Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50036
Title: การออกแบบระบบการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อในการผลิตเครื่องสำอาง
Other Titles: Design of a planning and control system for packing process in cosmetic manufacturing
Authors: ลักษมล ชัยวัฒนเมธิน
Advisors: ปวีณา เชาวลิตวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Paveena.C@Chula.ac.th,Paveena.C@Chula.ac.th
Subjects: เครื่องสำอาง -- การบรรจุหีบห่อ
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง
Cosmetics -- Packaging
Cosmetics industry
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการออกแบบระบบการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อในการผลิตเครื่องสำอาง ในการผลิตเครื่องสำอางสามารถแบ่งออกเป็นสองช่วง คือ ช่วงของการผลิตเนื้อเครื่องสำอางไปจนบรรจุบรรจุลงภาชนะบรรจุ ซึ่งเป็นช่วงที่มีระยะเวลานำ (Lead time) ที่นาน สามารถทำการผลิตเป็นชุดการผลิตหรือที่เรียกว่า Batch ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อการจัดเก็บ (Make to stock) เป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป และในช่วงการบรรจุหีบห่อซึ่งเป็นช่วงการแปลงสภาพสินค้ากึ่งสำเร็จรูปเป็นสินค้าสำเร็จรูปโดยขึ้นกับความต้องการของลูกค้าซึ่งมีระยะเวลานำสั้นและเป็นการผลิตตามสั่งหรือเป็นการประกอบตามสั่ง เนื่องจากบริษัทกรณีศึกษาเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าในตราสินค้าของตนเอง ซึ่งสินค้าเครื่องสำอางเป็นสินค้าแฟชั่นที่ผู้บริโภคต้องการความหลากหลายและต้องตอบสนองต่อความต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยส่วนสำคัญที่เป็นรูปลักษณ์ที่ลูกค้าจะสัมผัสได้เป็นอย่างแรกคือส่วนของบรรจุภัณฑ์ โดยที่บรรจุภัณฑ์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้านั้นไม่เพียงถูกกำหนดโดยผู้บริโภคเพียงอย่างเดียวแต่จะถูกกำหนดโดยช่องทางการจัดจำหน่ายด้วยเช่นกัน โดยช่องทางการจัดจำหน่ายแต่ละแห่งมีธรรมชาติของความต้องการที่ไม่เหมือนกัน โดยความแตกต่างทั้งในส่วนบรรจุภัณฑ์เดี่ยว บรรจุภัณฑ์แพ็คและลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่เป็นลังลูกฟูก ซึ่งเกิดจากช่องทางการขายที่ต่างกัน, มีการปรับเปลี่ยนเมื่อต้องการทำการโฆษณาหรือการทำส่งเสริมการขาย ทำให้ส่งผลต่อการทำงานในส่วนที่ตอบสนองต่อความต้องการคือในส่วนการบรรจุหีบห่อในการผลิตเครื่องสำอาง เพื่อทำการตอบตนองต่อความต้องการที่ต่างกัน ภายใต้กรอบเวลาที่จำกัด ดังนั้น บริษัทกรณีศึกษาจึงจำเป็นต้องมีระบบการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อที่มีประสิทธิภาพและสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายและข้อจำกัดด้านเวลาจากลูกค้าหรือช่องทางการจัดจำหน่ายได้ ขอบเขตของการวิจัยครอบคลุมทั้งในส่วนของการศึกษากระบวนการทำงานในปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบการทำงานของสายการบรรจุหีบห่อ และในส่วนของการออกแบบระบบสารสนเทศในการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อ โดยในส่วนระบบสารสนเทศจะครอบคลุมตั้งแต่ การรับความต้องการของลูกค้าแต่ละราย แปลงความต้องการเป็นรายละเอียดและขั้นตอนในการทำงานในส่วนกระบวนการบรรจุหีบห่อ ทำการวางแผน มอบหมายงานในแต่ละสายการบรรจุหีบห่อและแต่ละกลุ่มผู้ปฏิบัติการ ตลอดจนตรวจติดตามและควบคุมสายการทำงานจนกระทั่งดำเนินการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยแบ่งงานส่วนสารสนเทศออกเป็น 3 ส่วนหลัก 1) ส่วนการวางแผนการบรรจุหีบห่อ 2)ส่วนควบคุมกระบวนการบรรจุหีบห่อ 3)ส่วนการออกแบบเอกสาร วิธีการดำเนินการในกระบวนการบรรจุหีบห่อ และออกแบบหน้าจอการใช้งาน (User interface) จากการนำระบบไปทดลองในบริษัทกรณีศึกษาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2015 พบว่า สามารถนำไปใช้ในการวางแผนได้จริงโดยสามารถทำการวางแผนได้ก่อนล่วงหน้าหนึ่งวันเสมอ และไม่ต้องมีการเปิดการทำงานล่วงเวลา, การแก้ไขงาน (Repack) มีปริมาณลดลงกว่า 70 % เมื่อเทียบสัดส่วนจำวนสินค้าที่ทำการ Repack ต่อสัดส่วนผลผลิตต่อเดือน โดยทำการเทียบในเดือนที่มีจำนวนผลผลิตที่ใกล้เคียงกันในช่วงก่อนและหลังใช้ระบบ และฝ่ายขนส่งไม่มีข้อร้องเรียนหรือการรอคอยสินค้าสำเร็จรูปเพื่อนำสินค้าไปทำการจัดส่ง และจากการเทียบสัดส่วนจำนวนผลผลิตต่อเดือนกับชั่วโมงการทำงานพบว่า หลังใช้ระบบที่การใช้ทรัพยากรในส่วนของเวลา (ชั่วโมงการทำงาน)หรือจำนวนคนที่ใกล้เคียงกัน สามารถบรรจุหีบห่อได้จำนวนผลผลิตมากกว่าช่วงก่อนใช้ระบบ ซึ่งสรุปได้ว่างานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้งานได้จริง และสามารถช่วยเป็นระบบในการสนับสนุนการทำงานและตัดสินใจในการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อในการผลิตเครื่องสำอางได้
