Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49860
Title: การใช้สารสกัดจากเมล็ดหว้า Syzygium cumini (L.) Skeels ในการควบคุมจำนวนแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดในสะระแหน่ Metha cordifolia Opiz.
Other Titles: APPLICATION OF JAMBOLAN Syzygium cumini (L.) Skeels SEED EXTRACTS FOR CONTROLLING SOME PATHOGENIC BACTERIA IN MINT Metha cordifolia Opiz.
Authors: อรวรรณ ศิริเวทย์วุฒิ
Advisors: สุเมธ ตันตระเธียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Sumate.T@Chula.ac.th,sumate.t@chula.ac.th
Subjects: หว้า (พืช)
สะระแหน่ (พืช)
แบคทีเรียก่อโรค
Syzygium cumini
Mentha cordifolia Opiz
Pathogenic bacteria
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของวิธีการสกัดต่อความเข้มข้นของสารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์จากเมล็ดหว้า เพื่อนำมาใช้ร่วมกับกรดอินทรีย์ในการลดและควบคุมจำนวนแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดในสะระแหน่ และศึกษาอายุการเก็บของสารสกัด จากการใช้ตัวทำละลายเอทานอล 50% ในการสกัดโดยใช้คลื่นไมโครเวฟช่วยในการสกัด (MAE) การสกัดโดยใช้คลื่นอัตราโซนิคช่วยในการสกัด (UAE) การสกัดด้วยการเขย่าที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส (HT) และที่อุณหภูมิห้อง (RT) พบว่าสารสกัดหยาบจากการสกัดด้วยวิธี MAE ให้ปริมาณสารสกัดหยาบแห้ง รวมทั้งความเข้มข้นของสารประกอบฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์สูงสุด เมื่อนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบฤทธ์ต้านเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ (Salmonella Typhimurium และ Escherichia coli) และแกรมบวก (Staphylococcus aureus) พบว่าสารสกัดจากทุกวิธีการสกัดมีความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งแบคทีเรีย (MIC) เท่ากับ 3.13 mg/ml และมีความเข้มข้นต่ำสุดในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) เท่ากับ 6.25 mg/ml เมื่อทดสอบกับแบคทีเรียแกรมลบ สำหรับแบคทีเรียแกรมบวกพบว่าไวต่อสารสกัดจาก MAE และ UAE ดังนั้นจึงใช้คลื่นไม่โครเวฟในการสกัดเพื่อศึกษาขั้นต่อไป พบว่าความเข้มข้นของสารสกัดหยาบ 0.5 เท่าของ MBC ร่วมกับความเข้มข้นของกรดแอซีติก 0.5 เท่าของ MBC สามารถเพิ่มฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้ ดังนั้นจึงเลือกใช้สารสกัดร่วมกับกรดแอซีกมาใช้เป็นสารล้างเพื่อลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียในสะระแหน่ โดยพบว่าการแช่สารสกัดหยาบความเข้มข้น 0.5 เท่าของ MBC ร่วมกับกรดแอซีติกความเข้มข้น 0.5 เท่าของ MBC เป็นเวลา 10 นาที สามารถลดจำนวนแบคทีเรียได้ดีที่สุด แต่มีการช้ำเกิดขึ้น จึงลดความเข้มข้นของกรดแอซีติกเท่ากับ 0.25 เท่าของ MBC และเพิ่มความเข้มข้นของสารสกัดหยาบเท่ากับ 0.75 เท่าของ MBC ทำให้ไม่พบการช้ำ และมีจำนวนแบคทีเรียไม่ต่างจากการแช่ด้วยสารสกัดหยาบความเข้มข้น 0.5 เท่าของ MBC ร่วมกับกรดแอซีติกความเข้มข้น 0.5 เท่าของ MBC การใช้ความเข้มข้นนี้สามารถเก็บรักษาสะระแหน่ได้เป็นระยะเวลา 6 วัน ที่อุณหภูมิ 4±2 องศาเซลเซียส โดยปริมาณของ E. coli ยังไม่เกินเกณฑ์ของกรมวิชาการเกษตรสำหรับผักส่งออก สารสกัดหยาบที่ใช้สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (25-30 องศาเซลเซียส) ได้เป็นระยะเวลา 3 เดือน ก่อนฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดลดลง แต่สามารถเก็บได้นานขึ้นเมื่อเพิ่มกรดแอซีติกในสารสกัดหยาบ อย่างไรก็ตามการเก็บสารสกัดที่อุณหภูมิต่ำ (4±2 องศาเซลเซียส) สามารถเก็บได้นานที่สุด (7 เดือน)
Other Abstract: This research was aimed to study effect of extraction on phenolic and flavonoid concentration from Jambolan seeds in order to combine them with organic acids to reduce, control some pathogenic bacteria in fresh mint and study storage time of extracts. The 50% (v/v) ethanol was used as solvent for extraction with microwave-assisted extraction (MAE), ultrasonic-assisted extraction (UAE), shaking at 80°C (HT) and at room temperature (RT). The crude extract from MAE gave highest yield, total phenolic and total flavonoid concentration (TPC and TFC) among all extracts. The antimicrobial activity of crude extracts were tested both gram negative (Salmonella Typhimurium and Escherichia coli) and gram positive (Staphylococcus aureus). The result shows that all extracts gave MIC 3.13 mg/ml and MBC 6.25 mg/ml on gram negative bacteria. For gram positive bacteria sensitive with extracts from MAE and UAE, Therefore, extracts from microwave assisted were used for further study. It was found that 0.50 MBC of crude extracts combined with 0.50 MBC of acetic acid demonstrated additive effect on inhibition of bacteria. Consequently, acetic acid combine with crude extract were chosen as washing agent to control bacteria in fresh mint. Soaking fresh mint with 0.50 MBC of crude extracts mixed with 0.50 MBC of acetic acid for 10 minutes gave the highest bacterial reduction, but it found that leaves showed burning effect. Thus combination of acetic acid 0.25 MBC and crude extracts 0.75 MBC gave bacterial reduction with no difference from 0.50 MBC of crude extracts mixed with 0.50 MBC of acetic acid without burning effect. The treated fresh mint was able to be kept for 6 days at 4±2 °C and still had the number of E. coli under the Ministry of Agriculture regulation for export produce. The crude extract was kept at room temperature (25-30 °C) for 3 months before antimicrobial activity of crude decreased, but it had longer storage time when addition with acetic acid (5 months). However, crude extract were stored at lower temperature (4 ± 2 ° C) can be kept for 7 months.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีทางอาหาร
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49860
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.870
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.870
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5472253023.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.