Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50062
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวรรณา กิจภากรณ์ | en_US |
dc.contributor.advisor | ไพรัตน์ ศรีชนะ | en_US |
dc.contributor.advisor | ทนง อัศวกาญจน์ | en_US |
dc.contributor.author | ณัฏฐนันท์ จนิษฐ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-11-30T05:42:07Z | |
dc.date.available | 2016-11-30T05:42:07Z | |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50062 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมโคลีน กรดโฟลิค และวิตามินบี 12 ในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ ความเข้มข้นของฟอสฟาทิดิลโคลีน และฟอสฟาทิดิลเอทาโนลามีนในไข่แดง โดยแบ่งออกเป็น 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 ใช้ไก่ไข่พันธุ์ ISA brown อายุ 44 สัปดาห์ จำนวน 840 ตัว ทำการสุ่มไก่แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 6 ซ้ำๆ ละ 28 ตัว ไก่แต่ละกลุ่มจะได้รับอาหารทดลองหนึ่งชนิดจาก 5 ชนิดเป็นเวลา 6 สัปดาห์ อาหารทดลองประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 อาหารพื้นฐานที่มีโคลีนตามคำแนะนำของสายพันธุ์ และกลุ่มที่ 2-5 เป็นอาหารพื้นฐานเสริมด้วยโคลีนระดับ 1,000 1,500 2,000 และ 2,500 มก./กก.อาหาร ตามลำดับ การทดลองที่ 2 ใช้ไก่ไข่พันธุ์ ISA brown อายุ 72 สัปดาห์ จำนวน 288 ตัว แบ่งออกเป็น 9 กลุ่มๆ ละ 4 ซ้ำๆ ละ 8 ตัว ไก่แต่ละกลุ่มจะได้รับอาหารทดลองหนึ่งชนิดจาก 9 ชนิดเป็นเวลา 8 สัปดาห์ อาหารทดลองประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 อาหารพื้นฐานที่เสริมโคลีนในระดับที่ให้ความเข้มข้นของฟอสฟาทิดิลโคลีนในไข่แดงมีค่าสูงที่สุดจากการทดลองที่ 1 และกลุ่มที่ 2-9 อาหารพื้นฐานร่วมกับการเสริมกรดโฟลิค และวิตามินบี 12 ที่ระดับ 0×0.02 0×0.04 4×0 4×0.02 4×0.04 8×0 8×0.02 และ 8×0.04 มก./กก.อาหาร ตามลำดับ ทั้ง 2 การทดลองทำการเก็บข้อมูลสมรรถภาพการผลิตตลอดการทดลอง ขณะที่คุณภาพไข่ ความเข้มข้นของฟอสฟาทิดิลโคลีน และฟอสฟาทิดิลเอทาโนลามีนในไข่ ประเมิน และวิเคราะห์เมื่อสิ้นสุดการทดลอง การเสริมโคลีนทุกระดับในการทดลองที่ 1 และการเสริมโฟลิค หรือวิตามิน บี 12 รวมทั้งการเสริมวิตามินทั้ง 2 ตัวร่วมกันทุกระดับในการทดลองที่ 2 ไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพการผลิตในทุกด้าน ได้แก่น้ำหนักไก่ที่เปลี่ยนแปลง อัตราการตาย ผลผลิตไข่ น้ำหนักไข่ มวลไข่ ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการเปลี่ยนอาหาร และต้นทุนค่าอาหารต่อการผลิตไข่ 1 กิโลกรัม (P>0.05) และไม่ส่งผลต่อคุณภาพไข่ที่ตรวจวัด ได้แก่ค่าฮอกยูนิต สีไข่แดง น้ำหนักไข่แดง น้ำหนักไข่ขาว และน้ำหนักเปลือกไข่ (P>0.05) การเสริมโคลีนที่ระดับ 1,500 มก./กก.อาหาร ทำให้ความเข้มข้นของฟอสฟาทิดิลโคลีนในไข่แดงเพิ่มสูงที่สุด (P<0.0001) และทำให้ความเข้มข้นของฟอสฟาทิดิลเอทาโนลามีนลดลงต่ำสุด (P<0.0001) ในขณะที่การเสริมในระดับสูงขึ้น (2,000-2,500 มก./กก.อาหาร) ไม่สามารถเพิ่มและลดความเข้มข้นของฟอสฟาทิดิลโคลีนและฟอสฟาทิดิลเอทาโนลามีนในไข่แดงได้อีก (P>0.05) ส่วนการเสริมกรดโฟลิค หรือวิตามินบี 12 และการเสริมวิตามินทั้ง 2 ตัวร่วมกันไม่สามารถเพิ่มความเข้มข้นของฟอสฟาทิดิลโคลีน หรือลดความเข้มข้นของฟอสฟาทิดิลเอทาโนลามีนในไข่แดงในอาหารที่เสริมโคลีน 1,500 มก./กก. ได้ (P>0.05) ผลการทดลองสรุปได้ว่า การเสริมโคลีนในอาหารที่ระดับ 1,500 มก./กก. ทำให้ความเข้มข้นของฟอสฟาทิดิลโคลีนเพิ่มขึ้นสูงสุด และทำให้ฟอสฟาทิดิลเอทาโนลามีนลดต่ำที่สุด การเสริมกรดโฟลิค หรือวิตามินบี 12 และทั้ง 2 อย่างร่วมกันในอาหารที่เสริมโคลีนสูง 1,500 มก./กก.