Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50088
Title: การก่อตัวของวาระนโยบายและการกำหนดนโยบายเกษตรพันธสัญญา
Other Titles: The agenda setting and public policy making in contract farming policy
Authors: พิชามญชุ์ รุ่งเรืองศรีเมธา
Advisors: อนุสรณ์ ลิ่มมณี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Anusorn.L@Chula.ac.th,Anusorn.L@Chula.ac.th
Subjects: เกษตรพันธสัญญา
นโยบายศาสตร์
Contract farming
Policy sciences
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยที่ศึกษาการก่อตัวของวาระนโยบายและการกำหนดนโยบายเกษตรพันธสัญญา โดยมีวัตถุประสงค์ในการอธิบายที่มาและขั้นตอนการก่อตัวของวาระนโยบายและการกำหนดนโยบาย รวมถึงบทบาทนำในการกำหนดนโยบายของภาครัฐและเอกชน ผลการวิจัยพบว่า แผนประสานความร่วมมือสี่ภาคเพื่อพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรม (นโยบายเกษตรพันธสัญญา) มีที่มาสำคัญ 4 ประการ คือ ประการที่ 1 ความสอดคล้องของแผนพัฒนาเกษตรใน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 การผลิตเพื่อขายและกระจายผลผลิตซึ่งถูกออกแบบและร่างแผนพัฒนาฯให้มีการพัฒนาที่ต่อเนื่องกัน ประการที่ 2 บทบาทของรัฐในการกำหนดนโยบายพัฒนาการเกษตรตามแนวทางส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรภายใต้แนวคิดการพัฒนาและใช้โครงสร้างอำนาจพื้นฐานของรัฐ ประการที่ 3 การจัดตั้งคณะกรรมการ กรอ. คณะกรรมการ กชช. และความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดของรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์กับ กลุ่มเทคโนแครต ประการที่ 4 กระบวนการริเริ่มผลักดันและก่อตัวของนโยบายเกิดขึ้นอยู่ในภาครัฐ ส่งผลให้รัฐมีบทบาทนำในขั้นตอนการกำหนดวาระนโยบาย ในขั้นตอนการกำหนดนโยบายปัจจัยที่ทำให้ภาคเอกชนมีอิทธิพลในการกำหนดนโยบายมี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ 1 ลักษณะของนโยบายที่ใช้ระบบเกษตรพันธสัญญาเป็นเงื่อนไขในการผลิต และปัจจัยที่ 2 สถานะความได้เปรียบของภาคเอกชนในเชิงชนชั้นที่รัฐบาลส่งเสริมสังคมทุนนิยมและการพัฒนาอุตสาหกรรมและในเชิงสถาบัน ภายใต้ระบบการวางแผน เทคโนโลยี และผู้เชี่ยวชาญในการผลิตของบรรษัท ฐานะอภิสิทธิชนของนักธุรกิจในการเข้าถึงรัฐบาลและผลการตัดสินใจที่กระทบต่อผลงานทางเศรษฐกิจของรัฐบาลและความสำเร็จของนโยบาย
Other Abstract: This research aims to study agenda setting and public policy making in Public-Private Coordination Program for Agricultural and Agro-Industrial Development or contract farming policy that approved by government on January, 30 1987.This policy had 4 important cause. Firstly, consistency between 5th developments plan that focus on increasing production efficiency and 6th development plan that emphasized about sale productivity and yield spread designed for continuous development. Secondly, the role of government in agricultural development policy formulation because government as the developmental state. They had state Infrastructural power to promoted Agro-Industrial. Thirdly, the establishment of public-private coordination committee and rural development Committee organized form collaboration between government and technocrats. Finally, agenda setting process was inside Initiation that occurred within state sector. Therefore agenda setting process is leaded by state role. In policy formulation process; the important factor of private sector influenced policy formulation had 2 factors. Firstly, this policy encouraged a lot of private sector participation, applied the integrated production and contract framing system. Secondly, private sector as bourgeoisie in capitalist society whenever prem’s government solved and developed capitalist society private sector always benefited. In addition, private sector as mature corporation or industrial system that had planned system, modern technology and production expertise to support four pronged policy while state actor had not. The private sector had privilege position to communicate and pressured government in special channel because of private sector decision affected government economic performances and success of this policy.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การเมืองและการจัดการปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50088
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.800
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.800
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5681000224.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.