Other Abstract: This thesis presents a design of a planning and control system for a packing process in Cosmetic Manufacturing. Cosmetics production divides into 2 phases: phase 1) Mixing and filling Process that Cosmetics bulk production to packaging which has long lead time. Be able to produce in batch that make to stock in Work in Process, and phase 2) Packing process which is transform Work in process to Finish goods follow to Customer’s requirement which has short lead time and make to order or assembly to order. Because Case Study Company is original equipment manufacturer and Cosmetics is fashionable products which consumers require variety and quickly respond which the important preference that is first impression is packaging, Customer’s requirement not only define by consumer but also distributing Channel. Different distributing Channel has different requirement which differ in single package, packed packaged or carton package. These occur because different distributing Channel, change from advertising, marketing or promotion. They effect to operation that meet the Customer’s requirement that is Cosmetics packaging process to meet the different requirement under limited time to respond. So Case study manufacturer has to have effective packing plan and control system which can fulfill variety of requirement and limited timeline from Customer or distributing Channel. The Scope of this thesis encompasses to two part: 1) analyze and design packing line Part2) design of the information system for planning and control in packing process which include operation since received customer requirements, transfer to details and procedure of packing process, planning and assigning jobs to each work group as well as monitoring and controlling work process until manufacturing finished goods, which separate information system into 3 main section,1) planning in packing process 2)monitoring and controlling in packing process 3)Document and data support, procedure in packing process and design of user interface. From implement system in Case Study Company since March 2015 finds that, can be actual apply by plan a day before and no need to do overtime, repack jobs are decrease more than 70% compare to repacked products with monthly production volume by the proximate volume month before and after apply system and logistics has no complain or finish good waiting time to deliver and from comparison monthly production amount to work hour found that after apply system at similar time resource (work hour) and workers, packaging operation has increase output than before. This can be conclude that this thesis can be actually applied along with can become support system for decision of packaging process for Cosmetics.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50036
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1399
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1399
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670951221.pdf5.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.