อาหาร ไม่สามารถเพิ่มปริมาณฟอสฟาทิดิลโคลีนได้อีก รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objective of this study was to investigate the effect of choline folic acid and vitamin B12 on productive performance, egg quality, phosphatidylcholine (PC) and phosphatidylethanolamine (PE) concentration in yolk. This study was divided into two experiments. Experiment 1: 840 ISA brown layers, age 44 weeks, were randomly allocated into 5 groups of 6 replicates with 28 layers each. Layers in each group were assigned to feed each treatment diet for 6 weeks. The 5 treatment diets were group 1 basal diet that contained choline at breed recommendation level and groups 2-5 basal diet supplemented with choline at level of 1,000, 1,500, 2,000 and 2,500 mg/kg diet, respectively. Experiment 2: 288 ISA brown layers, age 72 weeks, were randomly allocated into 9 groups of 4 replicates with 8 layers each. Layers in each group were assigned to feed each treatment diet for 8 weeks. The 9 treatment diets were group 1 basal diet supplemented with choline level that gave the highest PC concentration result in experimental 1 and groups 2-9 basal diet supplemented with folic acid and vitamin B12 at the level of 0×0.02, 0×0.04, 4×0, 4×0.02, 4×0.04, 8×0, 8×0.02 and 8×0.04 mg/kg diet, respectively. Productive performances data were collected throughout the experimental periods. While egg quality, and phosphatidylcholine (PC) and phosphatidylethanolamine (PE) concentration were evaluated and analyzed at the end of the experiment. Supplementation of choline in experimental 1 and folic acid or vitamin B12 or combination in experiment 2 did not effect on productive performance: body weight change, mortality, egg production, egg weight, egg mass, feed intake, feed conversion ratio, and feed cost/kg egg (P>0.05) and egg quality: Haugh units, yolk color, yolk weight, albumin weight and shell weight (P>0.05). Choline supplementation at the level of 1,500 mg/kg diet gave the highest yolk PC (P<0.0001) and lowest yolk PE concentration (P<0.0001) while the higher level (2,000-2,500 mg/kg diet) did not show any improvement. Folic acid and/or vitamin B12 supplemented in basal diet that contained choline 1,500 mg/kg did not give any benefit on yolk PC and PE concentration (P>0.05). In conclusion, the highest PC and lowest PE concentrations in yolk were detected when choline was supplemented at the level of 1,500 mg/kg diet over breed recommendation. While supplementation of folic acid or vitamin B12 or combination of both vitamins in diet contained choline 1,500 mg/kg diet could not show any benefit on PC and also on productive performance and egg quality. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.911 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ไก่ไข่ | |
dc.subject | ไข่ -- การผลิต | |
dc.subject | ไข่ -- คุณภาพ | |
dc.subject | เลซิติน | |
dc.subject | Chickens | |
dc.subject | Eggs -- Production | |
dc.subject | Eggs -- Quality | |
dc.subject | Lecithin | |
dc.title | การเสริมโคลีน กรดโฟลิค และวิตามินบี 12 ในไก่ไข่ ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่ และระดับฟอสฟาทิดิลโคลีนในไข่ | en_US |
dc.title.alternative | Supplementation of choline, folic acid and vitamin B12 in layer on productive performance, egg quality and phosphatidylcholine in egg | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | อาหารสัตว์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Suwanna.Kij@Chula.ac.th,ksuwann1@chula.ac.th | en_US |
dc.email.advisor | pairat_s@cpf.co.th | en_US |
dc.email.advisor | Tanong.A@Chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.911 | - |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5675303531.pdf | 2.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.