Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50169
Title: การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของเยาวชนชายที่กระทำผิดคดีความรุนแรง
Other Titles: DEVELOPMENT OF A TRANSFORMATIVE LEARNING PROCESS FOR ENHANCING AUTHENTIC SELF-ESTEEM OF MALE VIOLENT JUVENILE DELINQUENTS
Authors: เมธาสิทธิ์ มีสวยสินธุ์
Advisors: วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
พรรณี บุญประกอบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Wirathep.P@Chula.ac.th,Wirathep.P@chula.ac.th
pannee@g.swu.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่การเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของเยาวชนชายที่กระทำผิดคดีความรุนแรง เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง และเพื่อศึกษาผลของการทดลองใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขของการนำกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงไปใช้ โดยแบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ ระยะที่หนึ่งเป็นการศึกษาเชิงปริมาณเพื่อคัดกรองกลุ่มเยาวชนชายที่กระทำผิดคดีความรุนแรงที่มีคะแนนอยู่ในกลุ่มสูงจากแบบวัดการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง จำนวน 343 คน และศึกษาเชิงคุณภาพเพื่อคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลและสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 20 คน ระยะที่สองเป็นการนำผลการศึกษาระยะที่หนึ่งมาสร้างเป็นกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง และตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 18 คน ระยะที่สามเป็นการทดลองใช้กระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้นกับกลุ่มเยาวชนชายที่กระทำผิดคดีความรุนแรงจำนวน 10 คน และตรวจสอบหลักฐานเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขของการนำกระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงไปใช้ ผลการวิจัยสรุปว่า กระบวนการเปลี่ยนแปลงปริทรรศน์ที่นำไปสู่การเห็นคุณค่าแท้ในตนเองของเยาวชนชายที่กระทำผิดคดีความรุนแรง ประกอบด้วย 2 มิติคือ มิติด้านกระบวนการเรียนรู้ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงปริทรรศน์ และมิติด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ซึ่งเป็นระดับการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง ส่วนผลสุดท้ายของการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าแท้ในตนเอง แบ่งเป็น 4 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นแยกแยะ ประกอบด้วย ทบทวนตนเอง ดึงตนเองออกจากการยึดติด ค้นหาความคิดที่ทำให้ยึดติด ตั้งคำถามกับตนเอง และค้นหาตัวตนที่แท้จริง 2) ขั้นสร้างเจตนารมณ์ ประกอบด้วย วางแผนการกระทำ และเตรียมความพร้อมด้านอารมณ์ 3) ขั้นกล้าเผชิญ ประกอบด้วย ลงมือปฏิบัติ และสังเกตผลการปฏิบัติ และ4) ขั้นพัฒนาปริทรรศน์ เป็นการทำซ้ำกระบวนการ 3 ขั้นแรกเพื่อไปสู่เป้าหมาย 3 ระดับ ได้แก่ การเผชิญกับความเป็นจริง การใช้ชีวิตอย่างมีเป้าหมาย และการแสดงความรับผิดชอบและตรวจสอบความซื่อตรงต่อตนเอง สำหรับปัจจัยและเงื่อนไขของการนำไปใช้ แบ่งเป็น 3 ด้านคือ 1) ด้านแบบกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ การใช้วาทกรรม "โลกปรากฏ-โลกสมมติ-โลกเทียม-โลกแท้" การเล่าเรื่องสะท้อนความรู้สึก และการมีเจตนารมณ์ที่ชัดเจน 2) ด้านสภาพแวดล้อม ได้แก่ บรรยากาศของการเรียนรู้ร่วมกัน และการสนับสนุนซึ่งกันและกัน และ3) ด้านตัวบุคคล ได้แก่ ความพร้อมที่จะเปิดเผยตัวตน การแสดงความรู้สึก และความเป็นเนื้อแท้
Other Abstract: This research aims to investigate the learning process that leads to authentic self-esteem of male violent juvenile delinquents, to develop a transformative learning process for enhancing authentic self-esteem, and to experiment the use of transformative learning process, and to analyze the factors and conditions for implementation of transformative learning process. The study consisted of 3 phases: the first phase was a quantitative study to sort out the high score group of 343 male violent juvenile delinquents and followed by a qualitative study to select the informants, and in-depth interview with 20 informants. The second Phase was built upon the result of the first phase into transformative learning process for enhancing authentic self-esteem and improved by 18 experts. The third phase was to experiment the use of a developed transformative learning process with a group of 10 male violent juvenile delinquents and to examine the evidence for analyzing of factors and conditions for implementation of transformative learning process. The results of the study concluded that the perspective transformation process that leads to authentic self-esteem of male violent juvenile delinquents, consisted of 2 dimensions: leaning process dimension, which was a perspective transformation process, and learning outcomes dimension, which were levels of enhancing authentic self-esteem. The final result of development of a transformative learning process for enhancing authentic self-esteem, were four stages: 1) “Distinction” consisted of self-reviewing, to drag oneself out of adhesion, to find a thought of adhesion, self-questioning, and to find the real self; 2) “Intention” consisted of planning a course of action and emotional preparing; 3) “Assertiveness” consisted of taking action and observing reactions; and 4) “Development of perspectives” consisted of the first three stages contribute to 3 levels of goal including coping with reality, Living purposefully, and Self-responsibility and self-examination of personal integrity. Factors and conditions of implementation were divided into 3 areas: 1) learning process area included discourse of "Appearing world-Assumptive world-Pseudo world-Authentic world", feeling reflective storytelling and obvious intention; 2) environment area included collaborative learning climate and support of each other; and 3) individual area include readiness of self-openness, feeling expression and authenticity.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50169
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384282127.pdf8.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.