Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49590
Title: การใช้วิธีการสังเกตอย่างใคร่ครวญเพื่อเสริมสร้างความสามารถ ในการไตร่ตรองตนเองของนิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
Authors: ศศิลักษณ์ ขยันกิจ
Email: Sasilak.K@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: การศึกษาปฐมวัย
ครูปฐมวัย
การสังเกต (การศึกษา)
Issue Date: 2559
Publisher: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสามารถในการไตร่ตรองตนเองของนิสิตสาขาวิชา การศึกษาปฐมวัยที่เรียนรายวิชาการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยใช้วิธีการ สังเกตอย่างใคร่ครวญ ผู้เข้าร่วมการวิจัย ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จํานวน8 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ 13 สัปดาห์ จัดการเรียนการสอนสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยภาคปฏิบัติ 2 ชั่วโมง คือ กิจกรรมการสังเกตอย่างใคร่ครวญและการสนทนากลุ่ม และ ภาคทฤษฎี1 ชั่วโมง คือ กิจกรรมการเรียนรู้เนื้อหาและแนวคิดการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การฝึกสังเกต ประกอบด้วยการปฏิบัติ ในการสังเกตอย่างใคร่ครวญ2 ลักษณะ คือ การสังเกตตนเอง ได้แก่ การเต้นรํา การสงบนิ่ง การจัดดอกไม้ การระบายสีน้ํา การปั้นดิน การวาดมันดาลา และการสังเกตสิ่งภายนอก ได้แก่ การสังเกตก้อนหิน ต้นไม้ และเด็ก ขั้นที่ 2 สุนทรียสนทนา ขั้นที่ 3 การเรียนรู้มโนทัศน์การประเมิน และขั้นที่ 4 การทบทวนและสะท้อนการ เรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์ความ สามารถในการไตร่ตรองตนเองและแบบ สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ก่อนและหลังการทดลองร่วมกับการดึงข้อมูล จากบันทึกสะท้อนการเรียนรู้รายบุคคลของนิสิต ตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูลด้วยการตรวจสอบกับอาจารย์คู่สอนรายวิชาและการตรวจสอบ แบบสามเส้าด้านวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นิสิตทุกคนที่เข้าร่วมการวิจัยมีความสามารถในการไตร่ตรองตนเองเพิ่มขึ้น นอกจากนี้นิสิตสะท้อนความคิดว่ามีความเข้าใจในตนเองเพิ่มขึ้นและได้ฝึกฝนการมีสติจดจ่ออยู่กับ ปัจจุบัน ทําให้ได้พัฒนาทั้งด้านวิชาการและการตระหนักรู้ในตนเอง
Other Abstract: The purpose of this research was to study self-reflection ability of early childhood graduate students by using contemplative observation method. Participants were 8 graduate students who enrolled in the Assessment of Young Children’s Development and Learning Course. Research duration was 13 weeks, 3 hours per week. Each session consisted of 2 hours practice: contemplative observation practices and group dialogue and 1 hour lecture. There were 4 steps of learning processes including step 1 practicing observation which comprised of 2 types of contemplative observation practices: self-observation, i.e., dancing meditation, stillness meditation, flower arrangement, painting, clay modeling, and mandala drawing, and external observation, i.e., stone, plant, and a child, step 2 dialoguing, step 3 learning on assessment concepts, and step 4 reviewing and reflecting on the experiences. Research tools were self-reflection analysis form and semi-structure interview form. Pre and post study in-depth interviews were conducted accompanying with participants’ individual journal writing. Trusthworthiness was done by using triangulation of data gathering and peer review with co-lecturer. Content analysis was used to analyze the data. Research findings were as followed; Self-reflection abilities of all participants had been increased after this research. Moreover, they reflected that self understanding were increased including the ability of being presence and concentration. Contemplative observation raised both academic achievement and self awareness.
Discipline Code: 0804
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49590
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasilak_ Kh.PDF19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.