Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49907
Title: การออกแบบวงจรควบคุมแบบอสมวารโดยใช้แบบจำลองเอสดีไอ
Other Titles: A design of asynchronous control circuits using SDI model
Authors: พิชยพัชยา ศรีคร้าม
Advisors: อาทิตย์ ทองทักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Arthit.T@Chula.ac.th,arthit.t@chula.ac.th
Subjects: วงจรอะซิงโครนัส
วงจรอะซิงโครนัส -- แบบจำลอง
การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์
Asynchronous circuits
Asynchronous circuits -- Models and modelmaking
Electronic circuit design
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกแบบวงจรควบคุมอสมวารโดยใช้แบบจำลองเอสดีไอ ที่สามารถลดข้อจำกัดของแบบจำลองคิวดีไอ ในแง่ของการออกแบบที่เข้มงวดเกินไป เนื่องจากวงจรที่ออกแบบจำเป็นต้องมีสัญญาณหรือวงจรเพื่อตรวจสอบการเสร็จสิ้นของการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณที่เกิดขึ้นทุกตัว ซึ่งทำให้วงจรที่ถูกสร้างขึ้นมาเกิดความซับซ้อนเกินความจำเป็น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอวิธีการลดรูปกราฟการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณภายใต้แบบจำลองเอสดีไอ เรียกว่า การลดรูปของแบบจำลองเอสดีไอ บนวัฎจักรเชิงเดียวโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงสัญญาณที่เกิดขึ้นพร้อมกันบนกราฟการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณที่พิจารณาแล้วว่าสามารถปรับเปลี่ยนเป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญาณตามลำดับ จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของการเกิดขึ้นพร้อมกันของสัญญาณซึ่งสามารถลดเส้นทางการเปลี่ยนแปลงสัญญาณ บางเส้นทางที่ไม่จำเป็นของกราฟการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณที่สามารถรักษาคุณสมบัติความปลอดภัย ,คุณสมบัติไลฟ์แนส , คุณสมบัติแสดงรหัสของสถานะในทางที่เป็นไปได้, คุณสมบัติความทนทาน และคุณสมบัติความสอดคล้องกัน จากผลการทดลองการออกแบบวงจรควบคุมอสมวารโดยใช้แบบจำลองเอสดีไอสามารถลดขนาดและความซับซ้อนของวงจร และผลจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกราฟการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณไม่มีผลกระทบต่อการทำงานภายนอกของวงจร
Other Abstract: A design of asynchronous control circuits using SDI model which is capable to relieve a restricted QDI model,due to a design of this model need the detected circuit or detected signal for all signal transitions , thus the implementation circuit is complex extremely. This thesis proposes the reductional STG (Signal transition Graphs) method based on SDI model, called SDI reduction of modifing the concurrent signal transitions, whether is examined can be modified to sequence signal transitions based on SDI model or not. According to the modified behavior of concurrent signal transition, it can be reduced any extrinsic transitions on STG specification , which satisfies safety, liveness, CSC (complete state coding), persistency, and consistency. As the result of our method, a design of asynchronous control circuits using SDI model can reduce the size and complexity of circuits from the original STG without affecting environments and properties.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49907
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1310
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1310
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570477021.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.