Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/504
Title: | พฤติกรรมการเสพติดอินเตอร์เนตของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย |
Other Titles: | Internet addictive behavior among Chulalongkorn University students |
Authors: | ชัชพงศ์ ตั้งมณี อรุณี กำลัง |
Email: | Chatpong.T@Chula.ac.th fcomakl@acc.chula.ac.th |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสถิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสถิติ |
Subjects: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย--นิสิต โรคติดอินเตอร์เน็ต อินเตอร์เน็ต |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การใช้อินเตอร์เนตส่งผลกระทบทั้งทางบวกและลบ ในขณะที่ผลกระทบทางบวก เช่น ค่าใช้จ่ายที่ลดลง การได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและทันต่อการตัดสินใจ หรือความถูกต้องรวดเร็วของการทำธุรกรรมออนไลน์ ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย แต่ทว่าผลกระทบทางลบ เช่น การละเมิดสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล หรือการใช้อินเตอร์เนตจนถึงขั้นเสพติด ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบทางลบในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ (1) รายงานภาวการณ์เสพติดอินเตอร์เนตของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในระดับปริญญาตรีของหลักสูตรปกติ ทั้งในภาพรวมและแยกตามสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์ และ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวการณ์เสพติดอินเตอร์เนตกับ (ก) สัมฤทธิผลทางการสื่อสาร และ (ข) ความวิตกจากการสื่อสาร ข้อมูลสำหรับตอบวัตถุประสงค์ได้จากการแจกแบบสอบถามให้กับนิสิตตัวอย่างจำนวน 280 คน ที่ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบ่งชั้นภูมิ (Stratified sampling) โดยที่ชั้นภูมิ คือ คณะหนึ่ง ๆ ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้างต้น ทำให้ทราบว่า (1) ประมาณร้อยละ 9 ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสพติดอินเตอร์เนต โดยส่วนใหญ่เป็นนิสิตชั้นปีที่หนึ่งหรือสองที่สามารถใช้อินเตอร์เนตจากที่พักได้เกรดเฉลี่ย 3.04 และเล่นอินเตอร์เนตโดยเฉลี่ยวันละประมาณ 2.8 ชั่วโมง กิจกรรมบนอินเตอร์เนตที่ทำบ่อยที่สุด คือ การใช้ไปรษณียอิเลกทรอนิกส์ และการท่องเว็บ แต่มากกว่าร้อยละ 80 ไม่เคยซื้อสินค้าบนอินเตอร์เนต (2) การทดสอบสมมติฐานทางสถิติไม่สามารถยืนยันได้ว่าสาขาใดมีสัดส่วนนิสิตที่เสพติดอินเตอร์เนตสูงกว่าอีกสองสาขา และ (3) ถึงแม้การสำรวจวรรณกรรมทำให้คาดคะเนว่านิสิตที่เสพติดอินเตอร์เนตน่าจะมีสัมฤทธิผลทางการสื่อสารต่ำกว่าและน่าจะมีความวิตกกังวลทางการสื่อสารสูงกว่านิสิตที่ไม่เสพติดอินเตอร์เนต แต่การทดสอบสมมติฐานทางสถิติกับข้อมูลที่รวบรวมมาไม่สมารถยืนยันตามที่คาดคะเนได้ แต่ถึงกระนั้นข้อมูลจากตัวอย่างพอจะชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะการเสพติดอินเตอร์เนตกับสัมฤทธิผลทางการสื่อสาร และความวิตกทางการสื่อสารของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประโยชน์สำคัญของข้อค้นพบในงานวิจัยนี้ คือ การต่อยอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับผลกระทบทางลบของการใช้อินเตอร์เนตในบริบท (Context) ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย อาจพิจารณาใช้ผลการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดนโยบายการใช้อินเตอร์เนตให้เหมาะสมยิ่งขึ้น |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/504 |
Type: | Technical Report |
Appears in Collections: | Acctn - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chachpong_Internet.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.