Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50104
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชโยดม สรรพศรี | en_US |
dc.contributor.author | วรินทิพย์ วรศักดิ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-11-30T05:42:51Z | - |
dc.date.available | 2016-11-30T05:42:51Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50104 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | ความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาคเป็นหนึ่งในความกังวลพื้นฐานของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มักเผชิญปัญหานี้รุนแรงจากปัจจัยด้านโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ดังนั้นแนวโน้มการสะสมเงินสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่เหล่านี้อาจเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยจัดการความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาคของประเทศเหล่านี้ได้ งานศึกษานี้จึงมีเป้าหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเงินสำรองฯกับความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาค ซึ่งสะท้อนผ่านความผันผวนในอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงต่อประชากร การบริโภคต่อประชากร และการลงทุนต่อประชากร รวมทั้งศึกษาผลกระทบของการจัดตั้งโครงข่ายความปลอดภัยทางการเงินในระดับภูมิภาค เช่น ความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราพหุภาคี และกองทุนเงินสำรองฯระดับภูมิภาค ที่มีต่อเงินสำรองฯและความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาคของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยอาศัยข้อมูลระหว่างปี ค.ศ. 1970-2012 ของ 18 ประเทศ จาก 6 ภูมิภาคที่มีการจัดตั้งโครงข่ายความปลอดภัยทางการเงินในระดับภูมิภาค ด้วยแบบจำลอง Dynamic Panel และวิธี System GMM ผลการศึกษาพบว่าเงินสำรองฯและการจัดตั้งโครงข่ายความปลอดภัยทางการเงินในระดับภูมิภาค มีผลทำให้ความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาคลดลง โดยเงินสำรองฯยังมีผลทางอ้อมในการช่วยลดผลกระทบจากวิกฤตการเงินและความผันผวนของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ เงินทุนเคลื่อนย้าย อัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง อัตราเงินเฟ้อ อัตราการค้า และความต้องการซื้อภายนอกประเทศ ที่มีต่อการเกิดความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาคของประเทศได้ ในขณะที่การจัดตั้งโครงข่ายความปลอดภัยทางการเงินระดับภูมิภาคอาจมีผลลดทอนบทบาทของเงินสำรองฯในการลดความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาคลง เนื่องจากอาจส่งผลให้ประเทศสมาชิกลดการสะสมเงินสำรองฯเพื่อป้องกันประเทศ หรือใช้ในเหตุฉุกเฉิน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและความสามารถในการปกป้องเศรษฐกิจเบื้องต้นของประเทศสมาชิก นอกจากนี้ผลการศึกษาที่ได้ยังพบว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้ความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาคของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่เพิ่มสูง ได้แก่ วิกฤตการเงิน และความผันผวนของปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ เงินทุนเคลื่อนย้าย ความต้องการซื้อภายนอกประเทศ และอัตราแลกเปลี่ยนที่แท้จริง | en_US |
dc.description.abstractalternative | Macroeconomic volatility is a fundamental concern for developing countries that often face this serious problem due to economic, social, and political issues. The increase in the international reserve accumulation particularly in the emerging countries may be one of the important mechanisms to deal with macroeconomic volatility problem. The purposes of this study were to study the relationships between international reserve and macroeconomic volatility as well as the impacts of establishing regional financial safety nets (RFSNs) e.g. multilateral currency exchange arrangement and regional reserve fund on international reserve and macroeconomic volatility of the emerging markets. Using the data during 1970-2012 of 18 countries from 6 regions where RFSNs were established. The dynamic panel data model and system GMM estimator were applied. Empirical results suggest that international reserve and RFSNs played a significant role in dampening macroeconomic volatility. In addition, international reserve indirectly reduces the impact of financial crisis and volatility of various factors, such as capital flow, real exchange rate, inflation, terms-of-trade, and external demand on macroeconomic volatility. While the establishment of RFSNs may decrease the role of international reserve in dampening macroeconomic volatility because countries may lower their level of international reserve for self-insurance or precautionary saving that may damage economic confidence and basic crisis prevention ability. Moreover, the results show that banking crisis and volatility of capital flow, external demand, and real exchange rate are the important determining factors of increasing macroeconomic volatility in the emerging countries. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | เงินสำรองระหว่างประเทศกับความผันผวนในเศรษฐกิจระดับมหภาค และบทบาทของการจัดทำโครงข่ายความปลอดภัยทางการเงินในระดับภูมิภาค | en_US |
dc.title.alternative | International Reserves and Macroeconomic Volatility: The Role of Regional Financial Safety Nets | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Chayodom.S@Chula.ac.th,csabhasri@yahoo.com,chayodom.s@chula.ac.th | en_US |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5685166529.pdf | 4.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.