Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49967
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรเวศม์ สุวรรณระดา | en_US |
dc.contributor.author | ฐิติกาญจน์ อัศตรกุล | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ | en_US |
dc.coverage.spatial | Thailand | |
dc.date.accessioned | 2016-11-30T05:40:19Z | |
dc.date.available | 2016-11-30T05:40:19Z | |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/49967 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยกำหนดการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สูงอายุไทย และเพื่อประมาณการมูลค่าเชิงเศรษฐกิจของการทำกิจกรรมเหล่านี้ของผู้สูงอายุไทย จำแนกกิจกรรมที่ใช้ในการศึกษาเป็นการให้บริการและดูแลสมาชิกในครัวเรือน การให้บริการชุมชน และการทำงาน โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ คือ การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2554 เป็นข้อมูลหลักในการวิเคราะห์ ใช้ข้อมูลจากสำรวจการใช้เวลาของประชากรไทย พ.ศ. 2552 และสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไทย พ.ศ. 2552 ไตรมาส 3 ประกอบการประมาณการมูลค่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดคือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 16,373 ตัวอย่าง สำหรับการประมาณการมูลค่าของการให้บริการและดูแลสมาชิกในครัวเรือน 33,426 ตัวอย่าง การให้บริการชุมชน 24,433 ตัวอย่าง และ 34,173 ตัวอย่างสำหรับการทำงานเชิงเศรษฐกิจ ผลการศึกษาพบว่ามีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 6.2 ของผู้สูงอายุทั้งหมดที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมใดๆเลย โดยผู้สูงอายุที่ให้บริการและดูแลสมาชิกในครัวเรือนในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 11.3 ของผู้สูงอายุทั้งหมด ผู้สูงอายุที่มีความพร้อมและต้องการให้บริการชุมชนในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 10.9 ของผู้สูงอายุทั้งหมด และผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานอยู่คิดเป็นร้อยละ 39.0 การวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดแต่ละสมการใช้แบบจำลอง generalized ordered probit regression และ probit regression ในการวิเคราะห์ ในส่วนของการวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดร่วมกันของการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ผู้วิจัยใช้ conditional mixed process (cmp) ในการประมาณค่าของแบบจำลองร่วมกัน ผลการศึกษาพบว่าเมื่อควบคุมตัวแปรอื่นให้คงที่แล้วเงื่อนไขทางสุขภาพมีความสำคัญมากในการกำหนดการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สูงอายุในทุกกิจกรรม ตัวแปรเพศมีอิทธิพลต่อการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างชนิดกันของผู้สูงอายุ ในขณะที่ผู้สูงอายุที่มีอายุมากขึ้นจะทำกิจกรรมทุกกิจกรรมลดลงเช่นกัน นอกจากนี้ตัวแปรการแลกเปลี่ยนด้านการเงินกับบุตร (ในปัจจัยด้านความเป็นปึกแผ่นระหว่างประชากรต่างรุ่นในครอบครัว) มีอิทธิพลมากต่อระดับการให้บริการและดูแลสมาชิกในครัวเรือนของผู้สูงอายุ สำหรับตัวแปรระดับการศึกษานั้นมีอิทธิพลมากต่อระดับความพร้อมและต้องการให้บริการชุมชนของผู้สูงอายุ แรงจูงใจแบบเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน (warm glow) และจำนวนช่องทางในการรับข้อมูลข่าวสารของผู้สูงอายุก็มีอิทธิพลต่อระดับความพร้อมและต้องการให้บริการชุมชนของผู้สูงอายุเช่นกัน นอกเหนือจากตัวแปรสุขภาพ เพศ และอายุตามที่กล่าวไว้เบื้องต้นแล้ว ระดับการศึกษายังมีอิทธิพลมากต่อการทำงานเชิงเศรษฐกิจของผู้สูงอายุด้วย ในส่วนของการประมาณการมูลค่าของการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สูงอายุ ผู้วิจัยใช้วิธีจ้างคนทำงานแทน (Replacement Approach) มาปรับใช้ในงานวิจัย ผลการศึกษาพบว่ามูลค่ารวมของการการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สูงอายุคิดเป็นประมาณร้อยละ 2.14 - 2.97 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (gross domestic product: GDP) จำแนกเป็นมูลค่ารวมของกิจกรรมนอกตลาดประมาณร้อยละ 0.85 - 1.68 (การให้บริการและดูแลสมาชิกในครัวเรือนประมาณร้อยละ 0.849 - 1.679 และการให้บริการชุมชนร้อยละ 0.003 ) และมูลค่าของกิจกรรมในตลาด (ทำงาน) ร้อยละ 1.29 คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ คุณค่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม พฤฒพลัง วิธีจ้างคนทำงานแทน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study the determinants and estimate the economic values of Thai elderly’s socio-economic activities that is, domestic and caregiving services to household members, community services, and working. All data used in this study conducted by the National Statistical Office. The main data was obtained from the 2011 survey of the older persons in Thailand. The time use survey 2009 and the labor force survey 2009 (Quarter 3) were used to estimate the value of socio-economic activities. This study focuses on the population aged 60 years old and over, the sample sizes are 16,373 for determinants analysis, 33,426 for estimate values of domestic and caregiving services to household members, 24,433 for estimate values of community services and 34,173 for estimate values of working. The results showed that only 6.2 percent of the elderly did not participate in any socio-economic activity. 11.3 percent of the elderly participated in high levels of domestic and caregiving services to household members, 10.9 percent of the elderly were high levels available and want to do community services and 39.0 percent of the elderly were working. The analysis of the determinants in each equation was based on generalized ordered probit regression and the probit regression while the analysis and the estimate of the co- existing determinants of the socio-economic activities for the Thai elderly were based on the conditional mixed process (cmp). The findings revealed that with the control of the independent variables, the health condition variable played an important role in organizing all socio-economic activities for the elderly. The gender variable affected the performance of the elderly in each activity. The more the elderly aged, the less involved in the activities they became. Furthermore, the financial exchange with the dependents variable (the factor concerning the intergenerational solidarity within family) was most influential variable on the level of domestic and caregiving services provided for the elderly. The education variable, on the other hand, highly affected the level of the elderly’s available and want participate in community services. The other variables – warm glow motivation and the number of channels for receiving information – also affected the elderly’s available and want to participate in community services. In addition to health conditions, gender and age, education also played an important role in the market activities (working) of the elderly. Based on replacement approach methodology, the results showed that the economic values of Thai elderly’s socio-economic were about 2.14 - 2.97 percent of gross domestic product (GDP); non-market activities were about 0.85 - 1.68 percent of GDP (domestic and caregiving services to household members was about 0.849 - 1.679 percent and community services was 0.003 percent), market activity (working) was about 1.29 percent of GDP. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.439 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- ไทย | |
dc.subject | ผู้สูงอายุ -- ภาวะเศรษฐกิจ | |
dc.subject | Older people -- Thailand | |
dc.subject | Older people -- Economic conditions | |
dc.title | การวิเคราะห์ปัจจัยกำหนดและการประมาณการมูลค่าเชิงเศรษฐกิจของการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สูงอายุไทย | en_US |
dc.title.alternative | Determinants analysis and economic value estimation of socio-economic activities of elderly in Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | ประชากรศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Worawet.S@Chula.ac.th,worawet@gmail.com,Worawet.S@Chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.439 | - |
Appears in Collections: | Pop - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5586952551.pdf | 6.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.