Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50244
Title: ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มพนักงานเจียระไนเพชร กรุงเทพมหานคร
Other Titles: PREVALENCE AND RELATED FACTORS OF MUSCULOSKELETAL DISCOMFORTAMONG DIAMOND CUTTERS IN BANGKOK
Authors: เอกจินดา ธนาเลิศวิสุทธิ์
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pornchai.Si@Chula.ac.th,psithisarankul@gmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง (Musculoskeletal discomfort, MSD) ในกลุ่มพนักงานเจียระไนเพชร กรุงเทพมหานคร วิธีการวิจัย เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานเจียระไนเพชร 491 คน ที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการเจียระไนเพชร 4 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และอีก 1 แห่ง นอกกรุงเทพมหานคร การรวบรวมข้อมูล ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามชนิดผู้ให้ข้อมูลกรอกเอง (Self-reported questionnaire) ประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านลักษณะงาน และแบบสอบถามเกี่ยวกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ซึ่งดัดแปลงจากแบบสอบถามนอร์ดิก (Nordic Musculoskeletal Questionnaire) และแบบสอบถามเพื่อประเมินความรุนแรงของอาการล้าหรือปวดเมื่อยในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผล ความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ในกลุ่มพนักงานเจียระไนเพชร ในรอบ 7 วัน (7-day prevalence) และในรอบ 12 เดือน (12-month prevalence) คือ ร้อยละ 91.8 และ 95.2 ตามลำดับ อวัยวะที่มีความชุกสูงสุด คือ ไหล่ รองลงมาได้แก่ คอ และหลังส่วนล่าง ปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องเชิงลบกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ในรอบ 7 วัน คือ ถนัดมือซ้าย และการไม่ออกกำลังกาย ในรอบ 12 เดือน คือ เพศชาย ส่วนปัจจัยด้านลักษณะงานที่เกี่ยวข้องเชิงลบกับอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่าง ในรอบ 7 วัน คือ อายุการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น (ปี) และสถานภาพพนักงานชั่วคราว โดยในรอบ 12 เดือน ไม่พบปัจจัยด้านลักษณะงานที่เกี่ยวข้อง สรุป อาชีพพนักงานเจียระไนเพชรมีความชุกของอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างสูง ควรให้ความสำคัญกับการทบทวนท่าทางการทำงาน การส่งเสริมและเฝ้าระวังทางสุขภาพ เพื่อลดอุบัติการณ์อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างในกลุ่มพนักงานเจียระไนเพชร
Other Abstract: Objective This study aimed to determine the prevalence and related factors ofmusculoskeletal discomfort among diamond cutters in Bangkok. Method The study design was a crossectional descriptive study. The subjects were four handreds and ninety one diamond cutters, employed and worked in 4 selected enterprises located in Bangkok and another one located outside Bangkok. Self-reported questionnaire that concerned about personal factors, occupational factors, and musculoskeletal symptoms (modified from Nordic Musculoskeletal Questionnaire and Body discomfort questionnaire developed by The Department of Labour Protection and Welfare) were used for data collection. Result Regarding overall MSD (discomfort in at least one part of the body) in diamond cutters, the 7-day prevalence and 12-month prevalence were 91.8 and 95.2 percent, respectively. The highest prevalence among the body parts was shoulder, neck, and lower back. Personal factors related negatively to 7-day MSD were left-hand dominant and no exercise activity. And personal factor related negatively to 12-month MSD was male only. Occupational factors related negatively to 7-day MSD were working experience and temporary employee status. And, there was no occupational factor related to 12-month MSD. Conclusion The MSD was high prevalent in all body part of diamond cutters. Health promotion and health surveillance should be provided to these workers.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวิจัยและการจัดการด้านสุขภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50244
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5574193530.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.