Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49611
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเกื้อ วงศ์บุญสิน
dc.contributor.authorดวงกมล คณโฑเงิน
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
dc.date.accessioned2016-10-10T09:31:17Z
dc.date.available2016-10-10T09:31:17Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49611
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดค่าดัชนีคุณภาพชีวิต ศึกษาถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อค่าดัชนีคุณภาพชีวิต วิเคราะห์หาแนวทางในการพัฒนาและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชากรในเขตควบคุมมลพิษของประเทศไทย โดยเน้นการวิจัยเชิงปริมาณเป็นหลัก ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบ พบตัวจากกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติเป็นหัวหน้าครัวเรือนและอาศัยอยู่ในพื้นที่ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ใน 3 พื้นที่ ซึ่งประกอบด้วย พื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร และพื้นที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี จำนวนทั้งหมด 580 คน โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างพื้นที่ คือ การทดสอบแบบไคสแควร์ ส่วนสถิติที่ใช้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความพึงพอใจโดยรวมต่อคุณภาพชีวิตในปัจจุบันและนำมาคำนวณเป็นค่าดัชนีคุณภาพชีวิต คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างในเขตควบคุมมลพิษ 3 พื้นที่ มีปัจจัยด้านวัตถุวิสัยที่แตกต่างกัน ซึ่งประกอบด้วย สภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคม สภาพแวดล้อม และสุขภาพอนามัย จึงทำให้มีความพึงพอใจต่อปัจจัยด้านจิตวิสัย 5 ด้านหลักแตกต่างกัน ซึ่งได้แก่ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสภาพแวดล้อม ด้านสุขภาพอนามัย และมีความพึงพอใจโดยรวมต่อคุณภาพชีวิตในปัจจุบันแตกต่างกัน ทั้งนี้จึงมีผลให้มีค่าดัชนีคุณภาพชีวิตของประชากรในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี มีค่าดัชนีคุณภาพชีวิตสูงกว่าพื้นที่อื่น ซึ่งมีค่าเท่ากับ 80.0 (จากคะแนนเต็ม 100.0) หมายความว่ามีคุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี รองลงมาคือ กลุ่มตัวอย่างในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร มีค่าดัชนีคุณภาพชีวิต เท่ากับ 76.7 และกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่มีค่าดัชนีคุณภาพชีวิต เท่ากับ 75.1 ตามลำดับ แต่ถือว่ายังคงมีคุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์ปานกลางเช่นกัน จากข้อค้นพบ พอสรุปได้ว่า ปัจจัยหลักที่ต้องพิจารณาให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชากรในเขตควบคุมมลพิษให้สูงขึ้น คือ ปัจจัยด้านสุขภาพอนามัย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรต้องปรับปรุงการให้บริการของสถานพยาบาลในพื้นที่ให้มีความรวดเร็วมากขึ้น จัดให้มีบริการดูแลและตรวจสุขภาพแก่คนในชุมชนอย่างทั่วถึง รณรงค์ต่อต้านไม่ให้ดื่มสุราและเสพยาเสพติด อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะแก่คนในชุมชน และสนับสนุนงบประมาณเพื่อก่อตั้งสถานีพยาบาลใกล้แหล่งชุมชนen_US
dc.description.abstractalternativeThis research is aimed at measuring Quality of Life index, studying important factors affecting the value of the Quality of Life index, analyzing and exploring ways to promote and develop the Quality of Life of population in pollution control areas in Thailand. This is principally based on quantitative research and information obtained from face-to-face interviews with 580 stakeholder samples of household heads living in these investigated areas for more than one year in three areas: Hat Yai District of Songkhla Province, Samut Sakhon Province and Ban Laem District of Phetchaburi Province. A chi – square test is relied upon to analyze differences among those areas. Meanwhile, a Multiple Regression Analysis is used to analyze the relationship between factors and overall satisfaction towards the present Quality of Life to develop the Quality of Life Index. The study finds that the sample groups in the three pollution-control areas belong to different objective factors in economic, social, and environmental and sanitation terms. This results in their satisfaction differences in 5 subjective factors - - habitat, economy, society, environment and sanitation - - as well as different rates of overall satisfaction towards the present Quality of Life. Such differences lead to variation in the Quality of Life Index of population between each area under investigation. Among them, the sample in Ban Laem District of Phetchaburi Province is of the highest Quality of Life Index, at 80.0 (from total 100.0 points), reflecting that their Quality of Life is relatively at a good level. This is followed by that in Samut Sakhon Province and Hat Yai District of Songkhla Province, of which the Quality of Life Index stands at 76.7 and 75.1, respectively, which can be considered of a moderate level of the Quality of Life. The findings suggest sanitation to be the main factors to prioritize to upgrade the quality of Life of population in pollution control areas. Faster services of community health care and medical examination for all are recommended, besides anti-alcohol and anti-drug campaigns, dietary training, and budgetary provision to establish health stations nearby.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.14-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectมลพิษ -- การควบคุมen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิต -- ไทยen_US
dc.subjectคุณภาพสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectอนามัยสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectPollution -- Controlen_US
dc.subjectQuality of life -- Thailanden_US
dc.subjectEnvironmental qualityen_US
dc.subjectEnvironmental healthen_US
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleคุณภาพชีวิตของประชากรในเขตควบคุมมลพิษของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeQuality of life of population in pollution control area in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineประชากรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKua.W@chula.ac.th
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.14-
Appears in Collections:Pop - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
duangkamol_ko.pdf5.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.