Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49803
Title: POPULATION ECOLOGY AND REPRODUCTIVE BIOLOGY OF JAGOR’S WATER SNAKE, Enhydris jagorii (Peters, 1863) AT BUNG KA LOH, UTTARADIT PROVINCE, THAILAND
Other Titles: นิเวศวิทยาประชากรและชีววิทยาการสืบพันธุ์ของงูสายรุ้งดำ Enhydris jagorii (Peters, 1863) ณ บึงกะโล่ จังหวัดอุตรดิตถ์ ประเทศไทย
Authors: Chattraphas Pongcharoen
Advisors: Kumthorn Thirakhupt
Harold K. Voris
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Advisor's Email: Kumthorn.T@Chula.ac.th,Kumthorn.T@chula.ac.th
hvoris@fieldmuseum.org
Subjects: Snakes -- Ecology -- Thailand -- Uttaradit
Snakes -- Reproduction
งู -- นิเวศวิทยา -- ไทย -- อุตรดิตถ์
งู -- การสืบพันธุ์
Issue Date: 2015
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Jagor’s water snake, Enhydris jagorii is an endemic species restricted to the Chao Phraya - Ta Chin basin in the central plain of Thailand. Holotype of this freshwater snake was collected from the vicinity of Bangkok and was firstly described by Peters in 1863. Since then, there is no other information regarding this species of snake until Karns, et al. (2010) reported the new area of distribution of this snake in Bung Ka Loh wetland, Uttaradit Province, Thailand. In modern time, the snake has faced a major threat due to habitat loss and human disturbance. A large area of the wetland has been rapidly developed into urban and agricultural areas. Moreover, the population of this snake has been seriously threatened by uncontrolled fishing around the wetland. In order to protect this endemic species, basic information on natural history is certainly needed. This study was conducted at Bung Ka Loh wetland located close to Nan River, Uttaradit Province during October, 2010 to August, 2012. In this study, 6 morphological characters were measured and 3 types of scale rows were counted and calculated from male and female specimens collected from this wetland. The data of sexual dimorphism recorded was the first report of this freshwater homalopsid species. The results indicated that females exhibited larger and heavier than males in term of overall body size and weight, but not tail length. Males showed the significantly longer tail than female at the same size of SVL. Furthermore, morphological measurements were first reported on neonates. Results from the study of both live and dead specimens indicated that this snake is piscivorous, feeding only on fish. The dominant prey belongs to fish in Family Cyprinidae (31.28%). Observed prey items were small in weight, usually less than 10% of snake body mass and multiple prey items were occasionally found inside their stomachs. Significant difference on diet between sexes of this snake was not found. Additional to this, predation on this snake was firstly recorded in this study. The smallest gravid female specimen that was collected from the site during the period of study was 34.0 cm in SVL. Average clutch size and mass were 11 ±9 embryos (1-28 embryos, n=18) and 56.43 ±50.56 grams (3.1-123.0 grams, n=14), respectively. Significant relationships were found between female morphological characteristics (SVL, TL and body mass) and their clutches, being larger females reproduced larger clutch size and clutch mass (p < 0.05). Females possibly has a seasonal reproduction according to the number of gravid females collected during the two periods of rainy season (March to October in 2011 and May to August in 2012). Seasonal reproduction of these female snakes which is related to the rainy season was supported by significant correlations between the number of collected gravid females and physical factors data collected from the wetland (p < 0.05). However, the conservation status, both international and national levels, of this freshwater snake are underestimated. Hence, the proper status and conservation implication of this freshwater snake are proposed in this study.
