครองลูกค้าผู้บริโภคที่ใช้บริการทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ อันเป็นสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้า (consumer confidence) และความมั่นคงของระบบตลาดการเงิน (market confidence) ภายใต้สภาพการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในลักษณะของ universal banking และสภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นของธุรกิจการเงินของประเทศไทยen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis focuses on the study and analysis of the development and structure of commercial banking business in the form of universal banking in the United States during the period before the economic crisis or subprime financial crisis 2008, and the failure of the consumer protection mechanism that was supposed to protect the benefit of those who used the services of such commercial banks. Both the failure of consumer protection mechanism and the universal banking finally led to the tragic crisis (subprime financial crisis in 2008). The universal banking itself and the then unsound behavior of commercial banks were considered significant causes for financial services or products in the form of predatory lending transactions taking advantage from their own customers who lacked adequate financial knowledge. Another cause was the governance problem. There was a situation of quite a number of financial supervising organizations scattering during the period and thus created the unity of governance. In some cases, there existed within the organizations the role conflict between bank stability (soundness) and consumer protection, the problem of relaxation on practice from authorities’ criteria (financial deregulation) which led to regulation arbitrage and in turn destroyed the level playing field between the commercial banking industry and other financial business as well as the efficiency of customer protection. This research also found that in Thailand, the current format and development of commercial banking business in the form of universal banking and the mechanism of customer protection are forming a shape that is similar to that of the subprime financial crisis in 2008. As such, to avoid this phenomenon from happening again in Thailand, improvement of consumer protection in all above three aspects namely, commercial banks or operating companies, laws governing bodies and consumers is inevitable. Building better understanding and knowledge of financial services to consumers (financial literacy) will be the effective tool for protecting consumers that will create consumer as well as market confidence in the universal banking business and the high competitive financial business for Thailand.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1477-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectธนาคารและการธนาคาร -- สหรัฐอเมริกาen_US
dc.subjectธนาคารและการธนาคาร -- ไทยen_US
dc.subjectวิกฤตการณ์การเงิน -- สหรัฐอเมริกาen_US
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- สหรัฐอเมริกาen_US
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภค -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทยen_US
dc.subjectBanks and banking -- United Statesen_US
dc.subjectBanks and banking -- Thailanden_US
dc.subjectFinancial crises -- United Statesen_US
dc.subjectGlobal Financial Crisis, 2008-2009en_US
dc.subjectConsumer protection -- Law and legislation -- United Statesen_US
dc.subjectConsumer protection -- Law and legislation -- Thailanden_US
dc.titleพัฒนาการของการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในลักษณะของ Universal Banking และกลไกทางกฏหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค: บทเรียนจากความล้มเหลวของการคุ้มครองผู้บริโภคช่วงวิกฤติเศรษฐกิจการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 2008en_US
dc.title.alternativeDevelopment of universal banking and legal mechanisms in financial consumer protection: a lesson on financial consumer protection failure during us subprime financial crisis 2008en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSamrieng.M@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1477-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kukrit_si.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.