Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49225
Title: Application of life cycle management for sustainable consumption and production of polyethylene terephthalate (pet) water bottle in Thailand
Other Titles: การประยุกต์ใช้การจัดการวัฏจักรชีวิตส้าหรับการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนของขวดน้าดื่มเพ็ทในประเทศไทย
Authors: Taksina Chai-ittipornwong
Advisors: Pomthong Malakul Na Ayudhaya
Dawan Wiwattanadate
Other author: Chulalongkorn University. Graduate School
Advisor's Email: No information provided
dawan.w@eng.chula.ac.th
Subjects: Plastic bottles
Plastic bottles industry -- Environmental aspects
ขวดพลาสติก
อุตสาหกรรมขวดพลาสติก -- แง่สิ่งแวดล้อม
Issue Date: 2013
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Bottom-up participation in sustainability is challenging for improving socio-economic and environmental securities. This research was thus aimed to present evidence-based evaluation of implementing sustainable consumption and production (SCP) for polyethylene terephthalate (PET) water bottle in Thailand, with emphasis on performances of the producers and the consumers in production and consumption life cycle management (LCM). Resource efficiency and impact reduction were the key indicators for evaluating producers’ performances in sustainable production (SP) and consumers’ performances in sustainable consumption (SC). The SP involved bottling system whereas use of the bottle, coupled with disposing of post-used bottle was assigned for the SC. Plant observations and in-depth interviews with survey transcript were conducted for two groups of producer: top brand and house brand, whereas a set of questionnaire was prepared for consumer samples. The top brands’ and house brands’ performances in four categories: corporate social responsibility (CSR), eco-design, 3 R and LCM, were examined to justify the SP. The analytical statistics of one-way ANOVA was used to interpret the SC variables consisting of demographic data, drinking water consumption and consumer’s agreement to the SC practice. The SP and SC results were transformed to a five-point scale for rating the SCP success. Three most prominent findings are that both producers and consumers moderately account for the SP and the SC, are likely to favor the resource efficiency over the impact reduction, and that the production and consumption LCM are highly potential for the SCP success. The research also reveals that the top brands consider CSR more important for the SP. Producers are challenging for improving water efficiency due to the lost-filled water in the open loop with adapting to the closed loop. On SC side, the consumers agree to fulfill the consumption efficiency by drinking up a whole bottle of water and reduce the impact by accompanying post-used bottle for solely disposing of them in a trash bin. The achieving outcomes are listing as (1) Matrix model bottom-up participation in SCP implementation, (2) Evidence-based case of sustainability in both environment and socio-economic development and (3) Good practice for LCM development. Finally, a bottom-up participation in SCP implementation shall be largely developed to ensure sustainability success in Thai context.
Other Abstract: บทบาทการมีส่วนร่วมในระดับปฏิบัติของภาคธุรกิจและภาคประชาชน เป็นแนวทางสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ในการสร้างความยั่งยืนแก่สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการประเมินเชิงประจักษ์ของการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนของขวดน้ำดื่มเพ็ทในประเทศไทย โดยมุ่งเน้นศึกษาประสิทธิภาพของการจัดการของผู้ผลิต และผู้บริโภคตามหลักวัฏจักรชีวิต โดยมีตัวชี้วัดหลักที่ใช้ประเมินการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนคือ การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนของการผลิตนั้นเกี่ยวข้องกับการผลิตและการบรรจุขวดน้ำดื่ม ส่วนการบริโภคครอบคลุมถึงการใช้และการทิ้งขวดน้ำดื่ม การเก็บข้อมูลในด้านการผลิตทำโดยใช้วิธีลงพื้นที่สำรวจ-สังเกตการณ์กระบวนการผลิตในโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด และการสัมภาษณ์เชิงลึกพร้อมแบบสอบถาม โดยมีกลุ่มประชากรศึกษา 2 กลุ่มคือ ผู้ผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดเพ็ทที่ถือครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด (หรือเรียกว่า ท็อปแบรนด์) และผู้ผลิตรายย่อยทั่วไป (หรือเรียกว่า เฮ้าส์แบรนด์) โดยเน้นที่ประสิทธิภาพใน 4 ด้าน คือ ความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม การออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม การใช้แนวทาง 3R และการจัดการวัฏจักรชีวิตของขวดน้ำดื่มเพ็ท ในส่วนข้อมูลด้านการบริโภคได้ใช้ชุดคำถาม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ข้อมูลด้านประชากร วิธีปฏิบัติและความคิดเห็นต่อการบริโภคน้ำดื่ม และความเห็นพ้องต่อวิธีการบริโภคน้ำดื่มขวดเพ็ทอย่างยั่งยืน โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนจำแนกทางเดียวทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ข้อมูลที่ได้จากการผลิตและการบริโภคได้ถูกนำมาวิเคราะห์ และแปลงผลประเมินตามระดับการวัด 5 ระดับ เพื่อวัดระดับผลสัมฤทธิ์ในการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนของขวดน้ำดื่มเพ็ท ผลการศึกษาได้ข้อค้นพบที่สำคัญ 3 ประการ คือ บทบาทของผู้ผลิตและผู้บริโภคต่อการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนอยู่ในระดับเดียวกัน คือ ระดับปานกลาง โดยทั้งสองฝ่ายคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประการสุดท้ายคือ การจัดการวัฏจักรชีวิตในวงจรการผลิตและการบริโภคมีความสำคัญอย่างมากต่อผลสัมฤทธิ์ของการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นด้วยว่า ผู้ผลิตท็อปแบรนด์ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมเพื่อนำไปสู่การผลิตที่ยั่งยืนมากกว่าประเด็นอื่น นอกจากนี้ผู้ผลิตยังกำลังเผชิญกับความท้าทายในการลดการสูญเสียน้ำจากกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดแบบระบบเปิด โดยการเปลี่ยนเป็นระบบปิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรน้ำ ในส่วนของการบริโภคอย่างยั่งยืนนั้น ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับประเด็นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการดื่มน้ำให้หมดขวด และประเด็นการลดผลกระทบด้วยการทิ้งขวดใช้แล้วในที่ทิ้งขยะเท่านั้น จากการศึกษาสามารถสรุปผลลัพธ์ได้ดังนี้ คือ (1) โมเดลเชิงเมตริกซ์สำหรับการศึกษาการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน (2) กรณีศึกษาเชิงประจักษ์ของแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และ (3) แนวทางที่ดีในการประยุกต์ใช้การจัดการวัฏจักรชีวิต ในท้ายที่สุด งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ควรมีการพัฒนาและขยายการมีส่วนร่วมในระดับปฏิบัติเพื่อพัฒนาการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืนในวงกว้าง เพื่อช่วยให้การพัฒนาอย่างยั่งยืนในประเทศไทยประสบผลสำเร็จได้ในที่สุด
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2013
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Environmental Science (Inter-Department)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49225
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1499
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.1499
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
taksina_ch.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.