Other Abstract: งูสายรุ้งดำ Enhydris jagorii เป็นงูน้ำจืดที่จัดเป็นชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบได้เฉพาะพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนเท่านั้น งูชนิดนี้ถูกพบและตั้งชื่อเป็นครั้งแรกจากตัวอย่างที่จับได้จากพื้นที่ใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2406 และไม่มีรายงานการพบที่แน่นอนอีกจวบจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2553 Karns, et al. (2010) ได้ระบุพื้นที่การแพร่กระจายใหม่ซึ่งได้แก่ บึงกะโล่ บึงน้ำสารธารณะใกล้ตัวเมืองจังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันงูชนิดนี้กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาถิ่นที่อยู่อาศัยถูกทำลายและจำนวนประชากรที่กำลังถูกคุกคามอย่างหนักจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ในพื้นที่บึงกะโล่ เช่น การประมงที่ไม่มีการควบคุม การขยายตัวอย่างรวดเร็วของพื้นที่เกษตรกรรมและการพัฒนาพื้นที่ของหน่วยงานต่าง ๆ จากทั้งภาครัฐและเอกชน ดังนั้นเพื่อเป็นการเริ่มต้นการอนุรักษ์อย่างถูกต้อง การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของงูน้ำชนิดนี้จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและเร่งด่วน การศึกษางูน้ำชนิดนี้ ได้ทำการศึกษา ณ บึงกะโล่ ใช้ระยะเวลารวมทั้งสิ้น 23เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2555 ได้ผลการศึกษาดังนี้ ในเรื่องของลักษณะทางสัณฐาน จากลักษณะที่ทำการตรวจสอบทั้งหมด 11 ลักษณะ แบ่งออกเป็นข้อมูลที่ได้จากการวัดขนาด 6 ลักษณะและข้อมูลที่ได้จากการนับจำนวนเกล็ด 3 ลักษณะพบว่า งูน้ำชนิดนี้มีลักษณะทางสัณฐานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเพศผู้และเพศเมีย (p < 0.05) โดยที่งูเต็มวัยเพศเมียจะมีขนาดลำตัวใหญ่และน้ำหนักมากกว่างูเพศผู้อย่างชัดเจน ยกเว้นความยาวของหางโดยที่งูเพศผู้จะมีความยาวของหางมากกว่างูเพศเมียที่มีขนาดความยาวลำตัวเท่ากัน งูน้ำชนิดนี้กินเฉพาะปลาเป็นอาหาร การศึกษาจากทั้งตัวอย่างที่ตายและมีชีวิตพบว่า สัดส่วนของปลาที่พบมากที่สุดได้แก่ ปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Family Cyprinidae, 31.28%) และเหยื่อที่พบนั้นมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับสัดส่วนของงู (ประมาณ 10% ของน้ำหนักตัว) สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ไม่พบความแตกต่างกันในเรื่องของอาหารระหว่างงูเพศผู้และงูเพศเมีย จากการศึกษาเรื่องระบบสืบพันธุ์ของงูเพศเมียพบว่า ในการศึกษาครั้งนี้ขนาดความยาวลำตัวที่เล็กที่สุดของงูเพศเมียที่พบการตั้งท้องคือ 34.0 เซนติเมตร จำนวนเอ็มบริโอเฉลี่ยในการตั้งท้องแต่ละครอกคือ 11 ±9 ตัว (พบจำนวนเอ็มบริโอได้ตั้งแต่ 1-28 ตัว) และมีน้ำหนักเฉลี่ยแต่ละครอกเท่ากับ 56.43 ±50.56 กรัม (น้ำหนักพบได้ตั้งแต่ 3.1-123..0 กรัม) และพบว่าขนาดลำตัวและน้ำหนักของงูเพศเมียมีความสัมพันธ์กับจำนวนเอ็มบริโอและน้ำหนักของเอ็มบริโอในแต่ละครอกอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) และงูเพศเมียที่มีขนาดลำตัวและน้ำหนักใหญ่กว่าจะสามารถผลิตเอ็มบริโอได้จำนวนและน้ำหนักที่มากกว่างูเพศเมียที่มีขนาดเล็กกว่า วงรอบการสืบพันธุ์ในเพศเมียของงูน้ำชนิดนี้มีความเป็นไปได้ที่จะมีวงรอบการสืบพันธุ์แบบเป็นฤดูกาลและมีการออกลูกในฤดูฝน โดยพิจารณาจากจำนวนงูเพศเมียที่ตั้งท้องและออกลูกที่สำรวจพบเป็นจำนวนมากในช่วงฤดูฝนทั้ง 2 ช่วงระหว่างทำการศึกษา คือ เดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2554 และเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2555 และความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างจำนวนงูเพศเมียที่ตั้งท้องและออกลุกที่สำรวจพบได้กับข้อมูลปัจจัยสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ในแต่ละเดือน (p < 0.05) ในการศึกษาครั้งนี้ยังได้มีการบันทึกและรายงานเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับลักษณะทางสัณฐานของงูในวัยอ่อน และผู้ล่าตามธรรมชาติของงูน้ำชนิดพันธุ์นี้อีกด้วย อย่างไรก็ตามสถานภาพในการอนุรักษ์ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติของงูน้ำชนิดนี้นั้นยังคงมีการประเมินค่าที่คลาดเคลื่อนและต่ำกว่าความเป็นจริงอยู่มาก ดังนั้นการศึกษานี้จึงเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงสถานภาพในการอนุรักษ์ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ อีกทั้งยังให้ข้อมูลพื้นฐานที่มีความสำคัญยิ่งสำหรับใช้ในการจัดทำแนวทางในการอนุรักษ์งูสายรุ้งดำอีกด้วย
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2015
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Biological Sciences
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49803
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.478
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.478
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5273911323.pdf12.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.